วันศุกร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

จามจุรี ศรีจุฬา พาฉันสู่นครพิงค์

ต้นไม้ประจำโรงเรียน จามจุรี

January 17, 2011 by Pratintip lee Comments (0)

ต้นจามจุรี

อันดับ Fabales

วงศ์ Mimosoideae

สกุล Samanea

สปีชีส์ S. saman

ชื่อทวินาม Samanea saman(Jacq.) Merr.

ลักษณะของต้นไม้

จามจุรี เป็นพันธุ์ไม้ที่รู้จักกันทั่วไป อาจพบเห็นได้ตามริมถนน วัด หรือสถานที่ราชการต่างๆ เข้าใจว่ามิสเตอร์ เอช เสลด (Mr. H. Slade.)อธิบดีกรมป่าไม้คนแรกได้นำพันธุ์จากประเทศพม่ามาปลูกเป็นครั้งแรกที่ทำการป่าไม้เขตเชียงใหม่ ประมาณปี พ.ศ. 2443 ต่อมาจึงได้นำไปปลูกตามถนนกรุงเทพฯ และจังหวัดอื่นๆ อย่างแพร่หลายเนื่องจากเป็นไม้โตเร็วเรือนยอดแผ่กว้างให้ร่มเงาเป็นอย่างดี ทางภาคเหนือนิยมปลูกเลี้ยงครั่ง อาจกล่าวได้ว่าวัตถุประสงค์ของการนำเข้าไม้จามจุรีเข้ามาในประเทศตั้งแต่เดิมนั้นมาในลักษณะไม้ประดับ และให้ร่มตลอดจนปลูกเพื่อใช้เลี้ยงครั่งเท่านั้น ผู้ปลูกมิได้มุ่งหวังที่จะใช้เนื้อไม้ชนิดนี้ไปเป็นประโยชน์ในด้านการค้าเลยทั้งนี้เนื่องจากไม้จามจุรีเป็นไม้ไม่สู้แข็ง ผุง่าย จึงไม่มีผู้นิยมใช้ในการก่อสร้าง เพราะในขณะนั้นประเทศไทย ยังมีไม้ที่มีคุณภาพดีกว่าอยู่มากมายทั้งที่ความจริงตลาดต่างประเทศต้องการเนื้อไม้จามจุรีนานแล้ว เช่น ฮ่องกง ซึ่งสั่งซื้อโดยตรงจากประเทศฟิลิปปินส์ ครั้นเมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ต้นจามจุรีในฟิลิปปินส์จะมีเสก็ดระเบิดของกระสุนลูกปืนอยู่ตามลำต้นไม้เป็นจำนวนมาก ประเทศผู้รับซื้อจึงหันมาซื้อจากไทยซึ่งเป็นเวลาเดียวกับที่ราคาครั่งในเมืองไทยประสบภาวะปัญหาราคา ต่ำลง ดังนั้นเมื่อเนื้อไม้สามารถขายได้ราคาดีกว่าประกอบกับความต้องการที่จะเปลี่ยนชนิดพืชเศรษฐกิจไปเป็นพืชอื่น ชาวสวนครั่งทางภาคเหนือของไทยจึงตัดฟันไม้จามจุรีลงเพื่อขายเนื้อไม้ในราคาไม้ท่อน ซึ่งราคาดีกว่า จึงพบว่าพื้นที่สวนจามจุรีเพื่อการเลี้ยงครั้งทางภาคเหนือได้ลดลงมาก จนเหลือเพียงเล็กน้อยในปัจจุบันทั้งที่ความต้องการใช้เนื้อไม้จามจุรีเพื่อการแกะสลักในประเทศไทยได้เพิ่มสูงขึ้นเป็นลำดับ สาเหตุหนึ่งเนื่องจากการขาดแคลนไม้สักในการแกะสลัก และไม้สักมีราคาแพง ผู้ผลิตจึงหันมาใช้ไม้จามจุรีซึ่งสามารถหาได้ในชนบท และราคาถูกกว่าไม้สักมาก เนื้อไม้ยังมีสีสวยเหมาะในการทดแทนไม้สักในอุตสาหกรรมไม้แกะสลัก

จามจุรีเป็นพืชตระกูลถั่ว (Family Leguminosae) อนุวงศ์สะตอ (Sub-Family Mimosaceae) มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Samanea saman Jacq Merr. ส่วนชื่อที่เป็นที่รู้จักในประเทศไทยได้แก่ จามจุรี ก้ามกลาม จามจุรีแดง ก้ามปู ก้ามกุ้ง (ไทย) ฉำฉา สารสา สำลา ตุ๊ดตู่ ลัง (พายัพ) ในภาษาอังกฤษชื่อที่เรียกกันแพร่หลาย คือ Rain tree ซึ่งน่าจะมาจากนิสัยของต้นไม้ชนิดนี้โตเร็วผิดกับต้นไม้อื่นๆ คือ เมื่อฤดูฝนผ่านไปครั้งหนึ่งต้นไม้ชนิดนี้โตเร็วผิดกับต้นไม้อื่นๆ คือ เมื่อฤดูฝนผ่านไปครั้งหนึ่งต้นไม้นี้จะโตขึ้นอย่างสังเกตเห็นได้ชัด จามจุรีเป็นไม้ผลัดใบโตเร็วต่างประเทศ เรือนยอดแผ่กว้างคล้ายรูปร่มเรือนยอดสูงประมาณ 40 ฟุต สูง20 – 30 เมตร เปลือกสีดำ แตกและร่อนลักษณะเนื้อไม้มีลวดลายสวยงาม แก่นสีดำ แตกและร่อนลักษณะเนื้อไม้มีลวดลายสวยงาม แก่นสีดำคล้ำคล้ายมะม่วงป่าหรือวอลนัท เมื่อนำมาตกแต่งจะขึ้นเงาเป็นมันแวววาวนับเป็นพรรณไม้ที่มีลักษณะสวยงามตามธรรมชาติ กำลังของไม้มีความแข็งแรงเท่าเทียมไม้สมพง แต่มีลักษณะพิเศษคือมีกำลังดัดงอ(bending strenght) สูงมาก และความชื้นในเนื้อไม้สูงทั้งต้นของจามจุรีมีสารพวกแอลคาลอยด์ (alkaloid) ชื่อพิธทิโคโลไบ (piththecolobine) ที่มีพิษใช้เป็นยาสลบ

ใบ

เป็นใบผสมแบบขนนกสองชั้นทั้งใบยาวประมาณ 25 – 40เซนติเมตร ใบประกอบด้วยช่อใบ 4 คู่ ใบย่อย 2 – 10 คู่ ต่อหนึ่งใบ ใบย่อยเกิดบนก้านใบซึ่งแยกจากก้านใหญ่ ใบย่อยรูปขนานเปียกปูนแต่เบี้ยว ใบย่อยด้านปลายใบใหญ่ที่สุดใบย่อยหนาปานกลาง ด้านหน้าใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ด้านหลังใบสีเขียวนวล และมีขนเล็กน้อย

ดอก

เป็นช่อดอกทรงกลม แต่ละช่อรวมกันเป็นช่อใหญ่ ช่อดอกเกิดที่ปลายกิ่ง กลีบดอกเล็กมาก แต่ละช่อดอกมีดอกตัวเมียดอกเดียว และล้อมรอบด้วยดอกตัวผู้เป็นจำนวนมาก ดอกบานมีสีชมพูซึ่งเป็นสีของเกสรตัวผู้ จามจุรีออกดอกระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ พฤษภาคม

ผล

เป็นฝักแบนเมื่อแก่ก็จะไม่แตก ฝักแก่จะมีสีน้ำตาลดำขนาดกว้าง1.5 – 2 เซนติเมตร ยาว 12 – 20 เซนติเมตร ภายในฝักมีเนื้อนิ่มรสหวาน ฝักหนึ่งๆ มีเมล็ด 15 – 25 เมล็ด เมล็ดสีน้ำตาลดำยาว 0.5 – 0.8เซนติเมตร ฝักแก่ระหว่างเดือนตุลาคม มกราคม

การปลูก-ดูแลรักษา

วิธีปฏิบัติต่อเมล็ดและการเพาะเมล็ด แช่น้ำร้อนอุณหภูมิ 70 - 80C ทิ้งไว้ให้เย็นเป็นเวลา 16 ชั่วโมงnข้อสังเกตและผลการทดลอง

  • เมล็ดงอกใช้เวลาประมาณ 20 วัน
  • ภายในระยะเวลาประมาณ 4 เดือน ต้นกล้าจะมีความสูงประมาณ 30ซม. สามารถย้ายปลูกได้

ปัจจุบันจามจุรีสามารถขยายพันธุ์ได้ด้วยเมล็ด ซึ่งผลของจามจุรีนั้นจะแก่ในช่วงฤดูหนาว ระหว่างเดือนตุลาคม มกราคม ซึ่งมีการเก็บเมล็ดกันมากในช่วงนี้ในบริเวณที่พบจามจุรี โดยทั่วๆ ไป สำหรับแหล่งเมล็ดพันธุ์จามจุรีของกรมป่าไม้ คือ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เนื่องจากมีต้นจามจุรีอยู่มาก

ประโยชน์

ใบ - รสเย็นเมา ทำให้เย็น ดับพิษ แก้ปวดแสบปวดร้อน
เมล็ด - รสฝาด แก้โรคผิวหนัง กลากเกลื้อน แก้เยื่อตาอักเสบ
เปลือกต้น - รสฝาด สมานแผลในปากคอ แก้โรคเหงือกบวม แก้ปวดฟัน แก้ริดสีดวงทวาร

สถานที่พบในโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา

ข้างห้องน้ำระหว่างตึก 2 และ ตึก 3

ที่มาของข้อมูล

http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%88%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B5

ไม่มีความคิดเห็น: