วันพุธที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ต้นไม้ดูดพิษ

สรุปรวบยอด

หมากเหลือง จั๋ง ปาล์มไผ่ ยาวอินเดีย ไอวี่ สิบสองปันนา ไทรใบเล็ก บอสตันเฟิร์น เดหลี วาสนาอธิษฐาน พลูด่าง เบญจมาศ เยอบีร่า ประกายเงิน เข็มริมแดง มรกตแดง ออมทอง สาวน้อยประแป้ง ปาล์มใบไผ่ ไทรย้อยใบแหลม หนวดปลาหมึก ฟิโลเดนดรอน ฟิโลใบหัวใจ ลิ้นมังกร สโนว์ดรอป ฟิโลหูช้าง สนฉัตร เสน่ห์จันทร์แดง แววมยุรา กล้วยแคระ เศรษฐีเรือนแก้ว กล้วยไม้พันธุ์หวาย เศรษฐีเรือนใน เขียวหมื่นปี ดอกหน้าวัวโกสน ต้นคริสต์มาส ว่านหางจระเข้ สับประรดสี กุหลาบหิน


คุณเชื่อไหมว่า..อากาศที่คุณหายใจเข้าไปมีสารพิษปะปนอยู่ ??? ค่ะ..จากการวิจัยพบว่าอากาศที่เราหายใจเข้าไปนั้นมีสารพิษเจือปนอยู่ไม่มากก็น้อยตามแต่ลักษณะพื้นที่นั้นๆ คำถามที่ตามมาคือ สารพิษเหล่านี้มาจากไหน??? จากวัสดุและอุปกรณ์ต่างๆ รอบๆ ตัวเราที่เราจับสัมผัสอยู่ตลอดเวลาค่ะ ตั้งแต่ กระดาษทิชชู กระดาษ A4 โต๊ะ เก้าอี้ ไปจนถึงอุปกรณ์ไฟฟ้าอิเลคโทรนิคต่างๆ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องถ่ายเอกสาร ล้วนแล้วแต่มีสารที่ระเหยออกมาเป็นสารพิษปะปนอยู่ในอากาศให้เราสูดดมนั่นแหละค่ะ เพียงแต่เราไม่สามารถจับต้องได้ และยิ่งยากถ้าจะมีการตรวจวัด

แต่จากการค้นคว้าวิจัยพบว่า สารพิษที่ปะปนอยู่ในอากาศมีมากมายหลายชนิด แต่ตัวที่พบบ่อยที่สุดและมีอันตรายมากที่สุดมี 3 ตัวด้วยกันคือ ฟอร์มัลดีไฮด์, ไตรคลอโรเอทธีลีน, เบนซีน ที่พบได้บ่อยรองลงไปคือ คาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) แต่มีอันตรายน้อยกว่า 3 ตัวข้างต้นค่ะ

ฟอร์มัลดีไฮด์ ที่พบใน โฟม พลาสติกชนิดยูเรีย เชื้อเพลงหุงต้ม กระดาษต่างๆ เช่น กระดาษทิชชู กระดาษไข กระดาษปิดผนัง เฟอร์นิเจอร์ Knock Down เกือบทุกชนิด ตลอดจนควันบุหรี่ค่ะ สารตัวนี้มีผลก่อให้เกิดอาการตั้งแต่ ระคายเคืองต่อผิวหนังและตา ปวดศีรษะ ไปจนถึงที่ร้ายที่สุดคือ โรคหอบหืด

ไตรคลอโรเอทธีลีน (TCE) พบในตัวทำละลายเป็นส่วนมาก เช่น การซักแห้ง ในหมึกพิมพ์ สีทา แลคเกอร์ น้ำมันซักแห้ง และกาวสังเคราะห์ต่างๆ สารตัวนี้ก่อให้เกิดการระคายเคือง ในปี 2518 สถาบันมะเร็งแห่งชาติของอเมริกา รายงานว่าหนูที่ได้รับ TCE เป็นจำนวนมาก มีอาการมะเร็งตับสูงมาก และต่อมาได้จัดอันดับว่า TCE เป็นสารที่ก่อให้เกิดมะเร็งตับ

เบนซีน พบในน้ำมันรถยนต์ หมึก สีทาพลาสติก และยาง เป็นสารที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองผิวหนัง และดวงตา หากมีการสูดดมในปริมาณมากในทันทีจะมีอาการ คลื่นไส้ ปวดศีรษะ อาเจียน ตัวสั่น และเกิดโรคทางเดินหายใจ นอกจากนี้ยังเป็นสารที่ก่อให้เกิดลูคีเมีย ต่อมายังพบอีกว่าสารตัวนี้ส่งผลให้เกิดความผิดปกติของโคโมโซมของมนุษย์อีกด้วยค่ะ


"ต้นวาสนา"

แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่ามีสารพิษวนเวียนอยู่ในอากาศที่เรากำลังหายใจ ในเมื่อกาศเป็นสิ่งที่เราจับต้องไม่ได้ และมองก็ไม่เห็น เบื้องต้นคุณสังเกตุจากกลิ่นต่างๆ ที่ผิดปกติ เช่น กลิ่นควันรถ ก็มีสารปนเปื้อนจำพวกคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) ที่มากับการเผาไหม้ หรือ ของใช้ใหม่ๆ เรามักได้กลิ่นและบอกว่ากลิ่นใหม่นั่นแหละค่ะคือ ตัวอันตราย เพราะยิ่งเราเปลี่ยนของใหม่บ่อยเท่าไรเราก็จะได้รับสารพิษบ่อยขึ้นเท่านั้นค่ะ


เมื่อการดำเนินชีวิตในปัจจุบันล้วนแล้วแต่ยังต้องใช้เครื่องมือเครื่องใช้เหล่านี้ต่อไป เราก็ควรที่จะระวังและหาวิธีป้องกัน จากการวิจัยของ NASA ร่วมกับ ALCA ( Associated Landscape Contractors of America ) ในโครงการ Interior Landscape Plants for Indoor Air Pollution Abatement เพื่อค้นหาสภาพแวดล้อมภายในอาคารที่เหมาะสมต่อการอยู่อาศัยอย่างปลอดภัยจากสารพิษตามวิธีทางธรรมชาติ พบว่า ไม้ประดับที่มีประสิทธิภาพในการขจัดสารพิษในอากาศได้ดี คือ ไม้เมืองร้อน


มีการแนะนำให้มีการปลูกต้นไม้ เพื่อช่วยดูดซับสารพิษ ต้นไม้ที่ได้รับความนิยมให้ปลูก คือ


1. ปาล์มไผ่ หรือ Bamboo Palm ชื่อทางพฤกษศาสตร์ คือ Chamaedorea seifritzil เป็นพืชตะกูล Arecoideae เป็นต้นไม้ที่มีขนาดเล็ก และเจริญเติบโตช้า ปาล์มไผ่ จึงเหมาะที่จะปลูกภายในอาคารกว่าพืชในตระกูลเดียวกันอย่างพวกหมากเขียว ( Mc Arthur Palm ) หมากเหลือง ( Yellow Palm ) แม้ว่าจะที่คายความชื้นให้แก่อากาศในห้องเป็นจำนวนมาก ในขณะที่มีประสิทธิภาพสูงในการดูดสารพิษจากอากาศในปริมาณมากด้วย แต่เนื่องจากเป็นพืชที่สามารถสูงได้ถึง 10 เมตร จึงทำให้ไม่เหมาะที่จะปลูกในอาคาร ปาล์มไผ่ มีประสิทธิภาพสูงในการดูดสารพิษจำพวก ฟอร์มัลดีไฮด์


2. เขียวหมื่นปี
หรือ Chinese Everygreen ชื่อทางพฤกษศาสตร์ คือ Aglanema sp. มักจะรู้จักกันในชื่อว่านมงคลที่มีสรรพคุณต่างๆ กันตามความเชื่อถือ เช่น ว่านเขียวพันปี, ว่านเขียวหมื่นปี และ บัลลังก์ทอง ล้วนเป็นสายพันธุ์เขียวหมื่นปี เป็นไม้ประดับที่มีใบสวยงาม สีเขียวตลอดทั้งปี ชอบดินร่วน ไม่ชอบน้ำขัง สามารถเจริญงอกงามได้แม้ในที่มีแสงสว่างเพียงเล็กน้อย จึงนิยมใช้ปลูกเลี้ยงประดับภายในอาคาร นอกจากนี้เขียวหมื่นปียังทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศที่แห้งแล้งหรือความชื้นต่ำได้ดี ด้วยใบที่กว้างจึงทำให้สามารถดูดสารพิษได้ดีค่ะ มีประสิทธิภาพสูงในการดูดสารพิษจำพวก ฟอร์มัลดีไฮด์

"เดหลี"

3. ตีนตุกแกฝรั่ง หรือ English Ivy ชื่อทางพฤกษศาสตร์ คือ Hedera Helix ตีนตุ๊กแกฝรั่ง หรือที่เราเรียกกันใหม่ซะหรูว่า ต้นไอวี่นั่นเอง เป็นไม้เลื้อย ที่เกาะตามต้นไม้ใหญ่ ทางตะวันตกไม่นิยมปลูกเนื่องจากมันคือ วัชพืชดีดีนี่เอง นอกจากนี้ใบและผลหากรับประทานเข้าไปยังมีพิษที่ก่อให้เกิดท้องเสีย ได้ “ตีนตุ๊กแก” เจริญเติบโตได้ดีในดินที่ร่วนซุยและดินปนทราย ชอบแสงแดดจัด แต่ก็สามารถปรับตัวให้อยู่ในที่มีแสงแดดรำไร ขยายพันธุ์ด้วยการชำกิ่งหรือทับกิ่ง นิยมปลูกติดกับกำแพงให้ทอดเลื้อยคลุมทั่วทั้ง กำแพง มีประสิทธิภาพสูงในการดูดสารพิษจำพวก สารเบนซิน แต่เนื่องจากเป็นไม้นอก ราคาจึงค่อนข้างสูง และหายาก ทำให้ไม่เป็นที่นิยมค่ะ

4. ต้นวาสนา หรือ Janet Craig หรืออีกชื่อหนึ่งคือ ต้นมังกรหยก Queen of Dracaenas ชื่อทางพฤกษศาสตร์ คือ Dracaena deremensis วงศ์ Agaveceae เป็นพืชอีกชนิดหนึ่งที่มีประสิทธิภาพในการดูดสารฟอร์มัลดีไฮด และไตรคลอโรเอทธีลีน (TCE) ต้นวาสนา ต้องการแสงแดดอ่อนรำไร จนถึงแสงแดดจัด หรือสามารถเติบโตได้ในกลางแจ้ง ต้องการปริมาณน้ำปานกลางจนถึงมาก ควรให้น้ำ 5-7 วัน/ครั้ง ชอบดินร่วนซุย ดินร่วนปนทราย มีความชื้นปานกลางจนถึงสูง พืชที่อยู่ในสกุลนี้พันธุ์อื่นๆ เช่น วาสนาราชินี ( Dracaena deremensis “Warneckee” ) วาสนาอธิฐาน ( Dracaena fragrans “Massangeana” )จันผา ขอบแดง ( Dracaena marginata )


5. เศรษฐีเรือนใน หรือ Spider Plant ชื่อทางพฤกษศาสตร์ คือ Cholorophytum comosum (Anthesicum Picturatum) วงศ์ LILIACEAE เศรษฐีเรือนใน เป็นไม้ประดับชนิดแรกๆ ที่ได้รับการเผยแพร่จากองค์การนาซ่าของสหรัฐอเมริกา ว่ามีคุณสมบัติในการดูดสารพิษภายในอาคารได้เป็นอย่างดี เศรษฐีเรือนในเป็นไม้กอขนาดเล็กที่นิยมปลูกเป็นไม้ประดับทั้งในและนอกอาคาร เศรษฐีเรือนในเป็นพืชที่ไม่ค่อยคายน้ำเท่าใดนัก แต่มีการดูดสารพิษจากอากาศภายในอาคารจำพวก ฟอร์มัลดีไฮด์ และ คาร์บอนมอนนอกไซดได้ดีมากชนิดหนึ่ง เป็นพืชที่สามารถอยู่ในพื้นที่ กึ่งแดด กึ่งร่ม มีความต้องการน้ำน้อย ชอบแสงแดดอ่อนๆ ไม่ชอบแสงแดดตรงๆ ไม่ต้องการน้ำมากสัปดาห์ละครั้งก็พอ หรือให้สังเกตจากหน้าดินว่าแห้งเกินไปหรือไม่ ให้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกละลายน้ำรด 2 เดือนต่อครั้ง ควรปลูกในดินร่วนซุย หรือดินปนทราย ที่ระบายน้ำได้ดี หากมีอิฐหักหรือหินเล็กๆ ปนลงไปด้วยจะช่วยให้แตกกอเร็วขึ้น ต้องการน้ำปานกลางสม่ำเสมอ ความชื้นสูง แดดรำไร จะปลูกลงกระถางแขวน หรือกระถางทรงเตี้ยปากกว้างก็สวยงามดี

"ลิ้นมังกร"

6. เดหลี หรือ Peace Lily ชื่อทางพฤกษศาสตร์ คือ Spathiphyllum wallisei วงศ์ Araceae เดหลี เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่นักเล่นไม้ดอกไม้ประดับ ลักษณะดอกคล้ายๆดอกหน้าวัวมาก ดอกมีสีขาวหรือขาวแกมเหลือง ใบมีสีเขียวเข้มเป็นเงาวาว เป็นไม้ที่คายความชื้นสูง ในขณะที่มีความสามารถสูงในการดูดสารพิษจำพวก แอมโมเนีย หรือ ไตรคลอโรเอทธีลีน (TCE) ได้ดี เช่น สารพิษนี้จะอยู่ในแอลกอฮอล์ เช่น กาว สารอาซีโตนที่มีอยู่ในเครื่องสำอาง น้ำยาล้างเล็บ น้ำยาลบคำผิด จากสารไตรคลอไรเอทีรีน ที่มีอยู่ในเครื่องพิมพ์ เครื่องถ่ายเอกสาร เตาแก๊ส น้ำยาเคลือบเงาไม้ และสามารถดูสารพิษจากเบนซินและฟอร์มาดีไฮด์ด้วยค่ะ เดหลีเป็นพืชที่ชอบแสงแดดรำไร ต้องการความชื้นสูง ต้องการน้ำปานกลาง ควรรดน้ำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อดินมีความชุ่มชื้น และควรรดมากขึ้นถ้าอากาศร้อนจัด ค่ะ
เดหลีเป็นพืชที่สามารถปรับตัวได้ดี แม้จะอยู่ในสภาพความชื้นต่ำและรับแสงจากหลอดไฟฟ้า เพียงแต่ดินต้องมีความชุ่มชื้นอยู่เสมอ เป็นไม้ประดับในจำนวนน้อยชนิดที่สามารถออกดอกได้ภายในอาคาร


7. ว่านหางจระเข้ Aloe Vera ชื่อทางพฤกษศาสตร์ คือ Aloe barbadensis วงศ์ Lilliaceae ด้วยใบที่อวบน้ำทำหน้าที่กักเก็บน้ำได้ดี ชอบดินร่วนและระบายน้ำได้ดีไม่ชอบให้รากชื้นแฉะ หางจระเข้เป็นพรรณไม้ที่ได้รับความนิยมและรู้จักอย่างกว้างขวาง เพราะเป็นพืชที่ให้ประโยชน์อย่างมากมาย ปลูกเพื่อประดับตกแต่ง และเพื่อสรรพคุณทางยาค่ะ มีประสิทธิภาพสูงในการดูดสารพิษจำพวก ฟอร์มัลดีไฮด์


8. ลิ้นมังกร
หรือ Mather - in - law's Tongue หรือที่รู้จักกันในนาม หอกพระอินทร นั่นเอง ชื่อทางพฤกษศาสตร์ คือ Sancivieria วงศ์ AGAVACEAE ลิ้นมังกรเป็นพรรณไม้ ที่มีลำต้นเป็นหัว หรือเหง้าอยู่ในดิน ลักษณะลำต้นเป็นข้อ ๆ ใบเกิดจากหัวที่โผล่ออมาพ้นดินเป็นกอ ลักษณะใบยาวปลายแหลม แข็งเป็นมัน ขอบใบเรียบ โค้งงอเล็กน้อย ขอบใบมีสีเหลืองกลางใบสีเขียวอ่อน ประด้วยเส้นสีเขียวเข้ม ขนาดของใบกว้างปรมาณ 4-7 เซนติเมตร ยาวประมาณ 30-50 เซนติเมตร ก้านดอกประกอบด้วยกลุ่มดอกป็นชั้น ๆ ลักษณะดอกมีขนาดเล็ก ออเรียงกันเป็นแนวตามชั้นของก้านดอกดอกมีสีขาวมีกลีบประมาณ 5 กลีบ ขนาดดอกบานเต็มที่ 2 เซนติเมตร ลักษณะขนาดใบ และสีสรร จะแตกต่างกันไปตามชนิดพันธุ์


คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นลิ้นมังกรไว้ประจำบ้าน จะช่วยป้องกันอันตรายจากภายนอกได้ เพราะจากชื่อ หอกพระอินทร์ ซึ่งเป็นอาวุธชนิดหนึ่งของพระอินทร์ ที่ใช้ในการต่อสู้และปกป้องศัตรูจากภายนอก ดังนั้นลิ้นมังกรจึงเป็นไม้ที่มีความศักดิ์สิทธิ์ เพราะเป็นไม้ที่มีความสำคัญของพระอินทร์ในสมัยพุทธกาล มีประสิทธิภาพสูงในการดูดสารพิษจำพวก เบนซิน


"เศรษฐีเรือนนอก ต่างจาก เรือนในตรงที่ขอบขาวอยู่ริมนอก"

9. เยอบีร่า หรือ Gerbera Daisy ชื่อทางพฤกษศาสตร์ คือ Gerbera Jamesonii วงศ์ Compositae เยอบีร่าไม้ประดับที่ให้ดอกสีสวยสดใส และคงทนอยู่นาน แม้จะตัดออกมาปักแจกัน แล้วก็ยังอยู่ได้นานหลายวัน จึงเป็นไม้ประดับที่นิยมนำมาประดับในอาคาร ไม่เพียงความสวย เยอบีร่ายังมีประสิทธิภาพสูงในการดูดสารพิษภายในอาคารได้อย่างดีเยี่ยม เยอบีร่าเป็นพรรณไม้พุ่ม มีลำต้นอยู่ใต้ดิน ใบเป็นแฉกมีสีเขียวสด ก้านใบและใบมีขนละเอียด ก้านดอกแตกออกจากลำต้นใต้ดินยาวตั้งตรง ดอกมีสีสันหลากหลาย เช่น แดง ส้ม เหลือง หรือแม้แต่ม่วง ชมพู ขาว เป็นต้น เป็นไม้ที่ชอบแสงแดด แสงแดดจัด กึ่งแดด ต้องการน้ำปานกลาง ไม่แฉะ มีประสิทธิภาพสูงในการดูดสารพิษจำพวก สารเบนซิน

10. สาวน้อยประแป้ง หรือ Dumb Cane ชื่อทางพฤกษศาสตร์ คือ Dieffenbachia วงศ์ Araceae สาวน้อยประแป้ง เป็นพันธุ์ไม้ที่นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับทั้งภายนอกและภายในอาคารมานานแล้ว เพราะเลี้ยงง่าย ทน และใบมีลวดลายสวยงาม แต่น้อยคนนักที่จะรู้ถึงคุณค่าของสาวน้อยประแป้งในฐานะเป็นไม้ที่ช่วยฟอกอากาศ และสามารถดูดสารพิษได้มากชนิดหนึ่ง สาวน้อยประแป้งมีใบใหญ่คล้ายใบพาย มีตั้งแต่สีเขียวอ่อน เขียวแก่ไปจนถึงสีเหลืองอ่อนๆ มีลายแต้มประปรายสีขาวหรือเหลืองอ่อน จึงได้ชื่อว่า สาวน้อยประแป้ง


เป็นไม้ที่ชอบน้ำปานกลาง ไม่แฉะ ชอบแสงแดด ร่มรำไร และไม่ควรให้ถูกแสงแดดโดยตรง เจริญเติบโตได้ดีในที่ร่ม ชอบอากาศอบอุ่นและความชื้นสูง แต่ก็สามารถปรับตัวเจริญเติบโตได้ดีในห้องที่มีความเย็นและสภาพอาการแห้งแล้ง และเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับต้นไม้ควรหมั่นเช็ดใบด้วยผ้าหรือฟองน้ำที่ชุบน้ำหมาดๆ ก็จะดีค่ะ ด้วยใบที่ขนาดใหญ่ จึงทำให้เป็นไม้ประดับที่ดูดสารพิษจำพวก ฟอร์มัลดีไฮด์ ได้เป็นอย่างดี

"เยอร์บีร่า"

11. บอสตันเฟิร์น หรือ Boston Fern ชื่อทางพฤกษศาสตร์ คือ Nephrolepis exaltata วงศ์ Polypodiaceae (fern) เฟิร์นเป็นไม้ที่เชื่อกันว่ามีมานานมาก จากหลักฐานที่พบในหินฟอสซิล อาคาร บอสตันเฟิร์นมีลักษณะก้านใบแข็งโค้งออกและทิ้งตัวลงเมื่ออายุมากขึ้น ใบขึ้นหนาทึบไม่มีดอก นิยมปลูกในกระถางแขวนหรือในกระถางใช้ประดับตามเสาหิน เมื่อนำมาปลูกเป็นไม้ประดับในอาคาร บอสตันเฟิร์นต้องการการดูแลพอสมควร เนื่องจากต้องการความชุ่มชื้นอย่างสม่ำเสมอ ถ้าขาดน้ำ สีของใบจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและร่วงอย่างรวดเร็ว จึงควรหมั่นรดน้ำให้ดินชุ่มชื้นหรือฉีดพ่นด้วยละอองน้ำ เป็นพืชที่ชอบแสงกึ่งแดดค่ะ เพียงแค่หมั่นรดน้ำให้ดินชุ่มชื้นอยู่เสมอ แต่อย่าให้แฉะ โดยเฉพาะเวลาที่อากาศร้อนและแห้ง ควรฉีดพ่นละอองน้ำค่ะ


บอสตันเฟิร์นเป็นไม้ประดับที่ช่วยทำความสะอาดให้แก่อากาศภายในได้ดีชนิดหนึ่ง สามารถดูดสารพิษได้มาก โดยเฉพาะจำพวกฟอร์มาดีไฮด์ ที่มาจาก กาว และฝ้าเพดานสำเร็จรูป


เพราะอากาศเป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้ ทำให้เราละเลยที่จะใส่ใจสิ่งเหล่านี้ ทำให้เรารับสารเคมีและฝุ่นละอองเข้าไปเต็มๆ วันนี้คุณลองหาต้นไม้ต้นเล็กๆ สักต้นมาวางในห้องนะคะ ดังคำที่บอกว่า ต้นไม้คือ ปอด ของมนุษย์..

-- เดียร์ --

5 อันดับยอดฮิตต้นไม้ช่วยดูดสารพิษ




หมากเหลือง เป็นต้นไม้ที่มีขนาดสูงประมาณ 1.8 เมตร เหมาะสำหรับปลูกบริเวณรอบ บ้าน อาจจะบริเวณริมรั้วเพื่อป้องกันฝุ่นละอองและมลพิษต่างๆ เพราะเป็นพืชที่ดูดสารพิษจากอากาศได้ในปริมาณมากที่สุด




วาสนาราชินี และวาสนาอธิษฐาน ลำต้นมีขนาดไม่ใหญ่ เหมาะสำหรับปลูกไว้ภายในอาคาร เช่น ฟอร์มาดีไฮด์ ได้อีกด้วย




สาวน้อยประแป้ง เป็นต้นไม้ที่เจริญเติบโตได้ดีในที่ร่ม ด้วยคุณสมบัติที่มีใบขนาดใหญ่ทำให้ดูดสารพิษได้ดี จึงเหมาะที่จะปลูกไว้ภายในบริเวณบ้าน หรือห้องรับแขก




กวักมรกต ลำต้นมีขนาดไม่ใหญ่จนเกินไปเหมาะที่จะปลูกไว้ภายในบ้านหรือออฟฟิศ เจริญเติบโตได้ดีในที่แสงน้อย ช่อยกรองอากาศและช่วยดูดสารพิษได้ดีอีกชนิดหนึ่ง




ลิ้นมังกร มักนิยมปลูกไว้ในบ้าน บริเวณห้องโถงหรือห้องรับแขก เพราะนอกจากจะช่วยดูดสารพิษได้ดีแล้ว ยังเป็นไม้มงคลที่เชื่อกันว่าจะช่วยป้องกันอันตรายจะภายนอกบ้าน และเสริมสิริมงคลให้แก่ผู้อื่นอาศัยอีกด้วย



นั่นก็เพราะต้นไม้โดยเฉพาะจำพวกที่อยู่ในตระกูลไม้ประดับเป็นพืชที่มีการปรับตัว และเติบโตได้ดีในที่ที่มีแสงน้อย และสามารถดูดสารพิษด้วยกรรมวิธีการคายน้ำ โดยจะทำการดูดก๊าซพิษที่อยู่รอบๆ ลงสู่ดินและจุลินทรีย์ที่อยู่รอบๆ รากจะเป็น ตัวเปลี่ยนให้สารพิษเหล่านั้นกลายไปเป็นอาหารของพืชนั่นเอง



เข็มริมแดง
ไม้ประดับที่มีรูปร่างแปลกตา มีใบแหลมเป็นพุ่มแตกออกจากตอ หรือลำต้นที่ตั้งตรง เป็นพืชที่ทนทานมาก ปลูก ได้แม้ในที่มีแสงน้อย เข็มริมแดงมีลักษณะใบยาวแหลมจึงได้ชื่อว่า เข็มแต่ ใบไม่ถึงกับแข็งทื่อ ถ้าไม่ตัดยอด ลำต้นจะสูงขึ้นไปเรื่อย แต่ถ้าตัดยอดกิ่งใหม่แยกออกจากตอเดิมใบที่แตกออก จะเป็นพุ่มดูสวยงามยิ่งขึ้น ที่สำคัญเข็มริมแดงเป็นไม้ประดับที่มีความสามารถสูงในการดูดพิษในอากาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสารพิษจำพวกไซรีนและไตรครอโรเอทไทรีน



หนวดปลาหมึก
หนวดปลาหมึกเป็นไม้ที่น่าสนใจนำมาปลูกเป็นไม้ประดับภายในอาคาร ปลูกง่าย โตไว ไม่ต้องดูแลเอาใจใส่มาก และที่สำคัญมีความสามารถสูงในการดูดสารพิษ



แววมยุรา
ปลูกง่าย อดทน เจริญเติบโตได้ง่ายในทุกสภาวะของห้อง มีใบด้านหน้าสีเขียวสลับลายเขียวแก่หรือน้ำตาล ส่วนหลังสีเขียวอมแดงหรือม่วง มีลายสลับเช่นเดียวกัน



เดหลี
เป็นไม้ประดับที่ให้ดอกสีขาว คายความชื้นสูง ในขณะที่มีความสามารถในการดูดสารพิษสูงด้วย เมื่อนำมาปลูกเป็นไม้ประดับภายในอาคาร เดหลีสามารถปรับตัวได้ดี เพียงแต่ดินต้องมีความชุ่มชื้นเสมอ เดหลีสามารถดูดพิษจำพวกแอลกอฮอลล์ ฮาซีโตน ไตรคลอไรเดทีรีน เบนซินและฟอร์มาดีไฮด์ และดูดได้ในปริมาณมาก



โกสน
มีมากมายหลายพันธุ์ทั้งขนาดตั้งแต่เล็กไปจนถึงใหญ่ ปกติโกสนเป็นไม้ประดับที่ปลูกไว้ภายนอกอาคาร เพราะเป็นไม้กลางแจ้งชอบแดด สีสันจะสวยงามอยู่ได้ขึ้นอยู่กับการที่ได้รับแสงแดดอย่างเพียงพอ โกสนมีความสามารถอยู่บ้างในการดูดมลพิษในอากาศ ถึงแม้จะไม่มากเท่ากับไม้ประดับชนิดอื่นๆ



เศรษฐีเรือนนอก
เป็นพืชตระกูล Lily ปลูกได้ทั้งภายในและภายนอกอาคาร ในอาคารควรปลูกเป็นไม้กระถางเป็นไม้กึ่งแดดกึ่งร่ม หากปลูกในอาคารรดน้ำสัปดาห์ละ 2 ครั้งก็เพียงพอ มีความสามารถในการดูดสารพิษจำพวกแอมโมเนียได้ดี



พลูด่าง
ไม้ประดับที่รู้จักกันดี แต่น้อยคนนักที่จะรู้ถึงความสามารถของมันในการดูดสารพิษในอากาศ พลูด่างเป็นพืชที่ปลูกง่าย ต้องการน้ำและแสงแดดพอควร มีความสามารถในการดูดสารพิษได้ปานกลางแต่คายความชื้นได้มาก



เศรษฐีเรือนใน
เป็นไม้ประดับชนิดแรกๆ ที่ได้รับการเผยแพร่จากองค์การนาซ่าของสหรัฐอเมริกาว่ามีคุณสมบัติการดูดสารพิษภาย ในอาคารได้เป็นอย่างดี เศรษฐีเรือนในเป็นไม้กอขนาดเล็ก ที่นิยมปลูกเป็นไม้ประดับทั้งในและนอกอาคาร โดยปลูกในกระถางแขวนหรือปลูกเป็นพืชคลุมดินเป็นพืชที่ไม่ค่อยคายน้ำเท่าไหร่ แต่มีการดูดสารพิษภายในอาคารได้ดีมากชนิดหนึ่ง


ไม่มีความคิดเห็น: