วันเสาร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2551

จากวันนั้นถึงวันนี้

ที่จริงแล้ว ฉันควรจะเขียนและนำรูปขึ้นบล้อกตั้งแต่วันรุ่งขึ้นหลังงานรวมพลคนอ่านและไม่อ่านงานมูราคามิ แต่ด้วยความเหนื่อยและขี้เกียจและอะไรก็แล้วแต่ที่ฉันจะขุดขึ้นมาอ้าง เอาเป็นว่าวันนี้ฉันนึกครึ้มอกครึ้มใจนำรูปขึ้นบล้อก พร้อมกับนึกย้อนบรรยากาศในงานวันนั้น

ฉันยังคงทำตัวเป็นสาวไฮเปอร์เช่นเดิม นั่งโต๊ะนี้ชนหมดแก้ว แล้วก็เดินดุ่มๆ ไปอีกโต๊ะ อ้าว หมดแก้ว แล้วก็ทำอย่างเดิมไปเรื่อยๆ มีคนบอกว่าเหมือนเป็นคนละคนกับตอนเย็นเลย อ้าว ก็แน่ละสิ มันคนละบทบาทนิ จะให้เล่นเหมือนเดิมก็ใช่ที่

เพื่อนชาวอิหร่านคนดีที่ให้ความช่วยเหลือในการแปลหนังสือเล่มแรก เดินทางมาร่วมงานจากต่างจังหวัด จริงๆ แล้วฉันไม่คาดคิดหรอกว่าจะมีเพื่อนๆ มาร่วมแสดงความยินดีมากอย่างที่เป็น เพราะสถานที่จัดงานมันไกล แถมเพื่อนฉันอยู่คนละโลกกันกับฉันในตอนนี้เลยด้วยซ้ำ แต่พวกเขาก็ยังมาด้วยเหตุผลต่างๆ กัน เพื่อนสมัยเรียนมา เพราะกลัวความรู้สึกผิดถ้าไม่แวะมาหาฉัน พี่อีกคนมาเพราะฉันเชิญไว้นานแล้วพร้อมกระเช้าดอกไม้...อย่างที่ฉันไม่คาดคิด น้องอีกคนไปเฝ้าลูกถ่ายโฆษณามาจนเสร็จก็รีบซิ่งมาหาทันเวลาครื้นเครง

วันนี้ฉันได้รับหนังสือที่ฉันแปลเล่มแรกที่เพิ่งพิมพ์เสร็จๆ ร้อนๆ ยังไม่รู้สึกดีใจเท่าไหร่ ความรู้สึกอาจจะแตกต่างและได้รสที่น่าจดจำ เมื่อฉันมอบหนังสือให้แม่ในวันรุ่งพรุ่งนี้ พร้อมๆ กับเปิดหน้าขอบคุณ ที่ฉันเขียนถึงท่านว่า

.....คำขอบคุณ......พ่อแม่ของณัฐพัดชา สำหรับวิตามินเอ็มและโอกาสในการลองผิดลองถูก (อีกครั้ง)

ไม่มีอะไรสวยงามเท่าการพูดความจริง ยอมรับตัวเองในแบบที่เป็น...

วันศุกร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ร้านหนังสือที่ทำด้วยใจ

แม้ต้นสายปลายเหตุที่นำฉันให้มารู้จักร้านหนังสือร้านนี้จะไม่ได้เป็นแบบเดินอยู่ในมอลล์เล็กๆ แล้วก็มาเตะตากับร้านที่ถูกใจ กลับมาจากความอยากรู้อยากเห็นเมื่อได้พูดคุยกับเจ้าของร้านและผู้ดูแลร้าน ความเป็นตัวตนของคนสะท้อนมาจากสิ่งที่แสดงออก ความคิด ปฏิกิริยาตอบกลับ การแก้ป้ญหา วิธีการพูดจา

แล้วฉันก็คิดว่า "ฉันเจอพวกเดียวกัน" (เขาจะนับฉันเป็นพวกเดียวกันมั้ยนั่น)




ร้านนี้มีสองชั้น ชั้นล่างด้านซ้ายก็เป็นอย่างรูปแรกที่เธอเห็นนั่นละ แล้วถ้าเดินเข้าไปข้างในตรงช่องที่ข้างบนเขียนชื่อร้าน Bookmark ก็จะเป็นโซนสำหรับเด็ก มีหนังสือสำหรับขาย และ หนังสือเชิญอ่าน เนื่องจากเจ้าของร้านเคยทำโรงเรียนอนุบาลจึงไม่ได้จัดร้านหนังสือแบบธุรกิจ จัดแบบให้ถูกใจคนรักหนังสือ คนที่มีความสุขที่จะใช้เวลากับหนังสือที่ชอบ ไม่ใช่ประเภทที่มาแอบอ่านหนังสือจนจบเล่ม ทำให้เจ้าของร้านหนังสือต้องคอยถือไม้ขนไก่ปัดฝุ่นไล่ให้ออกจากร้านเหมือนในหนังสือการ์ตูนญี่ปุ่น

ร้านนี้มีมุมที่ทำให้ฉันนึกถึงห้องสมุดสุดเลิฟในใจฉัน ห้องสมุดนีลเซนเฮล์(Neilson Hays Library) ฉันแอบบอกเจ้าของร้านว่า ฉันอยากจะมานั่งอ่านหนังสือให้เด็กๆ ฟังในโซนหนังสือสำหรับเด็กและขอนำหนังสือที่ฉันเคยซื้อไว้สมัยเป็นครูสอนภาษาอังกฤษและตั้งใจจะสะสมไว้สำหรับเปิดห้องสมุดในโรงเรียนอนุบาล (แต่ฝันดังกล่าวหาได้กลายเป็นจริงไม่) มามอบให้ร้านนี้ เพราะฉันอยากให้หนังสืออยู่ในที่ๆ จะได้ประโยชน์สูงสุด ไม่ใช่นั่งเหี่ยวแห้งเฉาตายอยู่ในตู้หนังสือของฉัน หรือถูกส่งไปยังดินแดนห่างไกลแต่ไม่มีผู้สามารถแนะแนวให้เห็นความงาม ความพิเศษที่ซ่อนอยู่ในตัวหนังสือ

และฉันก็พบที่ๆ เหมาะกับหนังสือของฉันแล้ว...



เมื่อออกจากโซนหนังสือเด็กซึ่งอยู่ด้านซ้ายสุดของร้าน

เดินผ่านเคาน์เตอร์จ่ายเงินก็จะเจอโต๊ะสำหรับนั่งอ่านหนังสือ และโซนหนังสือดีไซน์ ที่นี่ไม่ใช่ดูดีแต่การดีไซน์ร้านนะเธอ ชื่อหมวดหมู่หนังสือก็แตกต่างไม่เหมือนทั่วๆ ไป เช่น เรื่องคนเล่า ไม่กินก็เที่ยว อยากธรรม เป็นเรื่อง ย้อนอดีต ทันคน ทันคอมฯ ...
ขวาสุดเป็นบานกระจกทั้งบาน มีโต๊ะเล็กๆ พร้อมชุดหมากรุกแก้วเจียรนัยน่าหัดเล่นมาก...(เพราะฉันเล่นเป็นแต่หมากฮอต)
และเรื่อยขึ้นบันไดไม้โปร่งไปยังชั้นที่สองของร้าน ก็จะพบบริเวณที่กำลังจัดนิทรรศการหนังสือที่เลือกอ่านของคุณอภิรักษ์ โกษะโยธิน แผนที่สถานศึกษาข้างรูปวาดคุณอภิรักษ์บนพื้นสีส้มบอกเล่าเส้นทางการศึกษาในแต่ละช่วงชีวิต มีหนังสือที่คุณอภิรักษ์เลือกอ่านพร้อมคำอธิบายสั้นๆ วางอยู่ที่ชั้น Display ข้างๆ ฉันคงต้องกลับไปที่ร้านหนังสือแห่งนี้อีกหลายครั้งหลายครา แล้วคงจะได้มองและเก็บรายละเอียดที่น่าสนใจของร้านที่หาได้ยากยิ่งร้านนี้อย่างแน่นอน



ฝั่งตรงข้ามบริเวณที่จัดนิทรรศการย่อยนี้ มีมุมนั่งอ่านหนังสือและต่อไปถึงโซนหนังสือเก่าที่เจ้าของร้านเล่าให้ฟังว่า กำลังจะเปิดให้บริการพิเศษกับลูกค้าของร้านนำหนังสือเก่ามาเป็นส่วนลดแลกหนังสือใหม่ โดยจะนำหนังสือเก่ามาขายชั้นบน ร้านนี้จึงกำลังจะกลายเป็นร้านหนังสือมือสองกับเขาด้วย

ร้านนี้จะเป็นมุมที่ฉันจะเลือกแวะมา เมื่อต้องการความสงบในบรรยากาศแบบมีสไตล์ มาหาหนังสือที่ถูกใจ นั่งอ่าน พักสายตามองวิวถนนทองหล่อที่พลุกพล่าน และถ้าเกิดอาการหิวแบบคุ้มที่จะกินอาหารบุฟเฟ่ต์ ฉันก็จะเดินข้ามซอยทองหล่อ 10 ไปกินบุฟเฟ่ต์อาหารญี่ปุ่นที่ร้านโออิชิ หรือถ้าต้องการเติมพลังไม่ให้ท้องว่างจนเกินไป ฉันก็จะเลือกนั่งในบรรยากาศสบายๆ ของร้านนางกวักทานลาซานญ่าของโปรดพร้อมกับดูตุ๊กตาเซรามิคสีขาวรูปผู้หญิงกำลังกวักมือเรียกคนเข้าร้านที่ติดอยู่กำแพงเป็นแผงสวยถูกใจเหลือเกิน ที่สไบของนางกวักแต่ละนางมีข้อความมงคลไม่ซ้ำกัน "ขอให้สุขภาพดี" "ขอให้ไพรีพินาศ" ฯลฯ (เธออย่าถือสาฉันเลยนะ ถ้าฉันพูดอะไรผิด เพราะเล่าจากภาพในความทรงจำ ข้อความที่เห็นอาจจะไม่ถูกเป๊ะ แต่ได้ความรู้สึกประมาณนั้นแหละ)

ไม่แค่นั้น ที่ชั้นสามเหนือร้านหนังสือขึ้นไปอีกนิด เป็นร้านนางกวัก open air โต๊ะอาหารตั้งอยู่ในสวนที่ลาดขึ้นเล็กน้อย ฉันยังไม่มีโอกาสได้ลิ้มรสอาหารในบรรยากาศนั้น แต่เชื่อว่าคงไม่พลาด โดยเฉพาะถ้าโชคดีมีหนุ่มยินดีไปเป็นเพื่อนฉัน :)
ใครสนใจภาพหลากมุมที่ทำด้วยใจของร้านหนังสือแห่งนี้ scroll down ไปท้ายหน้าแรกนะจ๊ะ อยู่ก่อนหน้าทัวร์อิหร่านโดยณัฐพัดชาจ้ะ

วันจันทร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2551

For my new Iranian friend

I am afraid that you are not able to understand many messages I convey in my blog here. I am so glad that you live in the same building and contact me about Persepolis.

For those of you who read my blog, I have just got a new Iranian friend. She saw the minibook of Persepolis in Thai version (The whole set will be launched on September 11) and email me....finally we met. She had my Music CD, the animation DVD and the English version book and I hope her enjoy this graphic novels, persian music and animation.

Ok then the rest is for my new friend and other Iranian or whoever can read English and wish to know more about Iran and Persepolis related information. On the right column, scrolling down and you would see a long list of website related to Iran and Persepolis.....whatever you want to know.....Culture, Politics, History, US Lesson Plan using Persepolis which I really impress, a new way to promote tourism by setting up a rule for women visitors only.....where women can ride bicycle (Iranian women are not allowed to ride a bicycle!). However, it surprises me a lot that vice president of Iran is a woman. There are many angles to look at what happened in Iran. If a guy talk badly to a woman, he might be in jail or punished.

In some of my Thai articles, you may click the purple link to see the original in English. The last ten blocks I have written is related to Iran and Persepolis. There are some which its original are in Thai. However, it is worth mentioned here. It is an article by a Thai nun who devotes her life for children and woman just like Ebadi, the Iranian Noble Peace Prize winner. Both great women met both in Thailand and in Iran. They discussed about how to help on the crisis in the south of Thailand. They believe that learning about each other would help the children to understand their muslim and buddhist friends. Once people understand and accept the difference, we can then solve problem and live together peacefully. The article also mentioned about "Islam Revolution in the World Women's thought" in Tehran on March 10. In a way the strict codes protect women from extreme materialism.

I just hope that start reading this book, Persepolis, would show another angle on the problem and be an inspiration for others to fight (in life with strong mind not using weapons), to get up again after falling down, and to find solutions for any encountering problems.

This book, Persepolis, has a big impact to me. I share many in common with Marjane Satrapi (well, not about the suicide and drugs). I hope that people who are much different from those around them would finally find a nice place for themselves somewhere.....We don't have to do exactly like Marji or like my Iranian friends by living the country. We just choose our own social life and contact only people we can communicate.

วันอาทิตย์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2551

บล้อกมากมายที่อัพในช่วงนี้

ฉันเริ่มเข้าใจความ "ต่าง" ที่ยากจะหาใครเหมือนของฉันได้แล้ว ฉันยอมรับว่ามันเป็นความบ้า หรือเรียกให้หรูอีกนิดก็เป็นความลุ่มหลง แต่เอ ท่าทางจะสุดโต่งเกินไป ฉันว่าเป็นเรื่องของการจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างเพลิดเพลินจนหลงลืมสิ่งอื่นรอบตัว แต่ไม่ได้หมายความว่าสิ่งที่จิตใจจดจ่อเป็นการทำอะไรที่ไม่ดี ไม่ได้หลงผู้ชาย หลงข้อมูลจ้า

หลายครั้ง หลายหนที่ฉันเป็นแบบนี้ เหมือนเข้าไปในขุมทรัพย์ทางปัญญา เจอคำตอบหนึ่งซึ่งนำไปสู่สิ่งที่น่าสนใจอีกสิ่งหนึ่ง แล้วก็สนุกสนานเพลิดเพลินไปกับมันเรื่องๆ แม้จะง่วงก็บอกตัวเองว่า ขออีกนิดน่า อาจจะเจออะไรที่เด็ดๆ ก็ได้ คราวที่แล้ว ฉันหาตัวอย่างสัญญา เกือบจะเลิกหาแล้ว แต่ในที่สุดก็พบเว็ปไทยใจดี มีสัญญาสารพัดชนิด ด้วยความดีใจ ดาวน์โหลดมาหมดไม่ว่าจะเป็นการทำพินัยกรรม สัญญาฝากขาย สัญญาบ้านเช่า ฯลฯ

ควรจะเข้าเรื่องแล้วเนอะ ที่ตั้งใจจะเขียนตอนนี้คือ อธิบายที่มาที่ไปของบทความสารพัดร่วม 10 บทความเห็นจะได้ และถ้าใครสังเกตุก็จะเห็นลิงค์ไปยังข้อมูลน่าสนใจอื่นๆ ที่ฉันสรุปหรือนำมาเขียนแยกแจกแจงรายละเอียดทั้งหมดไม่ไหว เอาเป็นว่าถ้าใครต้องการมีพื้นฐานข้อมูลเกี่ยวกับประเทศอิหร่าน ผู้หญิงมุสลิม เหตุการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้น ฉันไปคัดสรร หามาให้แล้วทั้งเว็บไทยและเทศ

และสิ่งที่ประทับใจอย่างยิ่งคือ แผนการเรียนการสอนเด็กระดับมัธยมที่เลือกใช้แพร์ซโพลิส Persepolis เป็นหัวเรื่องในการสอน

ฉันนั่งอ่านแผนแล้ว เป็นการเรียนการสอนแบบบูรณาการจริงๆ ก่อนที่จะให้นักเรียนอ่าน Persepolis ครูจะให้ทำการบ้านโดยการหาข้อมูลเกี่ยวกับอิหร่านในช่วงนั้น สภาพสังคมและวัฒนธรรมเป็นอย่างไร โดยให้รายชื่อเว็บไซต์ที่มีข้อมูลเกี่ยวกับคำถามที่ตั้งไว้ล่วงหน้า โดยให้นักเรียนทำงานเป็นกลุ่มและนำเสนอข้อมูลที่ได้รับหน้าชั้นเรียน สิ่งที่นักเรียนได้เรียนรู้และฉันเห็นว่าสำคัญกว่า "สิ่งที่รู้ ข้อมูลที่ได้รับ" คือกระบวนการคิด วิธีอ่าน การสรุปความ เพื่อสื่อสารให้ผู้อื่นฟังอย่างกระชับ โดยใช้สไลด์ประกอบ เป็นการบังคับให้เรียนรู้การใช้โปรแกรมนำเสนอรายงานอย่าง Power Point อย่างเป็นธรรมชาติ แผนการสอนที่ได้ออกแบบไว้ มีเครื่องไม้เครื่องมือ และข้อมูลที่นักเรียนจำเป็นต้องใช้ แต่ไม่ใช่ในลักษณะการป้อน เป็นการแนะแนว บอกทาง แต่ต้องเดินไปเอง พบอุปสรรคเอง แก้ปัญหาเอง แล้วท้ายที่สุดประสบการณ์ก็จะสอนนักเรียนผู้นั้นเอง เธอลองคลิกไปตามลิงค์บทความที่ผ่านๆ มาของฉันก็จะสามารถเข้าไปดูแผนการสอนได้โดยละเอียดจ้ะ

นอกจากแผนการสอนมหัศจรรย์ที่ฉันเจอแล้ว ก็ยังมีข้อมูลในเชิงลึกที่ฉันรับรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับผู้หญิงอิหร่าน ข้อมูลที่ดูเหมือนจะขัดกันเองในที ตกลงตัดสินอะไรอย่างชัดเจนไม่ได้หรอกนะ ต้องดูว่ามองในมุมไหน ดีใจกับคนอิหร่านด้วยที่มีรองประธานาธิบดีเป็นผู้หญิง ขนาดเมืองไทยยังมีแค่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเท่านั้น เว็บของ BBC ยาวเหยียดที่ฉันโพสต์ไว้ ให้ข้อมูลได้ดีมากสำหรับคนที่ไม่เคยสนใจการเมืองตะวันออกกลางเลยอย่างฉัน สงครามเป็นเรื่องของอำนาจ แต่ผู้ที่เดือดร้อนคือประชาชน และตราบใดที่ตะวันออกกลางยังเป็นแหล่งน้ำมันหลักของโลก พลังงานเป็นขนมที่หอมหวานเย้ายวนสำหรับชาติมหาอำนาจ

หาข้อมูลไปมา กลับพบว่าประเทศที่ต้องอยู่ในภาวะสงครามอยู่เป็นนิจกลับมีธรรมชาติและสิ่งปลูกสร้างที่งดงาม ฉันถึงกับทำสไลด์เป็นออนไลน์ทัวร์โดยณัฐพัดชา ดูไปถึงโปรแกรมทัวร์อิหร่าน เพิ่งรู้อีกเช่นกันว่าคนอิหร่านมาเที่ยวเมืองไทยใกล้แสนคนต่อปีแล้ว ส่วนคนไทยเพิ่มไปไม่กี่หมื่นคนต่อปี ฉันเชื่อว่าจำนวนนักท่องเที่ยวไทยที่จะเดินทางไปอิหร่านจะต้องเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน เพิ่งมีเว็บไซต์การท่องเที่ยวอิหร่านเป็นภาษาไทยที่ให้ข้อมูลน่าสนใจเมื่อปีที่แล้ว ฉากใน Persepolis หลายตอนพูดถึงสถานที่ๆ ฉันนำมาทำสไลด์ เช่น เทือกเขาอัลบอร์ซ สกีรีสอร์ท สุเหร่า หรือแม้แต่ถนนหนทางทั้งในชนบท ระหว่างเมืองและในกรุงเตหะรานช่วงฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาวก็งดงามกลบภาพสงครามภายในใจฉันได้โดยสิ้นเชิง

ฉันรวบรวมลิงค์มากมายตามที่กล่าวถึงข้างบน เว็บและบล้อกของแฟนๆ หนังสือและหนังการ์ตูนแพร์ซโพลิส Persepolis เรียกว่า ดูกันไม่หวาดไม่ไหวเลยทีเดียว

และท้ายสุด เป็นบทความที่เหมือนเขียนขึ้นมาเพื่อให้ฉันค้นพบ จากแม่ชีศันสนีย์ เสถียรธรรมสถาน ถึงประสบการณ์ตรงกับผู้หญิงอิหร่านทั้งในประเทศไทยและประเทศอิหร่าน มุมมองเดียวกันของผู้หญิงที่แตกต่างทั้งเชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรม แต่มี "ใจเดียวกัน" คือใจที่อุทิศตนเพื่อเด็กและผู้หญิง (ไม่ใช่นางงาม แต่งามทั้งนอกและใน) การพูดถึงปัญหามุสลิมทางใต้ ทำให้ฉันหัวใจพองโตด้วยความรู้สึกว่าฉันอาจเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้คนไทยทั้งประเทศเข้าใจคนไทยมุสลิมทางภาคใต้มากขึ้นผ่านภาพการ์ตูนขาวดำ ที่ไม่จำเป็นต้องหมายความว่าเราต้องตัดสินทุกอย่างให้เป็นดำ หรือ ขาว เพียงแค่ความเข้าใจ อาจจะทำให้เกิดความอัศจรรย์ขึ้นในแผ่นดินทองผืนนี้ก็ได้นะ

ฉันอาจจะหวังมากไป อะไร้ หนังสือการ์ตูนสองเล่มเล่าเรื่องผู้หญิงที่แก่นกล้า ก๋ากั่น ทำสิ่งผิดพลาดซ้ำแล้วซ้ำเล่า และแน่นอนว่าเธอไม่ใช่ตัวอย่างที่ดีให้กับเยาวชนไทย แต่เธอก็คือผู้หญิงคนหนึ่ง ผู้หญิงที่มีเลือดเนื้อ ผู้หญิงที่ตั้งใจจะเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้กับชีวิต ไม่ว่าจะล้มเหลว ผิดพลาดมาสักกี่ครั้ง ในเมื่อการอ่านเรื่องราวของเธอ ก่อเกิดปฏิกิริยาสั่นสะเทือน ให้ฉันหันมาเป็นนักแปลหนังสือครั้งแรกในชีวิต ทำให้ฉันสนใจการเมือง ทำให้ฉันสนใจเรื่องราวของประเทศตะวันออกกลาง อยากรู้จักทำความคุ้นเคยกับคนมุสลิม ได้สัมผัสและได้รับความช่วยเหลือจากเพื่อนมุสลิมชาวอิหร่านที่ผ่านประสบการณ์คล้ายคลึงกับมาร์จี้นางเอกของเรื่อง การปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมที่แตกต่างกันอย่างสุดขั้ว การเอาตัวรอดในยามคับขัน ผลกระทบที่เกิดกับประชาชนที่อยู่ดีๆ ธนาคารก็อายัดเงินในบัญชี เพียงเพราะเขาเป็นคนอิหร่าน...

ฉันแค่อยากให้พี่น้องคนไทยเปิดใจรับสิ่งใหม่ๆ เคารพในความต่าง หาหนทางประนีประนอม ฉันเชื่อว่าปัญหาทุกอย่างแก้ไขได้ ขอให้ได้มีการเริ่มต้น อย่างน้อยๆ ลองเปิดดูสักหน่อยสิว่า ทำไมผู้หญิงอิหร่านต้องสวมผ้าคลุมผมที่เรียกกันว่าฮิญาบ มันมีความหมายอย่างไร พวกผู้หญิงเขาอยากใส่กันรึเปล่า ถ้าไม่ใส่แล้วผลตอบรับเป็นอย่างไร แล้วหลายๆ สิ่งอาจจะผุดขึ้นมา สำหรับฉันตอนนี้ ฉันดีใจจังที่ฉันขี่จักรยานได้ ใส่เสื้อผ้าสีๆ แต่ขณะเดียวกัน ถ้าฉันไปฟ้องตำรวจว่ามีใครมาพูดจาดูถูกฉัน ใครคนนั้นคงไม่ถูกโบยหรือจับขังเหมือนที่อิหร่านสมัยนั้นเป็นแน่

แล้วก็ใช้วิจารณญาณตัดสินดูนะคะ ว่า Persepolis เป็นหนังสือที่คุณคิดไม่ผิดที่เลือกอ่านรึเปล่า

เรียนรู้เพื่อเข้าใจ

มองนอกดูใน : หัวใจเดียวกัน

แหม ฉันเจอสองบทความเขียนโดยคนๆ เดียวกัน แต่น่าเอามาใส่ไว้ ณ ตรงนี้จริงๆ

+++
เมื่อต้นปีที่แล้ว ข้าพเจ้าได้รับเชิญจากรัฐบาลของสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่านให้ร่วมเป็นเกียรติในงานประกาศเกียรติคุณสตรีที่ได้รับการคัดสรร อันเป็นส่วนหนึ่งของการเฉลิมฉลองครบรอบ 25 ปี แห่งการปฏิวัติอิสลามของสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน ซึ่งหลังจากเสร็จสิ้นพิธี ข้าพเจ้าได้มีโอกาสใช้เวลาหลังจากนั้นเยี่ยมชมสถานที่ พบปะบุคคล และร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้หญิงอิหร่านในเรื่องของการทำงาน ทำให้ได้รู้ถึงหัวใจของผู้หญิงที่ต้องต่อสู้เพื่อชนะกิเลสในตัวเอง

เมื่อวันที่ 12 เมษายนที่ผ่านมา ผู้หญิงอิหร่านนามว่า ชิริน อีบาดี ได้มาเยี่ยมข้าพเจ้าที่เสถียรธรรมสถาน เธอได้รับเชิญให้มาเยือนประเทศไทย เพื่อร่วมงาน "ความหลากหลายทางวัฒนธรรมและประชาธิปไตย" จัดโดยมูลนิธิสันติภาพนานาชาติ เธอผู้นี้เป็นผู้หญิงมุสลิมคนแรกที่ได้รับรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ ในปี 2546 และเป็นนักต่อสู้เพื่อสิทธิสตรี เด็ก และผู้ลี้ภัย เป็นผู้ก่อตั้งและเป็นผู้นำของ Associate for the Support of Children ฯลฯ เธอเคยเดินทางมาฮันนีมูนที่เมืองไทยเมื่อหลายปีก่อน และการแวะเยี่ยมข้าพเจ้าครั้งนี้ก็เนื่องจากได้รับทราบว่าข้าพเจ้าทำงานมากมายเกี่ยวกับเด็กและผู้หญิง ซึ่งเป็นงานที่เธอทุ่มเทเช่นกัน เราจึงมีโอกาสได้พูดคุยกัน และชวนกันสานต่องานว่าด้วยเรื่องเด็กและผู้หญิง


อีบาดี กล่าวว่า เธอรู้ว่าข้าพเจ้าทำงานหลายอย่างเพื่อเด็ก เธอจึงอยากจะขอให้ข้าพเจ้าช่วยทำงานกับเด็กๆ มุสลิมทางใต้ด้วย อีกทั้งเสนอแนะว่าควรมีโรงเรียนให้ทั้งเด็กพุทธและเด็กมุสลิมได้เติบโตมาด้วยกัน เพื่อพวกเขาจะได้เรียนรู้และแลกเปลี่ยนวิถีชีวิตร่วมกัน เมื่อโตขึ้นเด็กเหล่านี้จะรู้ว่าไม่มีความแตกต่างในเรื่องของวัฒนธรรมที่ทำให้เกิดความแตกร้าวขึ้นได้ เพราะ
ถ้าเราปล่อยให้สังคมมุสลิมอยู่แต่ในสังคมตัวเอง และสังคมพุทธก็อยู่ในสังคมตัวเอง จะไม่มีทางที่ทำให้สองฝ่ายเข้าใจกันได้เลย

ข้าพเจ้าจึงเล่าให้อีบาดีฟังว่าเรามีโอกาสเดินทางไปคุยกับครูอาจารย์ในจ.ยะลา เพื่อเป็นการให้กำลังใจพี่น้องไทยพุทธและไทยมุสลิม ที่ทำงานช่วยเหลือเด็กๆ โดยเอาประสบการณ์ที่ไปเยี่ยมเด็กๆ ในหกจังหวัดทางภาคใต้ที่ประสบธรณีพิบัติภัยสึนามิ และได้ทำงานสร้างห้องสมุดในหมู่บ้านชั่วคราวที่มีทั้งเด็กไทยและเด็กมุสลิมซึ่งข้าพเจ้ามั่นใจว่าภาษาและวัฒนธรรมในการดำเนินชีวิตจะสามารถเชื่อมโยงให้เด็กๆ สัมผัสหัวใจของกันและกันได้โดยการอ่านหนังสือ เวลาที่เราทำห้องสมุด เราเลือกหนังสือที่ทำให้เด็กชาวพุทธ มุสลิม คริสต์ ได้เข้าไปอ่านในห้องเดียวกันได้ รอยยิ้มของเด็ก ๆ ที่เป็นธรรมชาติเป็นความสุขอันเดียวกัน ความสุขเป็นเรื่องสากล ไม่ว่าจะเป็นความสุขของเด็กคนไหนก็เป็นความสุขของโลกใบเดียวกัน เด็กๆ ที่อยู่ในวัฒนธรรมที่แตกต่างแต่สามารถมีหัวใจอันเดียวกันได้


ข้าพเจ้าคุยกับเธอว่า จากการทุ่มเททำงานมากมาย ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องผ่านอุปสรรคต่างๆ เธอยังมีความกลัวอะไรอยู่บ้างไหม เธอตอบว่า ความกลัวเป็นสัญชาตญาณอย่างหนึ่ง เหมือนความหิวที่เราห้ามไม่ได้ไม่ว่าเราจะอยากหรือไม่อยาก แต่จากประสบการณ์ที่ผ่านมาก็ได้เรียนรู้ว่า เธอจะไม่ปล่อยให้ความกลัวใดเข้ามากีดขวางการทำงานของเธอ กอปรกับเธอเป็นผู้ปฏิบัติในศาสนาอิสลาม สิ่งนี้มีส่วนช่วยสร้างความเข้มแข็งให้เกิดขึ้นอย่างมากทีเดียว

" พระองค์อัลเลาะห์ได้ช่วยอะไรคุณบ้าง ? " ข้าพเจ้าถามก่อนจะลาจากกันในวันนั้น

"พระองค์อัลเลาะห์อยู่ในตัวฉัน และเฝ้าดูฉันอยู่ตลอดเวลา หากฉันทำไม่ดี พระองค์อัลเลาะห์ก็จะไม่ยอมรับ ทุกครั้งที่ฉันช่วยคนแต่ละคน ฉันรู้ว่าพระองค์อัลเลาะห์มีความสุข"

หากทุกคนมีสิ่งยึดเหนี่ยวที่ถูกที่ควรในใจ ไม่ว่าจะเกิดชาติไหน...ไหน ก็ควรจะมีหัวใจเดียวกัน...คือหัวใจแห่งความดีงาม อันจะนำมาซึ่งความสงบและผาสุกของตน ของสังคม และของโลก

ธรรมสวัสดี
คม-ชัด-ลึก วันพุธที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2548
+++

มุมต่างเรื่องผู้หญิงอิหร่านจากเสถียรธรรมสถาน



ข้อความข้างล่าง ฉันก๊อปปี้มาจากลิงค์ข้างบน ฉันอ่านมาหลายเว็บ เห็นความเฉพาะตัวของอิหร่านที่แตกต่างสุดขั้วอย่างที่ไม่น่าเป็นไปได้ ในขณะที่ใครๆ ก็ดูจะคิดว่า อิหร่านกดขี่ผู้หญิง ต้องสวมฮิญาบบ้างล่ะ ห้ามขี่จักรยานบ้างล่ะ ถ้าสามีต้องการหย่า 3 ครั้ง ผู้หญิงก็ต้องยินยอม แต่ก็ผู้หญิงนั่นแหละที่เรียนในระดับปริญญาตรีสูง รองประธานาธิบดีของอิหร่านก็เป็นผู้หญิง ในบางมุม การสวมฮิญาบเป็นการรักษาความปลอดภัยให้ผู้หญิง การแต่งกายอวดเนื้อหนังมังสาแบบตะวันตกดูเหมือนมองว่าผู้หญิงเป็นวัตถุแห่งเซ็กซ์ เมื่อฉันยิ่งศึกษาลึกลงไปเท่าใด อะไรที่คิดว่าถูก อาจจะไม่ถูก อะไรที่คิดว่าผิด แต่ถ้ามองอีกมุมก็ไม่ผิดนะ ฉันก็คงทำได้แค่หาข้อมูลมาให้เธอพิจารณาและตัดสินใจเอาเองแหละ ถ้าเรื่องไหนน่าสนใจ ฉันอาจจะนำมาใส่เป็นบทความ หรืออย่างน้อย ฉันก็ใส่ลิงค์ให้เธอไปเลือกแวะชมนะ ลองอ่านบทความข้างล่างดูละกัน ว่าความแตกต่าง บางครั้งก็เป็นแค่ความแตกต่าง อย่าไปตัดสินอะไรให้มันซะทุกอย่าง


+++

เมื่อได้ข่าวว่าข้าพเจ้าจะต้องมาเข้าร่วมประชุมที่ประเทศอิหร่าน คนใกล้ตัวได้ให้ข้อมูลที่ทำให้ข้าพเจ้าต้องเตรียมตัวทั้งภายนอกคือเรื่องเครื่องแต่งกายที่ผู้หญิงจะต้องใช้ผ้าคลุมศีรษะและแต่งตัวที่เห็นได้แค่หน้ากับมือเท่านั้น ส่วนเรื่องภายใน ข้าพเจ้าจะต้องเตรียมจิตใจเพื่อเรียนรู้กับเพื่อนมุสลิม

วันแรกที่ได้สัมผัสวิถีชีวิตชาวอิหร่าน ข้าพเจ้าเห็นผู้คนที่เดินอยู่บนท้องถนนมากมายสวมเสื้อคลุมสีดำตั้งแต่ศรีษะจรดเท้า แต่ใบหน้ามีรอยยิ้มและแววตาที่มีความเป็นมิตรไมตรี

การประชุมครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อให้รางวัลแด่ผู้หญิงมุสลิมที่ทำงานอันเป็นประะโยชน์แก่ศาสนาอิสลามในการประชุมเรื่อง "มุมมองของผู้หญิงทั่วโลกที่มีต่อการปฏิวัติอิสลาม" ( Islam Revolution in the World women’s Thought ) ณ กรุงเตหะราน ในวันที่ ๑๐ มีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการฉลองครบรอบ ๒๕ ปีแห่งการปฎิวัติอิสลามแห่งอิหร่าน ข้าพเจ้าได้มีโอกาสเรียนรู้กับเพื่อนผู้หญิงมุสลิมมากมากจากหลายประเทศอาทิ สตรีที่มาจากเลบานอล กาน่า อียิปต์ เยอรมัน รัสเซีย เซ้าว์อัฟริกา เคนย่า ฯลฯ และสุภาพสตรีที่ทำงานในรัฐบาลอิหร่านอันได้แก่ Dr. Masoume Ebterkar ที่เป็นรองประธานาธิบดีและเป็นรัฐมนตรีกระทรวงสิ่งแวดล้อม และ Dr. Zahra Shojaei ที่ปรึกษาประธานาธิบดีและหัวหน้าสำนักงานของประธานาธิบดีในส่วนของการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้หญิง และบุคคลสำคัญที่ข้าพเจ้าได้พบอีกท่านหนึ่งคือ บุตรสาวของท่านอิมาม โคมัยนี ผู้นำการปฏิวัติอิสลาม ที่เคยกล่าวถึงความสำเร็จของการปฏิวัติว่า "ในการปฏิวัติอิสลาม เราเป็นหนี้ผู้หญิงอิหร่านทั้งประเทศ เพราะผู้หญิงทุกคนได้เสียสละลูก สามีและความสะดวกสบายต่างๆเพื่อให้การปฏิวัติสำเร็จ" และ ยังกล่าวถ้อยคำอย่างหนักแน่นไว้อีกด้วยว่า "ผู้หญิงคือผู้สร้างสังคม" Mrs. Zahra Mostafavi เองก็ได้ย้ำกับกลุ่มสตรีนานาชาตินี้ว่า การปฏิวัติอิสลามแห่งอิหร่านเป็นต้นแบบของการปฏิวัติทั่วไป โดยจุดมุ่งหมายของการปฏิวัติคือการปฏิวัติจิตวิญญาณ ซึ่งเป็นการสร้างคุณค่าของมนุษย์ให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์อย่างแท้จริง

มีสิ่งที่น่าจะนำมาเล่าสู่กันฟังอีกเรื่องหนึ่ง คือเมื่อข้าพเจ้าได้สนทนากับรองประธานาธิบดีหญิงที่ในสมัยการปฎิวัติเธอเป็นผู้หนึ่งที่เข้าร่วมขบวนการปฏิวัติ เธอได้ย้ำว่า "ท่านอิมามโคมัยนีไม่ได้เป็นเพียงผู้นำการปฏิวัติเท่านั้น แต่ท่านยังให้เครื่องมือในการปฏิบัติตนเพื่อให้ดูแลชีวิต โดยเน้นถึงการนำคำสอนของศาสดามาใช้ในวิถีชีวิตประจำวัน และในการทำงานของรัฐบาลอิหร่าน ไม่ว่าจะมีการพัฒนาในทางใดก็ตามเพื่อความก้าวหน้าของประเทศ แต่จุดสำคัญที่ยังต้องคงไว้คือหลักการทางศาสนา เพราะศาสนาจะทำให้พัฒนาจิตใจให้เข้มแข็ง เราเชื่อมั่นว่าหากเราให้ความเข้มแข็งทางจิตใจแก่เด็กและเยาวชนคนรุ่นถัดไปจากเราได้ เราก็จะไม่ต้องเป็นห่วงเรื่องพฤติกรรมของเขาในอนาคต"

ข้าพเจ้าได้แสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนว่า การปฏิวัติคือกระบวนเริ่มต้นที่เปิดโอกาสให้ผู้หญิงได้ออกมาจับมือทำงานร่วมกัน ภายใต้ผ้าคลุมสีดำที่มีแสงสว่างแห่งปัญญา และแววตาของความเป็นมิตรที่เปิดใจพร้อมที่จะเรียนรู้และท้าทายในสิ่งที่จะทำได้ยาก โดยการจับมือกันสร้างเครือข่ายของวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ภายในจิตใจของตัวเอง

การประชุมครั้งนี้สรุปได้ว่า สตรีมุสลิมคือพลังปฏิวัติที่ยิ่งใหญ่ในการประกาศศักดิ์ศรีที่แท้จริงของความเป็นมนุษย์ที่ท้าทายความเสื่อมทรามของศีลธรรม ที่นำสตรีมาเป็นเครื่องมือในการโหมกระพือวัฒนธรรมบริโภคนิยม การบูชาลัทธิวัตถุนิยมสุดโต่ง และขบวนการเสรีนิยมที่ไร้ขอบเขต ซึ่งในที่สุดแล้วไม่แต่เพียงสตรีเท่านั้นที่ตกเป็นเหยื่อผู้น่าสงสาร แต่เป็นมนุษยชาติทั้งมวลนั่นเอง ที่ต้องประสบกับความหายนะที่เลวร้ายที่สุด ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ


ธรรมสวัสดี
+++

วันเสาร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2551

เรียนรู้เรื่องวรรณกรรมจาก Persepolis

นิยายภาพมีคุณลักษณะและคำศัพท์ที่ควรทราบ ฉันตัดตอนที่เป็นตัวอย่างจากแผนการสอนมาให้ดูจ้ะ

บทเรียนนี้ชี้ให้เห็นถึงการแสดงส่วนประกอบในแบบต่างๆ
ภาพที่ 1 ตัวอย่างที่ชัดเจนในการให้ข้อมูลเบื้องหลังซึ่งไม่ได้อยู่ในเนื้อหาของหนังสือ
ภาพที่ 2 ใส่รูปคนไว้ตรงกลางโดยปล่อยให้พื้นหลังว่าง เพื่อดึงความสนใจของผู้อ่านไปที่รูปคนเหล่านั้น
ภาพที่ 3 ด้วยขนาดและภาพของผู้ทุกข์ทรมานทำให้ภาพนี้มีพลังและดึงความสนใจได้ดี

การแสดงความรู้สึกผ่านมือและเท้า ให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวละครในเรื่อง
ภาพที่ 4 ภาพที่พ่อกอดอกแสดงถึงการให้ความสำคัญกับเรื่องที่พูดถึง
ภาพที่ 5 ภาพมาร์จี้เท้าสะเอวแสดงความมุ่งมั่นออกไปทางดื้อรั้นของเธอ
ภาพที่ 6 ภาพมาร์จี้นับประเด็นสำคัญ
ภาพที่ 7 ภาพพ่อเอามือปิดหน้าด้วยความรันทด

ที่มา readwritethink

เรียนประวัติศาสตร์อิหร่านผ่านข่าว BBC

ฉัน highlight เหตุการณ์ที่กล่าวถึงใน Persepolis นะเธอ

Timeline: US-Iran ties
A chronology of key events:

1953 US and British intelligence services engineer a coup in which Iranian military officers depose Prime Minister Muhammad Mussadeq, a leading exponent of nationalising the oil industry.


Ayatollah Khomeini's legacy still overshadows US-Iranian relations
1979 16 January -
US-backed Shah of Iran forced to leave the country after widespread demonstrations and strikes.

1979 1 February - Islamic religious leader Ayatollah Khomeini returns from exile and takes effective power.

1979 4 November -
Iranian students seize 63 hostages at US embassy in Tehran, prompting drawn-out crisis leading to severing of diplomatic ties and sweeping US sanctions against Iran. Their initial demand is that the Shah return from the US to Iran to face trial. Later Iran also demands the US undertake not to interfere in its affairs.

1980 25 April - Secret US military mission to rescue hostages ends in disaster in sandstorm in central Iranian desert.

1980 27 July - Exiled Shah dies of cancer in Egypt, but hostage crisis continues.

1980 22 September - Iraq invades, sparking a war with Iran which lasts the rest of the decade. While several Western countries provide support to Iraq during the war, Iran remains diplomatically isolated.


1981 20 January - Last 52 US hostages freed in January after intense diplomatic activity. Their release comes a few hours after US President Jimmy Carter leaves office. They had been held for 444 days.

1985/6 US holds secret talks with Iran and makes weapons shipments, allegedly in exchange for Iranian assistance in releasing US hostages in Lebanon. With revelations that profits were illegally channelled to Nicaraguan rebels, this creates the biggest crisis of Ronald Reagan's US presidency.

1987/8 US forces engage in series of encounters with Iranian forces, including strikes on Gulf oil platforms.


The hostage crisis at the US embassy in Tehran lasted 444 days
1988 3 July - US cruiser Vincennes mistakenly shoots down Iran Air Airbus over the Gulf, killing all 290 people on board.

1989 3 June - Ayatollah Khomeini dies. President Khamenei is appointed supreme leader the following day.

1989 17 August - Hashemi Rafsanjani sworn in as president, with apparent backing of both conservatives and reformers in the leadership.

1990/91 Iran remains neutral in US-led intervention in Kuwait. Rapprochement with West hindered by Ayatollah Khomeini's 1989 religious edict ordering that British author Salman Rushdie be killed for offending Islam in one of his novels.

1992/3 Iran criticises perceived US regional interference in the wake of the Gulf War and the 1993 Israeli-Palestinian peace agreement.

1993 US President Bill Clinton takes office.

1995 President Clinton imposes oil and trade sanctions on Iran for alleged sponsorship of "terrorism", seeking to acquire nuclear arms and hostility to the Middle East process. Iran denies the charges.

1996 Mr Clinton stiffens sanctions with penalties against any firm that invests $40m or more a year in oil and gas projects in Iran and Libya.


The Khatami presidency has not led to closer US-Iranian relations
1997 23 May - Muhammad Khatami elected president of Iran.

1998 President Khatami calls for a "dialogue with the American people" in American TV interview. But in a sermon a few weeks later he is sharply critical of US "oppressive policies".

1999 Twentieth anniversary of US embassy siege. Hardliners celebrate the occasion, as reformists look to the future rather than the past.

2000 18 February - Iranian reformists win landslide victory in general election. Shortly afterwards, President Clinton extends ban on US oil contracts with Iran, accusing it of continuing to support international terrorism.

2000 March - US Secretary of State Madeleine Albright calls for a new start in US-Iranian relations and announces lifting of sanctions on Iranian exports ranging from carpets to food products. Iranian foreign ministry initially welcomes the move, but Ayatollah Khamenei later describes it as deceitful and belated.

2000 September - Mrs Albright meets Iranian Foreign Minister Kamal Kharrazi at UN in New York - the first such talks since diplomatic ties were severed in 1979.

2001 June - The US alleges that elements within the Iranian Government were directly involved in the bombing of an American military base in Saudi Arabia in 1996. Tehran angrily rejects the allegations.


Bush branded Iran as part of an "axis of evil"
2001 September - Report by Central Intelligence Agency accuses Iran of having one of the world's most active programmes to acquire nuclear weapons. The CIA report says Iran is seeking missile-related technology from a number of countries including Russia and China.

2002 29 January - US President George W Bush, in his State of the Union address, describes Iran, Iraq and North Korea as an "axis of evil". He warns that the proliferation of long-range missiles being developed in these countries is as great a danger to the US as terrorism. The speech causes outrage in Iran and is condemned by reformists and conservatives alike.

2002 September - Russian technicians begin construction of Iran's first nuclear reactor at Bushehr despite strong objections from US.

2002 December - The US accuses Iran of seeking to develop a secret nuclear weapons programme and publishes satellite images of two nuclear sites under construction at Natanz and Arak.

2003 February-May - The UN's International Atomic Energy Agency (IAEA) conducts a series of inspections in Iran. The country confirms that there are sites at Natanz and Arak under construction, but insists that these, like Bushehr, are designed solely to provide fuel for future power plants.

2003 June - White House refuses to rule out the "military option" in dealing with Iran after IAEA says Iran "failed to report certain nuclear materials and activities". But IAEA does not declare Iran in breach of Nuclear Non-Proliferation Treaty.


Iran's account of its nuclear programme failed to satisfy the US
2003 September - Washington says Iran is not complying with non-proliferation accords but agrees to support proposal from Britain, France and Germany to give Iran until end of October fully to disclose nuclear activities and allow surprise inspections.

2003 October-November - Tehran agrees to suspend its uranium enrichment programme and allow tougher UN inspections of its nuclear facilities. An IAEA report says Iran has admitted producing plutonium but adds there is no evidence that it was trying to build an atomic bomb. However, US dismisses the report as "impossible to believe". The IAEA votes to censure Iran but stops short of imposing sanctions.

2003 December - US sends humanitarian aid to Iran after earthquake kills up to 50,000 people in city of Bam. US Deputy Secretary of State Richard Armitage and Iran's permanent envoy to UN, Mohammad Javad Zarif, hold telephone talks in a rare direct contact.

2004 January - President Bush denies that US has changed its policy towards Tehran and says moves to help Iran in the wake of earthquake do not indicate a thaw in relations.

2004 March - A UN resolution condemns Iran for keeping some of its nuclear activities secret. Iran reacts by banning inspectors from its sites for several weeks.

2004 September - The IAEA passes a resolution giving a November deadline for Iran to suspend uranium enrichment. Iran rejects the call and begins converting raw uranium into gas.

A US nuclear monitor publishes satellite images of an Iranian weapons facility which it says may be involved in work on nuclear arms.

2004 November - Iran agrees to a European offer to suspend uranium enrichment in exchange for trade concessions. At the last minute, Tehran backs down from its demand to exclude some centrifuges from the freeze. The US says it maintains its right to send Iran unilaterally to the UN Security Council if Tehran fails to fulfil its commitment.

2005 January - Europe and Iran begin trade talks. The European trio, France, Germany and the UK, demand Iran stop its uranium enrichment programme permanently.


Condoleezza Rice says the US is looking for a diplomatic solution

2005 February - Iranian President Mohammed Khatami says his country will never give up nuclear technology, but stresses it is for peaceful purposes. Russia backs Tehran, and signs a deal to supply fuel to Iran's Bushehr reactor.

New US Secretary of State Condoleezza Rice says attacking Iran is not on the US agenda "at this point in time".

2005 March - President George W Bush signals a major change in policy towards Iran. He says the US will back the negotiation track led by the European trio - EU3 - and offer economic incentives for the Islamic state to give up its alleged nuclear ambitions.

Mr Bush announces the US will lift a decade-long block on Iran's membership of the World Trade Organization, and objections to Tehran obtaining parts for commercial planes.

2005 June - Mahmoud Ahmadinejad, Tehran's ultra-conservative mayor, wins a run-off vote in presidential elections, defeating cleric and former president Hashemi Rafsanjani.

2005 July - The US concludes that President Ahmadinejad was a leader of the group behind the 1979 hostage crisis at its embassy in Tehran, but says it is unsure whether he took an active part in taking Americans prisoner.

2005 August - President George W Bush makes the first of several statements in which he refuses to rule out using force against Iran.


Ahmadinejad says Iran has a right to peaceful nuclear technology

2005 August-September - Tehran says it has resumed uranium conversion at its Isfahan plant and insists the programme is for peaceful purposes. The IAEA finds Iran in violation of the nuclear Non-Proliferation Treaty.

2006 March - US Secretary of State Condoleezza Rice says the US faces "no greater challenge" than Iran's nuclear programme.

2006 April - A report in the New Yorker suggests the US is planning a tactical nuclear strike against underground nuclear sites - a claim Washington denies. Iran says it will retaliate against any attack and complains to the UN.

Iran announces it has successfully enriched uranium - prompting Ms Rice to demand "strong steps" by the UN. An IAEA report concludes Iran has not complied with a Security Council demand that it suspend uranium enrichment. Mr Ahmadinejad insists the pursuit of peaceful nuclear technology is Iran's "absolute right".

Tehran offers to hold direct talks with Washington on the situation in Iraq, in what would have been the first such talks since 1980. Tehran later withdraws the offer.

2006 May - The US, Britain and France table a draft resolution at the United Nations Security Council calling on Iran to suspend uranium enrichment or face "further action".

In response, Iran's parliament threatens to pull out of the nuclear Non-Proliferation Treaty if pressure over its nuclear programme increases.

Later that month, the US offers to join EU nations in direct talks with Iran if it agreed to suspend uranium enrichment and reprocessing work.

2006 December - The UN Security Council unanimously passes a resolution imposing sanctions on Iran over its nuclear programme.

2007 January - Under Secretary of State Nicholas Burns says that members of the Iranian Revolutionary Guard had been arrested in Iraq. He said they had been "engaged in sectarian warfare".

In his State of the Union address on 24 January, Mr Bush lumps Iran with al-Qaeda: "It has also become clear that we face an escalating danger from Shia extremists who...take direction from the regime in Iran," he says. "The Shia and Sunni extremists are different faces of the same totalitarian threat."

A few days later, seeking to ease concerns about a future military confrontation with Iran, the US president says he has "no intent" to attack the country.

2007 February - US officials say they have proof that Iran has provided sophisticated weapons which have been used to kill American soldiers in Iraq.

This is rebuffed by President Ahmadinejad in an interview with an American television station. He dismisses the claims as an "excuses to prolong the stay" of US forces.

2007 March - The US ambassador to Iraq, Zalmay Khalilzad, holds a meeting with an Iranian team at a conference of Iraq's neighbours in Baghdad.

The talks are the first formal encounter between the two sides for more than two years.

2007 May - The US Ambassador to Iraq, Ryan Crocker, and his Iranian counterpart Hassan Kazemi Qomi hold the first high-level talks between the two countries in almost 30 years.

Iraq's security was the only item on the agenda at the event in Baghdad, hosted by the Iraqi Prime Minister Nouri Maliki.


2007 June - The US threatens to get much tougher with international energy companies that do business with Iran.


2007 July - The US Ambassador to Iraq, Ryan Crocker, and his Iranian counterpart Hassan Kazemi Qomi, hold a second round of talks during which the US says Iran has increased support for militia groups in Iraq in recent months.

2007 July - The US military accuses Iran of training militias firing rockets and mortars on Baghdad's heavily protected Green Zone.


2007 August - Officials from Iran's Revolutionary Guards (IRGC) denounce reported US plans to designate the force as a foreign terrorist unit as "worthless".

2007 August - President Bush warns Iran to stop supporting the militants fighting against the US in Iraq.

2007 September - Iran has met a key target for its nuclear programme and now has 3,000 centrifuges enriching uranium, President Ahmadinejad announces.

2007 September - Iran's Supreme Leader Ayatollah Ali Khamenei says he is sure President Bush will be tried in an international court for what had happened in Iraq.


2007 September - The New York authorities reject a request from President Ahmadinejad to visit the site of the 11 September 2001 attacks.

2007 September - President Ahmadinejad says Iran is not heading for armed conflict with the United States.


2007 September - US Secretary of State Condoleezza Rice attacks the head of the UN nuclear watchdog for urging caution in the dispute over Iran's nuclear programme.


The criticism came after IAEA chief Mohamed ElBaradei said force should be a last resort in the Iran dispute.

He dismissed talk of military action in Iran as "hype" and urged people not to forget the lessons of war in Iraq.

2007 September - Iran releases on bail the last of three Iranian-Americans whom it had detained on security grounds.


2007 October - Washington's military commitments to Iraq and Afghanistan would hamstring an attempt to wage war on Iran, the Iranian foreign minister says.

2007 October - Top US military commander in Iraq, Gen David Petraeus, accuses Iran's ambassador of belonging to an elite unit of Iran's Revolutionary Guards.

Gen Petraeus said Hassan Kazemi-Qomi was a member of the Quds Force, which the US believes backs foreign Islamic militant movements.


2007 October - The US steps up its sanctions on Iran for "supporting terrorists" and pursuing nuclear activities.

The new measures target the finances of Iran's Islamic Revolution Guards Corps and three state-owned banks.

2007 November - The US military in Iraq releases nine of the 20 Iranian citizens it had detained there, including two held on suspicion of helping Shia militants.

2007 November - In a new report, the UN nuclear watchdog says Iran has supplied transparent data on its past nuclear activities but adds it has limited knowledge of its current work.

The US vowed to push for further UN sanctions against Iran, following the IAEA report.

But Iran's President Ahmadinejad says the report showed Iran had been truthful about its nuclear activities - and the US and its allies should apologise for their treatment of Iran.


2007 November - Iran says it has agreed to a US proposal for a new round of talks on improving security in Iraq.


2007 December - A US intelligence assessment said that Iran had halted a nuclear weapons programme in 2003. The National Intelligence Estimate assessment said Tehran was, however, continuing to enrich uranium.

Iranian President Mahmoud Ahmadinejad called the US report a "great victory" for Iran.

But President Bush said that Iran should reveal the full extent of its nuclear programme, or risk further international isolation.

2007 December - US Defence Secretary Robert Gates said Iran still posed a serious threat to the Middle East and the US.

Mr Gates told a Bahrain conference Iran may have restarted its nuclear weapons programme, despite a US intelligence report saying it had stopped.

2007 December - Iran sends a formal protest letter to the United States, accusing it of spying on Iran's nuclear activities.

2007 December - Washington says Iran has no need to continue its own nuclear programme after Russia started delivering fuel to the Bushehr power plant.

2008 January - Iran's Supreme Leader, Ayatollah Ali Khamenei, said relations with the US could be restored in the future.


2008 January - The US says five Iranian speedboats harassed three US navy ships in the Strait of Hormuz, approaching them and radioing a threat to blow them up. Iran denied this and broadcast its own video of the stand-off which shows no sign of any threat.

A senior US official later said the radio threat may have been a misread signal originating from elsewhere.

2008 January - Describing Iran as "the world's leading state sponsor of terrorism", President Bush says he is rallying friends to confront it "before it's too late".

2008 July - Reports say the US is planning to establish a diplomatic presence in Tehran by opening an interests section in the capital, which would be its first diplomatic presence in the country for 30 years.


ที่มา BBC

เตรียมตัวก่อนถกเรื่อง Persepolis


ฉันทึ่งอีกแล้ว อยากกลับไปเป็นนักเรียนใหม่ แล้วได้สนุกพร้อมรับความรู้จากการเรียนเหมือนกับที่แผนการสอน

Gaining Background for the Graphic Novel Persepolis: A WebQuest on Iran

แผนการสอนนี้กินระยะเวลาถึง 10 คาบ ให้นักเรียนได้เตรียมตัว ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับประเทศอิหร่าน ศิลปะ วัฒนธรรม วิถีการดำเนินชีวิต และเรื่องราวเกี่ยวกับการปฏิวัติและการเมืองการปกครองในยุคเดียวกับที่ Marjane Satrapi หรือหนูน้อยมาร์จี้ของฉันกำลังเติบโต ฉันว่ามันเป็นการเรียนรู้ที่แท้จริง ไม่ใช่แค่อ่านหนังสือที่บังคับให้อ่านนอกเวลาเพื่อให้สอบผ่านไปเท่านั้น เราสามารถสอดแทรกอะไรหลายๆ อย่างไปกับการอ่านหนังสือ Persepolis มีการฝึกทักษะการนำเสนอในแผนการสอนนี้เช่นกัน ฝึกการค้นคว้าหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต ทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม ฝึกทำสไลด์นำเสนอข้อมูล ยังได้ฝึกการสรุปความ ที่สำคัญ ในแผนสั่งห้ามไม่ให้ทำสไลด์แบบให้ผู้ฟังอ่าน (โอ้ย อยากให้มาบอกอาจารย์หลายๆ คนในเมืองไทยจริงๆ ฉันจำได้ว่าสมัยเรียน เรียกกันว่า ปิ้งสไลด์ อาจารย์บางคนใช้สไลด์ชุดเดิมทุกปี หลังจากเราซีร็อกซ์เล็คเชอร์แล้ว ก็ไม่ต้องขึ้นเรียน อ่านเอาดีไม่ดีท็อป อย่างที่ฉันเคยทำมาแล้ว และคนที่ให้ยืมซีร็อกซ์เล็คเชอร์ก็ค้อนตาขวับ)

มีข้อมูลให้อ่านมากมายในแผนการสอนนี้อีกเหมือนกัน มีกระทั่งการสอนวิธีใช้งาน power point แบบง่ายๆ การเรียนรู้เกิดขึ้นอยู่เสมอ ทำให้นักเรียนรู้ว่า อะไรที่เขาไม่รู้ก็สามารถหาได้ อยุ่ที่จะหา จะอ่าน จะทำรึเปล่า ไม่ใช่นั่งรอให้ใครมาป้อน เดี๋ยวฉันอ่านได้อะไรน่าสนใจเกี่ยวกับอิหร่านเพื่อปูพื้นฐานให้เธออ่าน Persepolis ได้เข้าใจลึกซึ้งขึ้นแล้วฉันจะมาเล่าให้ฟังนะจ๊ะ

ว่าด้วยความหมายของ Graphic Novels


ลิงค์ข้างล่างนี้ช่วยให้ฉันมีคำตอบให้กับสารพัดคำถามทั้งของตัวเองและผู้อื่นเกี่ยวกับทัศนคติที่มีต่อการ์ตูน เราคงต้องทำความเข้าใจกับศัพท์แสงในวงการการ์ตูนนี้ซะก่อน จะได้พูดเรื่องเดียวกัน แพร์ซโพลิส (Persepolis)คือ Graphic Novel ฉันเรียกว่า นิยายภาพละกันนะ ดูไม่หรูหรือธรรมดาจนเกินไป สำหรับการ์ตูนญี่ปุ่นมีศัพท์เฉพาะเช่น manga และ anime ซึ่งเป็นการ์ตูนที่คนหลากวัยทั้งสองเพศอ่านกัน อย่างโปเกมอนนั่นปะไร บางครั้งพอพูดถึงคำว่าการ์ตูนแล้ว ฉันเชื่อว่าคนไทยหลายๆ คนคงจะร้องยี้ ไม่ใช่หนังสือสำหรับผู้ใหญ่อ่าน ฉันอยากจะบอกให้ผู้ใหญ่ลองดูซะใหม่นะว่า มันเป็นของอินเทรนนะเนี่ย เป็นรูปแบบการนำเสนอสำหรับมนุษย์ยุคนี้ ยุคที่ภาพมีบทบาทสำคัญ

ใครอยากศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมก็คลิกที่นี่เลยจ้า

ฝรั่งเขาทำอะไรกับ Persepolis อีกนะ

รูปเล่าเรื่อง: ฝึกอ่านเอาเรื่องกับแพร์ซโพลิส

เว็บข้างต้นเป็นแหล่งรวมแผนการสอนเพื่อช่วยให้คุณครูทั้งหลายเบาแรง ไม่ต้องวางแผนใหม่ทุกครั้ง สามารถคัดเลือก ปรับเปลี่ยนจากแผนการสอนของคนอื่นได้ ฉันว่าเป็นไอเดียที่ดีนะ ไม่รู้ว่าคุณครูชาวไทยเขาแบ่งปันกันอย่างนี้มั้ย เมื่อก่อนฉันเคยสมัครเป็นสมาชิก Early Childhood Education Mailing List ได้ความรู้เยอะทีเดียว เป็นการรวมตัวของครูเด็กปฐมวัยในสหรัฐอเมริกาเสียเป็นส่วนใหญ๋ ที่แบ่งปันความรู้พูดคุยกันเกี่ยวกับปัญหาเรื่องราวที่ประสบ ฉันอยากให้มีบรรยากาศความร่วมมือกันแบบนี้ในเมืองไทยเสียจริงๆ ว่าแต่ว่ามาเข้าเรื่องดีกว่า ว่าเว็บไซต์นี้เขาเอา Persepolis ไปใช้ประกอบการเรียนการสอนนักเรียนเกรด 9-12 (ก็ประมาณมอสามถึงมอหกของเรา)อย่างไร

อ่านไปได้หน่อยก็รู้สึกเห็นด้วยที่ว่าเขาเอาเรื่อง Persepolis นี้มาเป็นตัวอย่างของการสอนเรื่อง Graphic Novel ที่ในภาษาไทยจะเรียกว่า นิยายภาพ หรือนิยายการ์ตูน หรืออะไรก็แล้วแต่ ขอให้อ่านและสนใจเป็นใช้ได้ เป็นความจริงที่เด็กรุ่นใหม่จะได้พบเจอและเห็นภาพมากกว่ารุ่นก่อนๆ ดังนั้นนิยายภาพจึงเป็นเครื่องมือที่ดีในการพัฒนาเด็กให้มีวิจารณญาณในการบริโภคข้อมูลภาพ เด็กจะได้เรียนรู้และซาบซึ้งการใช้ส่วนประกอบของภาพเช่นสี มุมมอง แนวความคิดที่มีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์และความเข้าใจประเด็นต่างๆ ซึ่งการสื่อด้วยนิยายภาพรับเอาหลักการของปรัชญาโพสต์โมเดิร์น Postmodernism การหลอมรวมของวัฒนธรรมชั้นสูงซับซ้อนกับเรื่องที่อ่านง่ายๆ อีกทั้งการผสมผสานของรูปแบบวรรณกรรม การใช้เสียงที่หลากหลาย และที่สุดแล้วก็นำมาซึ่งรูปแบบการนำเสนอล่าสุดที่นำเสนอมุมมองใหม่ๆ

แผนการสอนนี้มีวัตถุประสงค์ใ้ห้นักเรียนได้เรียนรู้คำศัพท์และเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับนิยายภาพและการ์ตูน นำความรู้ต่างๆ ที่ได้รับมาประยุกต์ใช้จริงกับหนังสือ Persepolis ของ Marjane Satrapi โดยเลือกเนื้อหาบางตอนเพื่อศึกษาและสรุปความต้องการของผู้เขียนและทางเลือกที่ใช้ในการสื่อความคิด ศึกษาว่าภาพช่วยให้เข้าใจเนื้อหาที่เป็นตัวอักษรหรือทำให้เข้าใจชัดเจนขึ้นได้อย่างไร จากนั้นก็ให้นักเรียนนำเสนอรายงานต่อหน้าเพื่อนๆ ในชั้นเรียน เพื่อฝึกการพูด การสื่อความคิดและการสรุปประเด็นที่สำคัญ

ขอฉันไปเรียนจากแผนการสอนนี้ก่อนนะเธอแล้วจะมาเล่าให้ฟังต่อ คงได้ความรู้อีกเยอะเลยล่ะ

วันศุกร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2551

Persepolis: เรียนจากคำถาม


รู้มั้ยเธอ ที่ Carleton College จัดให้มีการอภิปรายเกี่ยวกับเรื่องแพร์ซโพลิส (Persepolis) นะ รายละเอียดก็อย่างที่ฉัน cut & paste มานี่แหละ เธอลองอ่านแล้วคิดตามคำถามทั้งสิบแล้วมาคุยกับฉันมั้ยล่ะ

Carleton College
Common Reading Fall 2006


On Thursday, September 8, 2006 you will participate in the eighteenth annual Common Reading Convocation and discussion at Carleton. Faculty, staff, students and alumni members of the community will come together to engage in meaningful dialogue about this year’s selection, Marjane Satrapi’s Persepolis and Persepolis 2. To help you prepare for this experience, we offer the following questions for your consideration. In addition, we invite you to think about what questions you may wish to bring to the discussion.


1) What difference does it make that this story is told in black and white, in graphic novel (comic strip) format?

2) Marji's father says, "As long as there is oil in the Middle East, we will never have peace." Do you think he is right? What would one need to know in order to have an informed opinion about this?

3) One of Satrapi's goals in writing Persepolis is to show that there is more to the country that "fundamentalism, fanaticism, and terrorism." Does Satrapi accomplish her goal? What do you learn about Iran that you didn't know?

4) How is Persepolis a typical coming of age story? How, if at all, are Marji's experiences with drugs, depression and homelessness in Austria critical to her becoming the "liberated woman" she sets out to become?

5) How do you cope when there is conflict between what you have been taught by
parents, religion and/or society and what you know, internally, to be the truth? To what extent is the framing of this question peculiarly "western" (and how, if at all, does that matter)?

6) Why does Satrapi title her work Persepolis?

7) Revolution is an important theme of this work. How, on the basis of Persepolis, would you distinguish a good revolutionary from a bad revolutionary?

8) Persepolis is a story filled with stories. What roles do stories play in Marji's life? In your life?

9) Marji has a complicated, shifting relationship with her parents. What are their expectations for her and how - if at all - do these expectations shape her? How about you? Does your family have expectations that seem to shape you?

10) How does Marji seek meaning in her life? What links are there, if any, between education and finding meaning in life for her? For you? What sustains her spiritually? What sustains you?

เที่ยวอิหร่านกับณัฐพัดชา

Iran

คลิกรูปแล้วไปเที่ยวด้วยกันเลยนะคะ

รูปส่วนใหญ่ฉันได้มาจาก http://www.tehran24.com

อิหร่านที่เธอคงไม่เคยเห็น

Posted by Picasa

น้ำตก Margoon

ประวัติศาสตร์อันยาวนานของอิหร่านที่น้อยคนจะรู้

Azadi Monument (Freedom Monument) in Tehran, Iran

“ถัดจากห้วงแห่งความคิด คือท้องทุ่งกว้าง ฤาเราจะพบกันที่นั่น” รูมี นักปรัชญาชาวเปอร์เซีย (1207-1273)

หลายพันปีมาแล้วที่ชาวเปอร์เซียสรรสร้างความงาม หลายร้อยปีก่อนหน้าความศิวิไลซ์อย่างที่เรารู้จักจะเกิดขึ้น ชนเผ่าอารยันที่อพยพเข้ามาในดินแดนแถบนี้ได้นำเลือดใหม่เข้ามาผสมผสานในดินแดนของชาวอิหร่านและทางเหนือของอินเดีย เลือดใหม่นำมาซึ่งภาษาสันสกฤตอันเป็นภาษาแม่ของภาษาในตระกูลอินโด-ยูโรเปียนทั้งหมด และการผสมผสานทางความคิดก็ก่อให้เกิดคัมภีร์พระเวท อุปนิษัท และพระพุทธเจ้า ชาวเปอร์เซียเป็นต้นธารแห่งความศิวิไลซ์ ที่ลำเลียงเลือดเนื้อ ความคิด ศิลปะ และความเชื่อทางศาสนา ไปสู่ตะวันออกและตะวันตกของโลก ความเชื่อโบราณของเปอร์เซียใช่เพียงส่งผลอิทธิพลต่อศาสนายูดาย คริสต์ และอิสลามเท่านั้น หากแต่เป็นหนึ่งในปรัชญาศีลธรรมขั้นสูงสุดตลอดกาลของแนวคิดที่ว่า ชีวิตคือการต่อสู้ดิ้นรนเพียงชั่วครู่ชั่วยามระหว่างแสงสว่างและความมืดมน ความถูกต้องและความผิด ความดีและความชั่ว และมนุษย์พึงต่อสู้เพื่อแสงสว่าง และช่วยให้เทพแห่งแสงสว่าง (Ahura Mazda) มีชัยในสงครามอันยิ่งใหญ่ซึ่งมีขอบเขตกว้างไกลทั่วจักรวาลและมีระยะเวลายาวนาน สงครามนี้ทำให้มนุษย์แต่ละคนมีความหมาย คุณค่า และเกียรติภูมิที่ไม่สูญลับแม้เมื่อชีพดับสูญ

สองพันห้าร้อยปีผ่านไปนับตั้งแต่ชาวเปอร์เซียสร้างจักรวรรดิแรกสุดของโลกขึ้น ในตอนนั้นเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่มีการจารึกว่า จักรวรรดิอันไพศาลเกือบเท่าสหรัฐอเมริกามีการปกครองที่เป็นระเบียบเรียบร้อย มีการบริหารราชการที่มีประสิทธิภาพ โครงข่ายการติดต่อสื่อสารที่รวดเร็ว การขนย้ายสินค้าและการสัญจรของผู้คนได้รับการอารักขาอย่างดีตามถนนหลวง และแม้กระทั่งช่วงที่พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชยกทัพเข้ามารุกรานและยึดครองดินแดนนี้ พระองค์ทรงประทับใจในศิลปวัฒนธรรมและไมตรีจิตของชาวเปอร์เซีย ความละเมียดละไมและสง่างามของชีวิต ไม่เพียงเท่านั้น ความงามและความอ่อนน้อมของผู้หญิงอิหร่านก็ทำให้อเล็กซานเดอร์มหาราชละทิ้งแนวคิดของการพิชิตชัย และเสนอให้มีการผสานเลือดเนื้อและความศิวิไลซ์ของกรีกและเปอร์เซียเข้าด้วยกัน กระทำตนเป็นแบบอย่างให้เหล่าทหารหาญโดยเข้าพิธีอภิเษกกับสตรีเปอร์เซีย

ไม่นานต่อมา ก็มีเหล่าผู้ปกครองที่ยิ่งใหญ่อีกหลายพระองค์ รัฐบาลที่มีระเบียบแบบแผน และการสร้างสรรค์งานศิลปะ วัสดุทุกประเภท ตั้งแต่ผืนแพรละเอียดอ่อนจนถึงเหล็กหรือทองแดงที่แข็งแกร่งที่สุด ผ่านการรังสรรค์ของช่างผู้ชำนาญและการออกแบบที่ประณีต ซึ่งปัจจุบันเป็นแรงบันดาลใจทางศิลปะที่ส่งอิทธิพลต่อการตกแต่งแบบไบเซนไทน์และเจริญรุ่งเรืองสูงสุดในเปอร์เซียอิสลาม

การรุกรานของชาวอาหรับส่งผลกระทบต่อความต่อเนื่องของพัฒนาการทางวัฒนธรรม แต่เวลาผ่านไปไม่ถึงร้อยปี ชาวเปอร์เซียก็เอาชนะชาวอาหรับผู้รุกรานได้ ชาวเปอร์เซียปฏิบัติต่อชาวอาหรับเฉกเช่นชาวกรีกปฏิบัติต่อชาวโรมัน ศาสนาอิสลามนิกายชีอะห์กลายเป็นศรัทธาใหม่สำหรับชาวเปอร์เซีย มีการสร้างนักภาษาศาสตร์ นักไวยากรณ์ นักพจนานุกรมศาสตร์ และนักประวัติศาสตร์ ขึ้นมาเพื่อพลิกฟื้นวรรณกรรมยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา (Renaissance) ต่อมาไม่นาน ห้องสมุดประชาชนที่เมืองเรย์ก็ต้องใช้แคตาล็อกสำหรับจดชื่อหนังสือในห้องสมุดนั้นถึงสิบเล่มใหญ่ๆ เมืองเมรีมีห้องสมุดถึง 10 แห่ง ซึ่งแต่ละแห่งมีหนังสือ 12,000 เล่ม ในช่วงต้นๆ หรือเพียงศตวรรษที่สามของยุคมุสลิม ชาวเปอร์เซียก็มีนักประวัติศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่อย่าง อัล-ตาบารี และเมื่อ 900 ปีที่แล้ว นักปราชญ์ชาวเปอร์เซีย อิบนุ มิซกะวัยฮ (Ibn Miskawayh) ได้จารึกสิ่งซึ่งถือว่าเป็นประวัติศาสตร์สากลเล่มแรกของโลกจากมุมมองทางปรัชญา

ไม่มีชนชาติใดในประวัติศาสตร์ อาจยกเว้นเพียงชาวญี่ปุ่น ที่มีกวีมากเท่าเปอร์เซีย โอมาร์ คัยยาม, ฮาเฟซ ซาอิด, รูมี และ แฟร์ดอว์ซี เป็นเพียงตัวอย่างของกวีชาวเปอร์เซียชื่อก้องโลก มหากาพย์ชอห์นอแมร์ Shahnameh หรือตำนานวีรกษัตริย์ของแฟร์ดอว์ซีเป็นหนึ่งในผลงานเอกของวรรณกรรมโลกซึ่งไมมีงานเขียนใดที่มีการประพันธ์ บรรยาย หรือนำเสนอ จะงดงามทัดเทียมมหากาพย์ Shahnameh ที่แสนพิเศษสุด ซึ่งได้รับการเก็บรักษาในพิพิธภัณฑ์หรือของสะสมส่วนบุคคล

ยังไม่ได้กล่าวถึงความรุ่งเรืองเฟื่องฟูของแพร์สโพลิส Persepolis โครงสร้างทางสถาปัตยกรรมอันยิ่งใหญ่ และภาพสลักอันมโหฬาร ยังไม่ได้กล่าวถึงภาพสลักหินของชาวเปอร์เซียจากสมัยพระเจ้าดารีอัสที่หนึ่งถึงชาปูร์ที่สอง และยังไม่ได้กล่าวถึงซากปรักที่หลงเหลือเพียงเสี้ยวของศิลปะแบบเปอร์เซียที่ชาวตุรกี ชาวมองโกล และกองทัพทาร์ทาร์ทิ้งไว้ ชาวเปอร์เซียปฏิบัติต่อผู้ยึดครองเหล่านี้เช่นเดียวกับที่ปฏิบัติต่อชาวอาหรับ เปอร์เซียเปลี่ยนผู้รุกรานจากทหารหาญให้เป็นศิลปิน

ชาวมองโกลผู้รุกรานย่ำยีความรุ่งเรืองเหลือไว้เพียงซาก ทำลายคลองส่งน้ำบำรุงผืนดิน กวาดล้างห้องสมุดที่หล่อเลี้ยงจิตวิญญาณของชาวเปอร์เซีย เปอร์เซียกลับตอบแทนการกระทำของผู้ทำลายด้วยการเปลี่ยนชาวมองโกล...เช่นเดียวกับผู้รุกรานกลุ่มอื่น...ให้เป็นผู้เต็มเปี่ยมไปด้วยความรักและผู้สรรสร้างงานศิลปะ

เมืองทาบริซ (Tabriz) ที่มั่งคั่งจากการค้าระหว่างแดนมองโกลทางตะวันออกกับหัวเมืองต่างๆ ของทะเลดำ เป็นไปได้ว่าชาวมองโกลใช้เส้นทางนี้นำศิลปะการพิมพ์จากจีนเข้ามา ทาบริซจึงพิมพ์ธนบัตรเองได้ในปี ค.ศ. 1294 คงไม่ต้องกล่าวถึงสุเหร่าอันยิ่งใหญ่มากมายที่สร้างขึ้นและถูกทำลายที่ทาบริซ จากการสังเกตการณ์อันโด่งดังที่ Maragha ใกล้ทาบริซ ที่ซึ่งในปี 1259 ฮูลากูข่าน (Hulagu)แนะนำนักดาราศาสตร์ชั้นนำชาวจีนให้โลกมุสลิมได้รู้จัก และเมืองมหาวิทยาลัยที่สร้างขึ้นบริเวณตอนใต้ของทาบริซ โดยนายกรัฐมนตรีผู้ยิ่งใหญ่ราชิด อัล-ดิน ในช่วงต้นศตวรรษที่ 14 ของคริสตกาล ทั้งยังเคยกล่าวไว้ว่า “ไม่มีการกระทำใดที่จะยอดเยี่ยมไปกว่าการสนับสนุนวิทยาศาสตร์และปรัชญา...เพื่อให้นักปราชญ์สามารถสร้างผลงานได้อย่างเต็มที่ปราศจากข้อจำกัดทางเศรษฐกิจ”

เธอเคยเห็นมุมนี้ของอิหร่านมั้ย ติดตามต่อไปนะ ว่าฉันจะหันมุมไหนของอิหร่านให้เธอมองอีก...

ถอดความจากบทความของ Will Durant โดยคำแนะนำของ Dr. Reza Rafaei

ศึกษาในเชิงลึกเกี่ยวกับประวัติการศึกษาอิสลามได้ที่นี่
หรือไปเที่ยวอิหร่านก็ลองดูข้อมูลจากเว็บนี้นะจ๊ะ

แพร์ซโพลิส (Persepolis) ฉายภาพอิหร่านในอดีต

บทความใน Guardian แสดงอีกแง่มุมหนึ่งของแพร์ซโพลิส (Persepolis)การตูนขาว-ดำ แสดงการมองโลกแบบขาว-ดำเช่นกัน แถมยังโยงไปได้ถึงเรื่องมุมมองของสองประธานาธิบดี: บุชและซาโคซีที่มีต่อประเทศอิหร่าน (แอบจับผิด หนังสือพิมพ์ดังของอังกฤษตั้งใจสะกดชื่อประธานาธิบดีฝรั่งเศสผิดรึเปล่าเนี่ย!! ทำให้ฉันถึงกับไม่แน่ใจตัวเองว่าเรียกผิดมาตลอด)ประเด็นที่แยกแยะระหว่างรัฐบาลกับคนในประเทศฉันว่าน่าสนใจ ที่สำคัญอิหร่านตอนนี้ไม่ได้เป็นเหมือนสมัยก่อน แต่ถ้าปิดกั้นเสรีภาพทางด้านความคิดและการแสดงออก อาจเป็นการแสดงโดยนัยว่ายังเหมือนเดิม

คนทั้งโลกเขารู้กันแล้วว่าเปลี่ยนไป แล้วใยจะประท้วงต่อต้านสิ่งที่ไม่ได้เป็นปัจจุบันเล่า

คนอิหร่านพูดถึงแพร์ซโพลิส (Persepolis) อย่างไร

เจดี ชาวอิหร่านเจ้าของบล้อกเขียนถึงหนังสือและหนังแพร์ซโพลิส (Persepolis) พร้อมทั้งให้ข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ในหนังสือ การได้รับฟังข้อมูลจากคนอิหร่านเองน่าจะสะท้อนอะไรได้ชัดเจนทีเดียว ฉันไม่ได้หมายความว่าให้เธอเชื่อ แค่ให้เธอพิจารณาข้อมูลดู แล้วถ้าฉันเจอข้อความโจมตีหนังสือและหนังเรื่องนี้ ฉันจะไม่รีรอที่จะนำมาโพสต์ที่นี่เลย เพราะฉันเชื่อในการเปิดกว้างทางความคิด ให้แต่ละคนใช้วิจารณญาณในการพิจารณาไตร่ตรองว่าควรเชื่อหรือไม่เชื่อสิ่งใด...ด้วยตัวเอง

วันจันทร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2551

Parking Toys



คลิก View the images หรือไม่ก็ Scroll down ไปดูท้ายหน้านี้นะจ๊ะ

งานหนัก...พักมันส์



คืนวันศุกร์ที่ 15 สิงหาคม เราประชุมกันแบบก่งก๊ง ณ Parking Toys สถานที่จัดงาน รวมพลคนอ่านและไม่อ่านงาน มูราคามิ ในวันจันทร์ จริงๆ แล้วเราไป survey สถานที่จัดงาน พบปะตัวจริงเสียงจริงของทีมงานนะ แต่แหม เราทำงานแบบไม่เคร่งเครียดก็ได้นินา หรือไม่จริง นี่ยังไม่ครบทีมนะ คืนวันจันทร์ถ้าไม่สลบหรือสนุกเกินไปจะมาอัพบล๊อกให้เห็นความเคลื่อนไหวจ้า

วันศุกร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ลอนดอนกับความลับในรอยจูบ

"การที่เราทั้งสองจะได้เป็นคู่รักกันหรือไม่ ไม่มีความสำคัญใดเลยเพราะผมได้พบกับคุณแล้วในชีวิตนี้และนั่น เป็นสิ่งที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ตลอดกาล...”
อนุสรณ์ ติปยานนท์

ฉันอ่านแล้วถูกใจเหลือแสนจากบล้อกนี้

เหตุผลที่ชอบ ด้วยรัก ความตาย และหัวใจสลาย

ฉันขอยกบทความจากเว็บของประพันธ์สาสน์มาไว้ที่นี่ ด้วยถูกใจอย่างยิ่ง คุณอนุสรณ์จะมาร่วมเสวนาในงาน รวมพลคนอ่านและไม่อ่านหนังสือมูราคามิด้วยนะ เผื่อบางคนไม่ทราบ Norwegian Wood คือชื่อภาษาอังกฤษของด้วยรัก ความตาย และหัวใจสลาย ที่ฉันเพิ่งคัดลอกบทความเกี่ยวกับหนังสือที่กำลังจะกลายเป็นหนังนั่นไง

อนุสรณ์ ติปยานนท์...“การอ่านคือการได้เดินทางในจินตนาการของคนอื่น”  โดย... วิรุฬหกกลับ     

อนุสรณ์ ติปยานนท์ เป็นคนที่อ่านหนังสือเยอะ เขาอ่านหนังสือหลายประเภทซึ่งเป็นวิธีการที่ทำให้มุมมองได้เห็นอะไรที่หลากหลาย  เขาบอกว่าการอ่านหนังสือเปรียบเสมือนการได้เดินทางร่วมกับจินตนาการของคนอื่น  สำหรับหนังสือในดวงใจของอนุสรณ์ ส่วนใหญ่จะหนักในหนังสือต่างประเทศ และนี้คือหนังสือเล่มโปรดของ อนุสรณ์ ติปยานนท์  พร้อมเหตุผลสั้นๆแต่กินความว่าทำไมเขาถึงชอบหนังสือเหล่านี้                

เล่มโปรดของผมก็มี
-   Newyork trilogy-paul auster ลึกลับอย่างยิ่ง
-   When we were orphan-kazuo ishiguro สะเทือนใจอย่างยิ่ง
-   Kiss of spider woman-manuel puig ชาญฉลาดอย่างยิ่ง
-   Norwegian wood –haruki murakami เซ็กซ์จัดอย่างยิ่ง
-   ถนนสายจรเข้-บรูโน ชูลซ์ ภาษาไพเราะอย่างยิ่ง

ที่มา http://www.praphansarn.com/new/c_link/detail.asp?ID=167

กว่าจะมีวันนี้

ฉันปลุกปล้ำกับพริ้นเตอร์ตัวใหม่อยู่หนึ่งอาทิตย์เต็มๆ กว่าจะลงไดรเวอร์ได้สำเร็จ แรกเริ่มเดิมทีลงโปรแกรมโดยใช้ Wizard ของ Windows แล้วก็ขึ้นหน้าจอ pop up ว่าให้ระบุที่อยู่ของไฟล์ PDL_Lang แล้วฉันจะรู้มั้ยเนี่ย เอาใหม่ ลองลงโปรแกรมจากแผ่นซีดีโดยตรง เอ้า เอากับเค้าสิ เกิด fatal error ถามไปทางบริการหลังการขายของพริ้นเตอร์ยี่ห้อนี้ ก็โต้ตอบอีเมลมา 5 วันเห็นจะได้ ลองแล้วทุกวิธี ไม่ว่าจะลบ Windows Installer แล้วลงใหม่ ดาวน์โหลดสารพัดโปรแกรมจากเว็บ บางโปรแกรมสองร้อยกว่าเมก ก็นั่งโหลดไปสิ แต่ทำอย่างไรก็ยังได้ผลเหมือนเดิม ฉันเสิร์จหาวิธีแก้ในเว็บ ได้วิธีของพริ้นเตอร์ยี่ห้อเดียวกันรุ่นอื่นมาลอง แต่ก็ไม่สำเร็จ ฉันเลยลองใหม่ ถ้าลง PC ไม่ได้ แล้ว Notebook น้องฟ้าล่ะ จะได้มั้ย

ท่ามกลางความแปลกใจอย่างล้นเหลือ ลงได้แฮะ เลยได้ฤกษ์ลองพิมพ์โปสเตอร์ออกมาดู สวยงามสมใจและการรอคอยที่เนิ่นนาน วันนี้ ได้คำแนะนำใหม่จากเอชพีให้สร้าง user account ใหม่แล้วลองลงโปรแกรมอีกครั้ง ก็ได้อีกเหมือนกันแฮะ เลยเขียนมาเล่าให้ฟังเผื่อว่าใครมีปัญหาลงไดรเวอร์ของ HP Offictjet K7100 เหมือนกันจะได้ไม่ต้องรอถึงหนึ่งอาทิตย์กว่าจะใช้งานได้ค่ะ

ด้วยความห่วงใยเพื่อนร่วมพริ้นเตอร์

ณัฐพัดชา

ด้วยรัก ความตาย และหัวใจสลาย...กำลังจะกลายเป็นหนัง


สรุปสั้นๆ (อีกแว้ว) ว่า Norwegian Wood กำลังจะถูกสร้างเป็นหนังฝีมือผู้กำกับชาวฝรั่งเศสที่เคยเข้าชิงรางวัลออสการ์ด้วยนะเธอ รายละเอียดฟุตฟิตฟอไฟไปนะ ข่าวตั้งแต่สิ้นเดือนกรกฏาคมนะจ๊ะ รีบหามาอ่านซะ แล้วจะทำให้อยากทำอะไรต่ออีกเยอะเลย แอบแพลมๆ มาว่า มีสารพัดเรื่องพิลึกกึกกือเลยสำหรับคนที่ได้อ่านหนังสือเล่มนี้แล้วน่ะ

Tran Anh Hung to work with 'Wood'
French-Vietnamese director to adapt novel
By MARK SCHILLING

TOKYO -- French-Vietnamese helmer Tran Anh Hung plans to make a pic based on "Norwegian Wood," the bestselling novel by Japanese scribe Haruki Murakami.
Fuji TV and Asmik Ace will jointly produce the Japanese-language pic. The cast has yet to be decided, but shooting is skedded to start in February in Japan for a 2010 release.

Tran won the Venice Golden Lion in 1995 for "Cyclo" and was Oscar-nommed for his 1993 debut feature "Scent of Green Papaya." His latest pic is the 2008 thriller "I Come With the Rain," starring Josh Hartnett, Elias Koteas, Lee Byung-hun, Takuya Kimura and Shawn Yue.

Published in Japan in 1987, "Norwegian Wood" depicts the loves and losses of a sensitive college boy in the 1960s who is more interested in American literature than in the era's political upheavals. The novel sold 8.7 million copies in Japan and has been translated into 36 languages.

Murakami has been reluctant to allow screen adaptations of his work, though he is reportedly enthusiastic about the choice of Tran for "Norwegian Wood."

In 2004 Jun Ichikawa helmed "Tony Takitani," a pic based on a Murakami short story that screened at fests around the world and was released in the U.S. in 2005.

Source: http://www.variety.com/article/VR1117989904.html?categoryid=13&cs=1&nid=2562

วันอังคารที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ปัญหาก็อยู่ไป สอนให้ลงบัญชีดีกว่า

วันนี้ดีใจ ได้อีเมลตอบกลับจากทีมของพริ้นเตอร์ยี่ห้อที่ฉันซื้อ ตามคำแนะนำ ฉันต้อง unregister โปรแกรม Windows Installer โดย run คำสั่ง msixec/unregister แต่มันคงยังไม่ถึงเวลาที่ฉันจะใช้งานพริ้นเตอร์เครื่องนี้ได้ ลองแล้วทุกแง่ทุกมุมก็ยังใช้ไม่ได้เหมือนเดิม

เลิก

จะไปซีเรียสกับมันทำไม

นั่งทำบัญชีรายรับรายจ่าย แหม ได้ฟื้นความรู้สมัยเรียนบัญชีเมื่อเกือบยี่สิบปีที่แล้ว (นานเหมือนกันนะเนี่ย ไม่แก่จะทนไหวหรือนั่น) ไอ้การที่อยากจะบันทึกให้ละเอียดยิบย่อย จะได้รู้ว่าหนังสือแต่ละเล่มมีต้นทุนเท่าใด อะไรที่ฉันจะจัดสรรปันส่วนให้เป็นต้นทุนตามหลักความเป็นจริง แทนที่จะใช้วิธีเฉลี่ยต้นทุน ก็ทำให้การขายหนังสือราคา 500 บาท วุ่นวายมิใช่น้อย เพราะราคา 500 บาทที่ว่าเป็นราคาที่ลดแล้ว 15% แถมเอาใจลูกค้าที่ซื้อทั้งคอลเลคชั่นเป็นพิเศษโดยการลดเพิ่มให้เป็นตัวเลขกลมๆ ง่ายๆ ใบม่วงใบเดียว สำหรับท่านที่อุดหนุนหนังสือของสำนักพิมพ์ทั้ง 7 เล่มที่พิมพ์ในปีแรกของการดำเนินงาน เราก็ใจป้ำสุดๆ ลดให้อีก เหลือจ่ายธนบัตรใบเดียวเช่นกัน 1000 บาท ซึ่งรวมหนังสือ 2 เล่มในชุดแพร์ซโพลิสที่กำลังจะวางแผงในวันครบรอบตึกเวิร์ดเทรดถล่มด้วย เมื่อคิดเฉลี่ยราคาขายเป็นรายเล่มก็ทำให้งงมิใช่น้อย เพราะมีลดไป 15% แล้วยังต้องแบ่งส่วนเฉลี่ยที่ลดราคาจนเหลือ 500 บาทไปให้แต่ละเล่มด้วย เขียนแบบนี้ ฉันว่าคงงงกันแย่ ขออนุญาตชี้แจงแถลงไขการลงบัญชีราคาขายหนังสือ เผื่อจะทำให้ผู้สนใจสั่งซื้อหนังสือกับเราเป็นชุด เพราะลดจริงๆ แถมโปสเตอร์แผ่นใหญ่อีกต่างหาก

ราคาเต็มของหนังสือ

ราตรีมหัศจรรย์ 180 บาท
แกะรอย แกะดาว (ของจริงต้องวรรคนะจ๊ะ) 220 บาท
ด้วยรัก ความตาย และหัวใจสลาย 250 บาท
รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 650 บาท

หากซื้อตั้งแต่ 1 เล่มขึ้นไป ลด 15% แต่ถ้าซื้อครบสามเล่มลดเหลือ 500 บาท

ราคาลด 15%

ราตรีมหัศจรรย์ 153 บาท
แกะรอย แกะดาว 187 บาท
ด้วยรัก ความตาย และหัวใจสลาย 212 บาท
ราคารวมกรณีซื้อแยก 552 บาท

หากซื้อทั้งสามเล่ม ลดเหลือ 500 บาท

คิดเป็นราคาขายแต่ละเล่ม
ด้งนี้

นำส่วนลดเพิ่มเติม 52 บาท มาเฉลี่ยให้แต่ละเล่มตามสัดส่วนราคาขาย

ราตรีมหัศจรรย์ 153-(52*180/650) = 138* บาท
แกะรอย แกะดาว 187-(52*220/650) = 169* บาท
ด้วยรัก ความตาย และหัวใจสลาย 212-(52*250/650) = 193* บาท

*(ปัดเศษเพื่อให้ง่ายต่อการคำนวณ)

คราวนี้เห็นรึยังจ๊ะว่ามีราคาที่เกี่ยวข้องถึง 3 ราคา ถ้ามีใครเหมาซื้อทั้งเจ็ดเล่มในราคา 1000 บาทก็ต้องมาเฉลี่ยส่วนลดกันอีกที

เวลาลงบัญชีเมื่อมีคนโอนเงินเข้ามาสั่งซื้อทั้งชุด ก็ตามนี้เลยจ๊ะ


เดบิต เงินฝากธนาคาร 500
เครดิต รายได้ค่าขาย-ราตรีมหัศจรรย์ 138
เครดิต รายได้ค่าขาย-แกะรอย แกะดาว 169
เครดิต รายได้ค่าขาย-ด้วยรัก ความตาย และหัวใจสลาย 193
บันทึกรายการขายหนังสือชุดมูราคามิให้คุณกำมะหยี่

วันอาทิตย์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2551

โจโจ้ซัง



Sukiyaki - Nat Tol
เป็นละครเวทีไทยที่เพอร์เฟคที่สุดเท่าที่ฉันเคยดู ฉันไม่ต้องการจะนำผลงานของไทยไปเปรียบกับผลงานอมตะอย่าง Phantom of the Opera ที่ทำให้ฉันร้องไห้เป็นเผาเต่าทั้งที่ภาษาอังกฤษไม่ได้กระดิกสักกี่ตัว (แม้จะเรียนจนจบปริญญาโทก่อนดูละครบรอดเวย์เรื่องนี้แล้วก็ตาม) แต่ฉันว่าผลงานของคนไทยไม่น่าเชื่อว่าจะทำได้ดีถึงขนาดนี้ กว่าฉันจะพูดคำๆ นี้ได้ ไม่ง่ายหรอกนะเธอ แต่ฉันนับถือทีมงานของ True Fantasia ในหลายๆ ครั้งที่ดู AF ฉันไม่ได้หมายความว่าผลงานของ True เลิศเลอเพอร์เฟค เพราะมันไม่ได้เป็นเช่นนั้น แต่ทุกครั้งที่ฉันดูการแข่งขันทุกคืนวันเสาร์ ฉันเห็นเขาแก้ปัญหา ข้อเสีย ความบกพร่องที่ทำได้ไม่ดีในอาทิตย์ก่อนๆ ได้เสมอ เพราะฉะนั้น การทำงานที่มีพัฒนาการดีเยี่ยมเช่นนี้สำหรับคนไทยเป็นนิมิตหมายที่ดีอย่างที่สุด งานที่มีคุณภาพได้รับการยอมรับ ทำให้คนทำงานมีไฟที่จะผลิตผลงานดีๆ ไม่ใช่ผลิตแต่ผลงานที่ขายหน้าตานักแสดง

ฉันชอบณัฐและพัดชาเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว (ไม่งั้นจะเอามาตั้งชื่อตัวเองเหรอ!) เสียงของลูกโป่งก็กินขาดแบบไม่มีใครเทียม True Fantasia ทำอะไรได้ลงตัวอย่างที่ฉันขอยกนิ้วให้ ในเรื่องมีฉากที่เมียทั้งสองของพระเอกจะต้องประชันกัน ถ้าเลือกคนที่เสียงสู้กันไม่ได้ ฉากนั้นจะกร่อยทันที แม้พัดชาจะได้แสดงน้อยเมื่อเทียบกับคุณภาพเสียงที่ล้นปรี่ แต่แค่ฉาก "ปะทะ" ฉากเดียวก็คุ้มค่าตั๋วอย่างยิ่งยวดแล้วละเธอ เนื้อและทำนองเพลงทำได้ดีมาก ท่อนประสาน จากตอนต้นที่เคทมาหาโจโจ้ซังด้วยต้องการจะมาเอาลูกของสามีกลับไปเลี้ยงที่อเมริกา เธอดูถูกเหยียดหยามสารพัด แต่แล้วเพลงก็บอกเล่าเรื่องราวความเป็นมาจนเคทเข้าใจในที่สุดว่าเข็มกลัดผี้เสื้อที่เธอได้รับจากสามีเป็นสัญลักษณ์ของรักนิรันดร์หาใช่สำหรับเธอไม่ เป็นเพียงตัวแทนให้ระลึกถึงผีเสื้อแห่งนางาซากิ....จะเป็นใครไปไม่ได้นอกจาก...โจโจ้ซัง

ทันที่ที่เคทได้เห็นปิ่นปักผมรูปผีเสื้อ (ปิ่นที่ชนะใจโจโจ้ซัง ชนะแหวนของราชวงค์ที่เจ้าชายยามาโตรินำมาประมูลในวันที่โจโจ้ซังต้องเลือกผู้อุปถัมภ์)เคทก็เพิ่งรู้ว่าเธอไม่เคยเป็นผู้หญิงในใจของสามีเธอเลย แต่ในโลกของเหตุผล เธอก็ใช้เหตุผลพูดจนโจโจ้ซังยอมยกลูกให้และแก้ปัญหาทั้งหมดที่เกิดขึ้นโดยการทำฮาราคีรี ฉากที่สองสาวประชันกันเป็นฉากที่ฉันประทับใจเหลือเกิน

แต่ฉันร้องไห้ตั้งแต่ก่อนหน้านั้นแล้วนะเธอ ฉันร้องไห้ตั้งแต่ฉากที่โจโจ้ซังแต่งงานกับพิงเคอร์ตัน แทนที่จะเป็นฉากที่รื่นเริงสุขสม ความทุกข์ในใจของเจ้าชายที่พ่ายรักกลับท่วมท้นในใจฉันอย่างที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ การเคลื่อนไหวเพียงนิดเดียว การสาวเท้า เหลียวหันมอง บ่งบอกความรู้สึกได้รุนแรง กระแทกกระทั้นยิ่งกว่าการกระทำอย่างโจ่งแจ้งเป็นไหนๆ เจ้าชายทำได้เพียงเท่านั้น

อีกฉากที่เจ้าชายมาหาโจโจ้ซังที่ยังคงรอคอยการกลับมาของพิงเคอร์ตันอย่างมั่นคง เป็นวันก่อนวันแต่งงาน (ตามหน้าที่)ของเจ้าชาย เจ้าชายขอใช้ความพยายามสุดท้ายโดยหวังว่าจะเปลี่ยนใจให้โจโจ้ซังหันมาเลือกตนคนที่จะดูแลทนุถนอมดอกไม้งามตลอดไป แต่โจโจ้ซังเลือกยึดมั่นในคำสัญญากับสามี แม้เจ้าชายจะคุกเข่าก้มลง
หัวจรดพี้นเพื่อรักยิ่งใหญ่ครั้งนี้ โจโจ้ซังซาบซึ้งในความรักที่มีก้มลงคุกเข่าก้มหน้าจรดพื้นเช่นกันเพื่อแสดงการปฏิเสธอย่างนุ่มนวลที่สุดของเธอ ฉากนี้เป็นฉากที่เจ้าชายผู้สูงศักดิ์แต่มีใจรักอันยิ่งใหญ่ ยอมทุ่มเททุกสิ่งทุกอย่างเพื่อนางอันเป็นที่รักโดยไม่แคร์ว่าเธอมีลูกและสามีแล้ว และเจ้าชายก็กล่าวคำว่า "ลาก่อน" ตัดใจตัดสายสัมพันธ์เพื่อหน้าที่ของสามีของหญิงที่กำลังก้าวเข้ามาในชีวิต

ฉันว่าฉันไม่ได้อินกับบทเจ้าชายเพราะคนแสดงเป็นหลานฉันหรอกนะ ฉันว่าหลานฉันแสดงดีจริงๆ เป็นการแสดงที่มีพลังอย่างประหลาด

ที่ฉันชม True Fantasia หนักหนาก็เพราะความลงตัวของละครเรื่องนี้ในทุกๆ แง่ ทุกๆ ด้าน การทำให้ผู้ชมเข้าใกล้ตัวละครมากขึ้นโดยการที่ตัวแสดงเดินเข้าข้างๆ ผู้ชม มีการทักทายผู้คนที่เดินผ่าน การที่เอามุขตลกของ AF มาใช้ในเรื่อง ทำให้คนดูอารมณ์ดี หรือแม้แต่ตอนจบที่เศร้า แต่ให้ความหวังว่าในชาติปัจจุบันพระเอกกับนางเอกอาจจะได้สมรักกันในที่สุด ลูกของโจโจ้ซังที่น่ารักก็มีเสน่ห์ทำให้พี่ป้าน้าอาทั้งหลายเทใจไปให้เรียบร้อยแล้ว เอาเป็นว่าฉันยังติละครเรื่องนี้ไม่ได้เลยละกัน

ออฟ AF 2 แม้จะไม่ได้บทเป็นพระเอก แต่บทที่ได้รับก็เด่นไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าใคร เหมาะกับออฟมากและทำให้มีโอกาสได้แสดงความสามารถหลากหลายทั้งเป็นนายหน้าบ้าเงินและชายแก่ที่เล่าเรื่องทั้งหมด

ละครเรื่องนี้ ไม่ทำให้ใครเด่นเกิน ไม่ทำให้แฟนของ AF คนไหนรู้สึกว่าคนที่ตนชื่นชอบต้องตกเป็นรองใคร แม้แต่การแสดงที่มีนักแสดงสองชุด ฉันถือว่าชุดที่ดูเหมือนว่าจะเป็นชุดหลักกลับไม่ได้รับการโปรโมทเหมือนเป็นตังแสดงหลัก กลับดึงการแสดงของอีกชุดที่ด้อยกว่าให้มาอยู่ข้างหน้า เพื่อให้ภาพรวมไม่โดด ไม่เหมือนละครเวทีบางเรื่องที่ความสามารถของตัวแสดงนำโดดเด่นแตกต่างจากนักแสดงที่เหลือจนทำให้ภาพรวมของละครไม่ดีเท่าที่ควร หรือการที่มีบทพระเอกสองคนก็ทำให้รู้ว่าคนไหนคือตัวจริง คนไหนคือตัวสำรอง

ขอยกย่องว่า True Fantasia คิดรอบคลอบคลุมเรื่องเล็กน้อยต่างๆ ได้ครบถ้วย การทำมิวสิควิดีโอของละครเพลงเรื่องนี้ก็เป็นการโปรโมทที่ดีมากๆ ใจฉันยังอยากให้ทำเทปให้ศิลปินได้มาตรฐานดีอย่างนี้ด้วยเลย ชอบจริงๆ ค่ะ โจโจ้ซังเวอร์ชั่นนี้ เป็นความลงตัวยิ่งกว่า ณัฐพัดชา ซะอีกนะเนี่ย

วันพฤหัสบดีที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2551

วันพุธที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2551

Gamme Magie Grand Opening 18 Aug 08




ทางไปร้าน Parking Toys จำไว้ให้มั่น!

จากวิภาวดีเลี้ยวขวาที่แยกเกษตร ตรงไปเรื่อยๆ ข้ามแยกที่ตัดกับพหลโยธินเจอแยกร้านตำนัว ตรงไป

แยกสอง แยกร้าน The Pool ให้ชิดซ้าย พอข้ามแยกนี้ไปจะมีทางเบี่ยงซ้าย เข้า Neverland

ร้านจะอยู่ตรงทางเบี่ยงเลย (ระวังนิดนะคะ จะเลยเอาได้ง่ายๆ )

วันจันทร์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2551

เรื่องของคนรักหนังสือ

84 Charing Cross Road

ฉันได้เห็นและได้พิมพ์ชื่อที่อยู่นี้มาแล้วหลายครั้ง แต่ไม่เคยฉุกคิดเลยว่ามันเป็นเลขที่และชื่อถนน ไม่น่าเชื่อว่าอะไรที่มันอยู่ตรงหน้า แต่กลับไม่ได้รู้ว่ามันคืออะไร ทั้งๆ ที่มันดูง่ายซะเหลือเกิน

ฉันแค่คิดว่า ถ้าฉันรู้จักหนังสือต่างๆ ที่กล่าวถึงในหนังเรื่องเดียวกับชื่อหนังสือ ฉันคงจะอินยิ่งไปกว่านี้ แต่แค่นี้ก็ทำให้ฉันน้ำตาตกไปเรียบร้อยแล้ว ปกติฉันจะซื้อหนังสือใหม่เอี่ยม ไม่เคยมีใครอ่านมาก่อน ในขณะที่นางเอกของเรื่องจะซื้อหนังสือก็ต่อเมื่อเคยอ่านแล้วเท่านั้น แล้วฉันก็ต้องมีอันได้ซื้อหนังสือเก่ามาอ่านโดยไม่ได้คิดมาก่อน ฉันได้รับหนังสือที่ห่อมาในกล่องอย่างดีจากร้านหนังสือเก่าที่สามารถสั่งซื้อได้ผ่านอินเทอร์เน็ต เป็นร้านที่คอหนังสือเก่าต้องรู้จักแน่ๆ ฉันเปิดกล่องที่บรรจุหนังสือออกมา เห็นหนังสือในห่อกระดาษสีน้ำตาลวางอยู่บนกระดาษสีชมพูที่ตัดเป็นฝอยเล็กๆ เหมือนผ่านเครื่องทำลายกระดาษมายังไงอย่างนั้น เปิดห่อกระดาษสีน้ำตาลก็จะเจอหนังสือที่สั่ง แต่ละเล่มห่อด้วยพลาสติกอย่างดีและประณีต ประณีตตั้งแต่กล่องพัสดุที่ส่งมาจนถึงหนังสือที่ได้รับ ฉันรู้สึกได้ถึงความรัก ความใส่ใจของคนที่ห่อและส่งหนังสือนี้มาให้ฉัน ความรู้สึกอบอุ่นที่แผ่มาจากหนังสือของคนที่ชอบอะไรเหมือนๆ กัน ซึ่งไม่ต่างจากที่ฉันรับรู้ได้จากพระเอกและนางเอกของหนังที่เพิ่งดูจบไปเรื่องนี้

คนพูดจาภาษาเดียวกัน ชอบอะไรเหมือนๆ กัน ไม่เคยพบเจอกันหรือมีความสัมพันธ์นอกลู่นอกทาง เป็นความรู้สึกที่สูงส่ง บริสุทธิ์ และจะสัมผัสได้โดยคนที่สามารถเข้าถึงเท่านั้น ไม่มีการส่งผ่านความรู้สึกด้วยคำพูดที่จะทำให้ชีวิตครอบครัวร้าวฉาน แต่รู้สึกได้ถึงความรัก ความผูกพันที่มีให้กันโดยปราศจากเงื่อนไข เหมือนมีเพื่อน มีที่พึ่ง มีคนสำคัญอยู่ในใจเสมอมา ถ้าฉันเป็นภรรยาของพระเอกก็คงรู้สึกไม่ต่างจากเธอคนนั้นหรอก ครอบตัวแต่ไม่ได้ครองใจ

ของแบบนี้ฉันก็ไม่เรียกชู้ทางใจให้ความงดงามเสื่อมสลายไปหรอกนะเธอ น้ำใจของคนที่รักหนังสือเป็นโลกที่ฉันเพิ่งสัมผัสได้ไม่นาน เป็นโลกที่น่าอยู่จริงๆ

วันอาทิตย์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2551

My Sky Garden

เธอเปิดทั้งไฟล์เสียงเพลงและไฟล์ภาพนะ วันนี้ฉันเพิ่งซื้อกล้องมาเลยได้ฤกษ์ถ่ายสวนมาให้ดูจ้า