วันศุกร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2551
ความเห็นผู้อ่านแพร์ซโพลิส Feedback from Persepolis Readers
อีเมลจากผู้อ่านเป็นกำลังใจที่ดีที่สุดสำหรับคนที่นำเสนอผลงาน ผู้อ่านหนังสือที่ฉันแปล ส่งข้อความด้วยใจมาว่า ชอบที่ฉันไม่ได้ถอดเสียงคำอ่านชื่อของผู้เขียนเหมือนกับที่อ่านกันในภาษาอังกฤษ ว่า มาร์จาน (Marjane) ก็เพราะฉันยึดตามเพื่อนชาวอิหร่านที่น่ารักที่สุด เมื่อใดที่ขอความช่วยเหลือเรื่องการออกเสียงให้ถูกต้องตามแบบที่คนอิหร่านพูดกัน เขาคนนั้นไม่เคยอิดออดช่วยเหลือฉันเป็นอย่างดี แล้วฉันก็เขียนคำอ่านภาษาไทยของชื่อผู้เขียนว่า มาร์จอเน่ แบบที่ต้องมานั่งตกลงกับบรรณาธิการและพิสูจน์อักษรว่า ฉันจะเก็บไม้เอกไว้อย่างนี้ล่ะ ก็ต้องคอยแก้กันเพราะเราก็แปลแล้วก็อ่านไปตามประสา ก่อนที่จะมาสอบถามการออกเสียงที่ถูกต้องจากเจ้าของภาษา
อีกหนึ่งความประทับใจจากพนักงานในร้านประจำของฉันที่นำนิยายภาพเรื่องนี้ไปอ่านระหว่างทางกลับบ้าน และอ่านซ้ำถึงสองรอบ พร้อมกับเล่าให้ฉันฟังถึงความสนใจเกี่ยวกับเรื่องสินสอดที่ต้องให้กับครอบครัวของผู้หญิงก่อนที่จะฆ่า ฟังแล้วอาจจะงง ก็ถือว่าเป็นการพยายามพูดให้ไปซื้อหนังสือมาอ่านแล้วกันนะคะ 555
วันนี้ระหว่างที่ฉันนั่งรอผู้ร่วมใช้แรงงานแบกหามหนังสือ ก็ได้พูดคุยกับรปภ. ซึ่งเคยอ่านมินิบุคแพร์ซโพลิสแล้ว เขาถามถึงหนังสือภาคสอง โดยเข้าใจว่า 10 หน้าที่เขาได้อ่านจากมินิบุคเป็นเล่มแรก ฉันเลยชี้แจงแถลงไขให้ฟังว่านั่นเป็นเพียงตัวอย่างค่ะ เล่มหนึ่งกับเล่มสองก็เลยเดินทางจากรถของฉันมาเป็นหนังสือที่มอบให้อ่านสำหรับส่วนกลาง แค่อ่านไป 10 หน้า รปภ.คนฉลาดก็บอกถึงความคล้ายคลึงกับชีวิตของเขามาให้ฉันฟังเรียบร้อย ชีวิตที่ถูกกดดัน และเรื่อยจนถึงประวัติความเป็นมาตั้งแต่เด็กจนหนีแม่มาเผชิญชีวิตด้วยตนเองในกรุงเทพตั้งแต่อายุ 13 ปี พอฉันขออนุญาตนำเรื่องของเขามาเขียน เขาก็ไม่ใคร่จะเต็มใจนัก ฉันเลยขอเล่าให้ฟังเพียงแค่นี้แล้วกันนะ ระหว่างนั้นเองมีสาวน้อยในชุดนักศึกษาเดินมาที่ Reception เห็นหนังสือสองเล่มที่ฉันเอามาให้อ่านกันฟรีๆ เธอตัดสินใจซื้อทันทีเพราะเคยได้อ่านมินิบุคที่ฉันนำมาวางให้หยิบอ่านแล้ว เธอถามว่าหนังสือออกเมื่อไหร่ ฉันก็ว่าออกแล้ว ถ้าจะมีใครอยากได้อีกก็ติดต่อได้เลยนะคะ แถมเขียนเว็บบล้อกนี้ให้เธอไว้ด้วยเผื่ออยากทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแพร์ซโพลิสและอิหร่าน
เมื่อวานไปกินข้าวกับเพื่อนสมัยเรียนมหาวิทยาลัย แม้เพื่อนฉันจะรอ (ถูกฉันบังคับให้)ซื้อจากฉัน แต่ก็ได้ความว่าเธอๆ ช่วยฉันโดยการฟอร์เวิร์ดอีเมลไปยังคนที่ชอบอ่านหนังสือและคนที่อ่านแล้วก็บอกว่ามันเป็นหนังสือที่ดี จะมีใครปลื้มไปกว่าฉันเป็นไม่มี
ไปแอบดูว่าที่ Thailand Book Tower จัดวางหนังสือฉัน ณ ที่ใด แม้จะอยู่ในกลุ่มเดียวกับหนังสือประเภทที่ไม่ตรงใจฉันนัก แต่ก็โดดเด่นเป็นสง่า เดินเข้าไปก็เห็นทันที จะไปคาดหวังอะไรนักหนา ได้แค่นี้ก็ดีแล้ว (เนอะ)
วันนี้ไปรับหนังสือเพื่อนำมาขายในงานมหกรรมเห็นสต๊อกหนังสือของสายส่งมากมายเต็มไปหมด หนังสือฉันเป็นเหมือนเม็ดทรายในมหาสมุทร ต้องขอบคุณคุณอาร์ทที่ออกแบบปกให้ได้น่าสนใจ แตกต่างจากหนังสือเล่มอื่นๆ หาง่าย คราวนี้พอฉันตัดสินใจทำหนังสือของคุณมาร์จอเน่เล่มต่อๆ ไป ฉันเลยบอกคุณอาร์ทล่วงหน้าว่า ช่วยคิดหน้าปกของหนังสือเล่มต่อไปด้วยเลยนะคะ ความหมายและเรื่องราวแรงแบบแตกต่างจริงๆ ประมาณว่าพ่อแม่ของณัฐพัดชาต้องอ้าปากหวออีกตามเคย
แปลไปได้ครึ่งเล่มแล้วค่ะ จะรีบดูแลให้หนังสือลงสู่แผงด้วยคุณภาพแน่นปึก ตามไปดูทุกขั้นตอนเหมือนเคยค่ะ
ขอบคุณสำหรับกำลังใจ แม้เพียงไม่กี่อักษรหรือคำพูดไม่กี่คำ แต่มันทำให้หัวใจของณัฐพัดชาพองโตแต่ไม่ถึงกับปริแตกค่ะ พองกำลังตึงๆ ไม่หย่อนไม่ยาน 55
อีกหนึ่งความประทับใจจากพนักงานในร้านประจำของฉันที่นำนิยายภาพเรื่องนี้ไปอ่านระหว่างทางกลับบ้าน และอ่านซ้ำถึงสองรอบ พร้อมกับเล่าให้ฉันฟังถึงความสนใจเกี่ยวกับเรื่องสินสอดที่ต้องให้กับครอบครัวของผู้หญิงก่อนที่จะฆ่า ฟังแล้วอาจจะงง ก็ถือว่าเป็นการพยายามพูดให้ไปซื้อหนังสือมาอ่านแล้วกันนะคะ 555
วันนี้ระหว่างที่ฉันนั่งรอผู้ร่วมใช้แรงงานแบกหามหนังสือ ก็ได้พูดคุยกับรปภ. ซึ่งเคยอ่านมินิบุคแพร์ซโพลิสแล้ว เขาถามถึงหนังสือภาคสอง โดยเข้าใจว่า 10 หน้าที่เขาได้อ่านจากมินิบุคเป็นเล่มแรก ฉันเลยชี้แจงแถลงไขให้ฟังว่านั่นเป็นเพียงตัวอย่างค่ะ เล่มหนึ่งกับเล่มสองก็เลยเดินทางจากรถของฉันมาเป็นหนังสือที่มอบให้อ่านสำหรับส่วนกลาง แค่อ่านไป 10 หน้า รปภ.คนฉลาดก็บอกถึงความคล้ายคลึงกับชีวิตของเขามาให้ฉันฟังเรียบร้อย ชีวิตที่ถูกกดดัน และเรื่อยจนถึงประวัติความเป็นมาตั้งแต่เด็กจนหนีแม่มาเผชิญชีวิตด้วยตนเองในกรุงเทพตั้งแต่อายุ 13 ปี พอฉันขออนุญาตนำเรื่องของเขามาเขียน เขาก็ไม่ใคร่จะเต็มใจนัก ฉันเลยขอเล่าให้ฟังเพียงแค่นี้แล้วกันนะ ระหว่างนั้นเองมีสาวน้อยในชุดนักศึกษาเดินมาที่ Reception เห็นหนังสือสองเล่มที่ฉันเอามาให้อ่านกันฟรีๆ เธอตัดสินใจซื้อทันทีเพราะเคยได้อ่านมินิบุคที่ฉันนำมาวางให้หยิบอ่านแล้ว เธอถามว่าหนังสือออกเมื่อไหร่ ฉันก็ว่าออกแล้ว ถ้าจะมีใครอยากได้อีกก็ติดต่อได้เลยนะคะ แถมเขียนเว็บบล้อกนี้ให้เธอไว้ด้วยเผื่ออยากทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแพร์ซโพลิสและอิหร่าน
เมื่อวานไปกินข้าวกับเพื่อนสมัยเรียนมหาวิทยาลัย แม้เพื่อนฉันจะรอ (ถูกฉันบังคับให้)ซื้อจากฉัน แต่ก็ได้ความว่าเธอๆ ช่วยฉันโดยการฟอร์เวิร์ดอีเมลไปยังคนที่ชอบอ่านหนังสือและคนที่อ่านแล้วก็บอกว่ามันเป็นหนังสือที่ดี จะมีใครปลื้มไปกว่าฉันเป็นไม่มี
ไปแอบดูว่าที่ Thailand Book Tower จัดวางหนังสือฉัน ณ ที่ใด แม้จะอยู่ในกลุ่มเดียวกับหนังสือประเภทที่ไม่ตรงใจฉันนัก แต่ก็โดดเด่นเป็นสง่า เดินเข้าไปก็เห็นทันที จะไปคาดหวังอะไรนักหนา ได้แค่นี้ก็ดีแล้ว (เนอะ)
วันนี้ไปรับหนังสือเพื่อนำมาขายในงานมหกรรมเห็นสต๊อกหนังสือของสายส่งมากมายเต็มไปหมด หนังสือฉันเป็นเหมือนเม็ดทรายในมหาสมุทร ต้องขอบคุณคุณอาร์ทที่ออกแบบปกให้ได้น่าสนใจ แตกต่างจากหนังสือเล่มอื่นๆ หาง่าย คราวนี้พอฉันตัดสินใจทำหนังสือของคุณมาร์จอเน่เล่มต่อๆ ไป ฉันเลยบอกคุณอาร์ทล่วงหน้าว่า ช่วยคิดหน้าปกของหนังสือเล่มต่อไปด้วยเลยนะคะ ความหมายและเรื่องราวแรงแบบแตกต่างจริงๆ ประมาณว่าพ่อแม่ของณัฐพัดชาต้องอ้าปากหวออีกตามเคย
แปลไปได้ครึ่งเล่มแล้วค่ะ จะรีบดูแลให้หนังสือลงสู่แผงด้วยคุณภาพแน่นปึก ตามไปดูทุกขั้นตอนเหมือนเคยค่ะ
ขอบคุณสำหรับกำลังใจ แม้เพียงไม่กี่อักษรหรือคำพูดไม่กี่คำ แต่มันทำให้หัวใจของณัฐพัดชาพองโตแต่ไม่ถึงกับปริแตกค่ะ พองกำลังตึงๆ ไม่หย่อนไม่ยาน 55
ป้ายกำกับ:
ณัฐพัดชา,
แพร์ซโพลิส,
มาร์จอเน่ ซาทราพิ,
Marjane Satrapi,
Persepolis
วันอาทิตย์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2551
Nat: The Real Entertainer
เสียดายจัง รูปคราวนี้ฉันถ่ายไม่ค่อยชัดเลย แถมแบตก็ใกล้หมด ให้มันได้อย่างงี้สิน่า เมื่อไหร่ต้องการใช้ ไม่ว่าโทรศัพท์มือถือหรือกล้องต้องแบตหมดทุกครั้ง ให้ตายเถอะ
เป็นครั้งแรกที่ฉันไปดูคอนเสิร์ตที่ Karafun แถวสี่แยกเหม่งจ๋าย นาน น๊านที ที่ฉันจะไปต่างถิ่น ปกติฉันก็จะไปแฮงค์อยู่ที่เดิมตลอด 10 ปีได้แล้ว บางคนก็ว่า ทำไมไม่เปลี่ยนบรรยากาศไปที่อื่นบ้าง คนเราถ้าสบายใจหรือชอบอะไรแล้ว จะยังต้องไปไขว่คว้า ค้นหาอยู่มั้ยนั่น ที่ยังต้องเปลี่ยนที่แสดงว่าเป็นคนขี้เบื่อหรือไม่ก็ยังไม่เจออะไรที่ถูกใจ ว่าแต่ไอ้คนขี้เบื่อนั่นน่ะ เพราะสถานที่เดิมๆ มันไม่มีอะไรน่าตื่นเต้นจริงๆ หรือเขาเหล่านั้นมองดูอะไรเพียงผิวเผิน ถ้ามองอะไรให้ลึก สิ่งที่ดูเหมือนจะเดิมๆ ก็มีอะไรลึกๆ ที่แตกต่างนะ จะบอกให้ ฉันเองก็เป็นคนขี้เบื่อ ทำไมฉันไม่เบื่อร้านประจำของฉันหว่า
เข้าเรื่องดีกว่า อ้อมไปไกลแล้วเนี่ย ระหว่างหม่ำChip จิ้ม Guacamole (สะกดอาหารโปรดถูกรึเปล่าเนี่ย) ก็อัพบล้อกไปด้วยค่ะ ฉันไม่คาดคิดหรอกว่า หลานฉันจะมีแฟนๆ มากมายขนาดนี้ แล้วด้วยความที่ไม่ได้ดูคอนเสิร์ตของหลานมานาน ก็เลยเห็นพัฒนาการได้อย่างชัดเจน ปกติเวลาเรามองคน บางคนมองว่าใครเก่ง ไม่เก่ง แต่ฉันว่าคนที่มีพัฒนาการ มีความเปลี่ยนแปลงน่าจะเป็นที่น่ายินดีมากกว่า อีกทั้งถ้าพื้นเดิมก็ดีอยู่แล้ว ยิ่งไปโลดเลยคราวนี้
คอนเสิร์ตคราวนี้สนุก ทำให้คนเส้นลึกอย่างฉัน ขำได้เรื่อยๆ คุณภูษิต ไล้ทองก็ยังไว้ลายความเก๋า เข้ากับเด็กรุ่นหลานได้เป็นอย่างดี การร้องเพลงและเป่าแซกร่วมกันทำให้ฉันหา Generation Gap ไม่เจอ ติดใจหลานร้อง Fly me to the moon จนรู้สึกว่าถึงเวลาที่ฉันจะต้องหัดร้องเพลงนี้ซะทีแล้ว เพลงนี้มันวนเวียนเกี่ยวข้องกันฉันมาหลายครั้งหลายหนซะจนฉันก็นั่งคิดๆ แล้วก็คุยกับตัวเองว่า ทำไมมันถึงได้เกี่ยวกับฉันนักนะเพลงนี้น่ะ
นัทร้อง Playgirl ที่เป็นเวอร์ชั่น Playboy ด้วย ฉันก็กำลังหัดเพลงนี้อยู่เหมือนกัน พอฟังนัทร้องแล้วฉันเลยต้องมาหัดร้องให้เป็นเรื่องเป็นราวอีกครั้ง
ฉันตั้งใจดูคอนเสิร์ต คล้ายจะต้องการศึกษาและวิเคราะห์อะไรๆ แฟนคลับนัทเป็นแฟนคลับที่เรียบร้อยมากและอยู่ในระเบียบ ปฏิบัติตามที่นัทขอความร่วมมือทุกอย่าง ไม่มีการมายืนเย้วๆ หน้าเวที ทุกคนนั่งเรียบร้อย พอถึงเพลงที่ต้องเต้นก็ยืนเต้น ณ ที่นั่งของตัวเองอย่างเป็นระเบียบ ผู้ใหญ่ก็เช่นกัน
ฉันละขำ มุขของนักดนตรีรุ่นใหญ่อย่างพี่แต๋ง ภูษิต ไล้ทองจริงๆ ตอนที่มีผู้ใหญ่มาเชิญให้พี่แต๋งเป็นแขกรับเชิญในคอนเสิร์ตของนัท พี่แกก็เข้าใจว่าเป็น ณัฐ ยนตรรักษ์ เพลงทีจะต้องเล่นคงไม่พ้นประมาณ บัวขาว ลาวดวงเดือน เรียกเสียงฮาได้ตรึม เมื่อทราบว่าเป็น ณัฐ ศักดาทรต่างหาก สาวๆ ที่มาเต้นคลอเคลียนัทในเพลงเร็วๆ (ซึ่งฉันจำชื่อไม่ได้อะ she bang she bang อะไรเนี่ยล่ะ) ก็เต้นได้ โอ้ โห จริงๆ ไม่รู้จะอธิบายยังไง ยิ่งเวลาสาวผมตรงยาวประบ่าทำปากเป็นรูปโดนัท โอ้ย อะไรกันนี่!!
มันมีหลายรสหลายอารมณ์ดีจัง เป็นห่วงอยู่อย่างคือ นัทผอมลงมาก ผอมจริงๆ แล้วฉันก็นึกถึงพัดชา ที่ผอมลงจนผิดหูผิดตาเช่นกัน คนจะขึ้นกล้องก็ต้องทำตัวให้ผอม หน้าจะได้ไม่ป่องคับจอ ต้องเสียสละเพื่ออาชีพจริงๆ
รอดูความสำเร็จและความรุ่งเรืองของคนที่พร้อมอย่างนัทไปเรื่อยๆ นะจ๊ะ
ป้ายกำกับ:
ความคิดเห็น,
คอนเสิร์ต
วันอังคารที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2551
Lehman Brothers ล้มละลาย
ถ้าฉันยังทำงานอยู่ใน "โลก" ใบเดิม ฉันคงจะตื่นเต้นตกใจกับการล้มละลายของบริษัทให้บริการด้านวาณิชธนกิจรายใหญ่ของโลก ที่มีผลกระทบทำให้หุ้นตกกันระนาว ราคาน้ำมันตก อะไรๆ ก็ตกไปหมด ในฐานะที่เคยอยู่ใน "โลก" ใบนั้น ขอพูดถึงซักเล็กน้อยพอเป็นพิธีละกัน
ประกาศจาก Lehman Brothers เรื่องการล้มละลาย
ประกาศจาก Lehman Brothers เรื่องการล้มละลาย
ป้ายกำกับ:
ทันโลก
วันพฤหัสบดีที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2551
แพร์ซโพลิสวางแผงทั่วประเทศนับแต่บัดนี้เป็นต้นไป
โปรดทราบ...ท่านสามารถซื้อหนังสือแพร์ซโพลิสได้ที่ร้านนายอินทร์ โรงหนัง House RCA และร้านขายหนังสือหน้า Tops ค่ะ สำหรับร้านหนังสืออื่นๆ อาจจะช้านิดนึงนะคะ แต่ถ้าหาซื้อไม่ได้ก็สั่งผ่าน gammemagie@gammemagie.com ได้ค่ะ
ป้ายกำกับ:
งานของฉัน,
ณัฐพัดชา,
แพร์ซโพลิส,
Persepolis
วันพุธที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2551
Persepolis จัดเรท
แพร์ซโพลิส การ์ตูนสำหรับผู้ใหญ่ที่ควรได้รับคำแนะนำในการอ่าน
วันที่ 11 กันยายน หนังสือการ์ตูนที่เขียนขึ้นจากความทรงจำวัยเด็กของผู้หญิงคนหนึ่งจะมีชีวิตขึ้นในภาคภาษาไทย มาร์จอเน่ ซาทราพิ อาจเป็นเด็กหยาบคาย เป็นนักเรียนตัวร้าย เป็นพั้งค์ เป็นผัก เป็นผู้หญิงก๋ากั่น และเป็นอะไรอีกหลายอย่าง แต่โดยพื้นฐานแล้ว เธอเป็นเพียงเด็กหญิงคนหนึ่งที่พยายามจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ดิ้นรนและแสวงหา...การดำรงอยู่ของตัวตนทั้งภายในและภายนอก
เราอยากให้คุณโยนอคติเกี่ยวกับความแตกต่างทั้งหลาย เพศ วัฒนธรรม ศาสนา สงคราม และการเมือง ทิ้งไป และใช้ความรู้สึกเพียวๆ ของการเป็นมนุษย์ในการทำความรู้จักกับเธอ เรามั่นใจว่าถ้าอ่านจนจบ คุณจะเห็นการต่อสู้ของคนเล็กๆ ในสังคมที่เปลี่ยนแปร - ชีวิตที่ปราศจากอิสรเสรีภาพในสังคมที่กดขี่และปิดกั้น และชีวิตที่ไร้ตัวตนในสังคมที่เปี่ยมไปด้วยเสรี - แล้วคุณจะเข้าใจและรักเธอ
เราก็แค่หวัง...ว่าหนังสือเล่มเล็กๆ สองเล่มที่ออกในวันอันมีนัยโหดร้ายวันนั้น จะมีอิทธิพลและส่งผลกระทบยิ่งใหญ่ในทิศทางตรงข้าม ทะลุเปลือกนอกและอคติทั้งปวง ด้วยเชื่อมั่นในอัศจรรย์ของมนุษย์
+++
วันที่ 11 กันยายน หนังสือการ์ตูนที่เขียนขึ้นจากความทรงจำวัยเด็กของผู้หญิงคนหนึ่งจะมีชีวิตขึ้นในภาคภาษาไทย มาร์จอเน่ ซาทราพิ อาจเป็นเด็กหยาบคาย เป็นนักเรียนตัวร้าย เป็นพั้งค์ เป็นผัก เป็นผู้หญิงก๋ากั่น และเป็นอะไรอีกหลายอย่าง แต่โดยพื้นฐานแล้ว เธอเป็นเพียงเด็กหญิงคนหนึ่งที่พยายามจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ดิ้นรนและแสวงหา...การดำรงอยู่ของตัวตนทั้งภายในและภายนอก
เราอยากให้คุณโยนอคติเกี่ยวกับความแตกต่างทั้งหลาย เพศ วัฒนธรรม ศาสนา สงคราม และการเมือง ทิ้งไป และใช้ความรู้สึกเพียวๆ ของการเป็นมนุษย์ในการทำความรู้จักกับเธอ เรามั่นใจว่าถ้าอ่านจนจบ คุณจะเห็นการต่อสู้ของคนเล็กๆ ในสังคมที่เปลี่ยนแปร - ชีวิตที่ปราศจากอิสรเสรีภาพในสังคมที่กดขี่และปิดกั้น และชีวิตที่ไร้ตัวตนในสังคมที่เปี่ยมไปด้วยเสรี - แล้วคุณจะเข้าใจและรักเธอ
เราก็แค่หวัง...ว่าหนังสือเล่มเล็กๆ สองเล่มที่ออกในวันอันมีนัยโหดร้ายวันนั้น จะมีอิทธิพลและส่งผลกระทบยิ่งใหญ่ในทิศทางตรงข้าม ทะลุเปลือกนอกและอคติทั้งปวง ด้วยเชื่อมั่นในอัศจรรย์ของมนุษย์
+++
ป้ายกำกับ:
กำมะหยี่,
งานของฉัน,
แพร์ซโพลิส,
Gamme Magie,
Persepolis
แพร์ซโพลิส จากแอนิเมชั่นชื่อดังสู่หนังสือภาคภาษาไทย
บันทึกความทรงจำเล่มเล็กๆ สองเล่มที่ผู้ใหญ่ทุกคนที่มีหัวใจควรอ่าน
วันที่ 11 กันยายน สำนักพิมพ์กำมะหยี่เปิดตัวหนังสือแปลชุดที่สอง แพร์ซโพลิส การ์ตูนอัตชีวิตประวัติของมาร์จอเน่ ซาทราพิ นักเขียนการ์ตูนชาวอิหร่านที่ใช้ชีวิตปัจจุบันในฝรั่งเศส ซึ่งได้รับการสร้างเป็นภาพยนตร์แอนิเมชั่นชื่อเดียวกันและได้รับรางวัลจากงานประกวดภาพยนตร์ที่เมืองคานส์มาแล้ว
แพร์ซโพลิส คือบันทึกความทรงจำวัยเด็ก วัยรุ่น จนย่างเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ ของมาร์จอเน่ “มาร์จี้” ซาทราพิ เรื่องราวที่เธอได้ประสบและตั้งคำถาม ทั้งสิทธิเสรีภาพ สงคราม และการสูญเสียจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของประเทศ ไปจนถึงวิธีคิดและการดิ้นรนแสวงหาเพื่อปรับตัวเข้าสู่สังคมและวัฒนธรรมของเธอเอง
แพร์ซโพลิส คือชื่อเมืองหลวงเก่าของเปอร์เซีย จักรวรรดิอันรุ่งเรืองยุคโบราณที่มีประวัติความเป็นมาหลายพันปี ดินแดนแห่งนี้ผ่านการยึดครองของชนชาติต่างๆ ทั้งกรีก เติร์ก มองโกล และชนเผ่าอาหรับผู้มาพร้อมกับศาสนาอิสลาม และในทศวรรษ 1970-1980 ดินแดนนี้ได้เผชิญการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอย่างเข้มข้น ทั้งการล้มล้างพระเจ้าชาห์และการปฏิวัติอิสลาม อันนำไปสู่การสถาปนาสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านในปี 1979 และตามมาด้วยระบอบการปกครองที่เข้มงวด และสงครามอิรัก-อิหร่าน
ถึงแม้ฉากและเหตุการณ์ใน แพร์ซโพลิส จะเกี่ยวข้องกับศาสนาและการเมือง เพราะทั้งสองอย่างนั้นคือปัจจัยสำคัญในการดำรงอยู่ของสังคมและมนุษย์อย่างแยกไม่ออก แต่เนื้อหาแท้จริงของเรื่องกลับเป็นการต่อสู้ที่จะมีชีวิตที่ดีและมีความสุข การดิ้นรนและแสวงหา ลองผิดลองถูก และความกล้าที่จะ “เผชิญ” และ “ใช้” ชีวิต ซึ่งมาร์จอเน่เขียนได้อย่างสนุก มีสีสัน และณัฐพัดชาก็ถ่ายทอดเป็นภาษาไทยได้อย่างชวนติดตาม
“เราอยากให้ผู้อ่านโยนอคติเกี่ยวกับความแตกต่างทั้งหลาย เพศ วัฒนธรรม ศาสนา สงคราม และการเมือง ทิ้งไป และใช้ความรู้สึกเพียวๆ ของการเป็นมนุษย์ในการทำความรู้จักกับมาร์จี้ มองผ่านเปลือกนอกเข้าไปสัมผัสการต่อสู้ของผู้คนกลุ่มหนึ่งในสังคมหนึ่ง ซึ่งเป็นความรู้สึกสากลที่เกิดขึ้นกับใครในสังคมใดก็ได้” อธิชา มัญชุนากร กาบูล็อง เจ้าสำนักกำมะหยี่ กล่าว
ก่อนหน้านี้ กำมะหยี่ได้ส่งเรื่องสั้นสัญชาติไทยสองเล่ม เด็กหญิงมุกประดับ และ คณิตศาสตร์ (รส.) ของ 10 เดซิเบล และ ราตรีมหัศจรรย์, ด้วยรัก ความตาย และหัวใจสลาย, แกะรอย แกะดาว ผลงานแปลสามเล่มของนักเขียนญี่ปุ่น ฮารูกิ มูราคามิ และจะนำความอัศจรรย์ในแง่มุมต่างๆ ของมนุษย์มานำเสนอต่อไป
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและพูดคุยเกี่ยวกับมาร์จี้และเรื่องราวของเธอได้ที่ 02 270 3942, 081 985 3838, และเว็บไซต์ http://http://www.gammemagie.com/ หรือเว็บบล็อก http://gammemagie.blogspot.com/
+++
วันที่ 11 กันยายน สำนักพิมพ์กำมะหยี่เปิดตัวหนังสือแปลชุดที่สอง แพร์ซโพลิส การ์ตูนอัตชีวิตประวัติของมาร์จอเน่ ซาทราพิ นักเขียนการ์ตูนชาวอิหร่านที่ใช้ชีวิตปัจจุบันในฝรั่งเศส ซึ่งได้รับการสร้างเป็นภาพยนตร์แอนิเมชั่นชื่อเดียวกันและได้รับรางวัลจากงานประกวดภาพยนตร์ที่เมืองคานส์มาแล้ว
แพร์ซโพลิส คือบันทึกความทรงจำวัยเด็ก วัยรุ่น จนย่างเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ ของมาร์จอเน่ “มาร์จี้” ซาทราพิ เรื่องราวที่เธอได้ประสบและตั้งคำถาม ทั้งสิทธิเสรีภาพ สงคราม และการสูญเสียจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของประเทศ ไปจนถึงวิธีคิดและการดิ้นรนแสวงหาเพื่อปรับตัวเข้าสู่สังคมและวัฒนธรรมของเธอเอง
แพร์ซโพลิส คือชื่อเมืองหลวงเก่าของเปอร์เซีย จักรวรรดิอันรุ่งเรืองยุคโบราณที่มีประวัติความเป็นมาหลายพันปี ดินแดนแห่งนี้ผ่านการยึดครองของชนชาติต่างๆ ทั้งกรีก เติร์ก มองโกล และชนเผ่าอาหรับผู้มาพร้อมกับศาสนาอิสลาม และในทศวรรษ 1970-1980 ดินแดนนี้ได้เผชิญการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอย่างเข้มข้น ทั้งการล้มล้างพระเจ้าชาห์และการปฏิวัติอิสลาม อันนำไปสู่การสถาปนาสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านในปี 1979 และตามมาด้วยระบอบการปกครองที่เข้มงวด และสงครามอิรัก-อิหร่าน
ถึงแม้ฉากและเหตุการณ์ใน แพร์ซโพลิส จะเกี่ยวข้องกับศาสนาและการเมือง เพราะทั้งสองอย่างนั้นคือปัจจัยสำคัญในการดำรงอยู่ของสังคมและมนุษย์อย่างแยกไม่ออก แต่เนื้อหาแท้จริงของเรื่องกลับเป็นการต่อสู้ที่จะมีชีวิตที่ดีและมีความสุข การดิ้นรนและแสวงหา ลองผิดลองถูก และความกล้าที่จะ “เผชิญ” และ “ใช้” ชีวิต ซึ่งมาร์จอเน่เขียนได้อย่างสนุก มีสีสัน และณัฐพัดชาก็ถ่ายทอดเป็นภาษาไทยได้อย่างชวนติดตาม
“เราอยากให้ผู้อ่านโยนอคติเกี่ยวกับความแตกต่างทั้งหลาย เพศ วัฒนธรรม ศาสนา สงคราม และการเมือง ทิ้งไป และใช้ความรู้สึกเพียวๆ ของการเป็นมนุษย์ในการทำความรู้จักกับมาร์จี้ มองผ่านเปลือกนอกเข้าไปสัมผัสการต่อสู้ของผู้คนกลุ่มหนึ่งในสังคมหนึ่ง ซึ่งเป็นความรู้สึกสากลที่เกิดขึ้นกับใครในสังคมใดก็ได้” อธิชา มัญชุนากร กาบูล็อง เจ้าสำนักกำมะหยี่ กล่าว
ก่อนหน้านี้ กำมะหยี่ได้ส่งเรื่องสั้นสัญชาติไทยสองเล่ม เด็กหญิงมุกประดับ และ คณิตศาสตร์ (รส.) ของ 10 เดซิเบล และ ราตรีมหัศจรรย์, ด้วยรัก ความตาย และหัวใจสลาย, แกะรอย แกะดาว ผลงานแปลสามเล่มของนักเขียนญี่ปุ่น ฮารูกิ มูราคามิ และจะนำความอัศจรรย์ในแง่มุมต่างๆ ของมนุษย์มานำเสนอต่อไป
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและพูดคุยเกี่ยวกับมาร์จี้และเรื่องราวของเธอได้ที่ 02 270 3942, 081 985 3838, และเว็บไซต์ http://http://www.gammemagie.com/ หรือเว็บบล็อก http://gammemagie.blogspot.com/
+++
ป้ายกำกับ:
งานของฉัน,
ณัฐพัดชา,
แพร์ซโพลิส,
มาร์จอเน่ ซาทราพิ,
Marjane Satrapi,
Persepolis
วันอังคารที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2551
VCD Persepolis in Thai
ป้ายกำกับ:
แพร์ซโพลิส,
Persepolis
วันศุกร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2551
เจ้าชายเสื้อส้ม
เมื่อวานกับวันนี้ ฉันได้เอ้อระเหยลอยชาย กินอาหารญี่ปุ่น ช้อปปิ้ง ไปนวดเท้าและนวดแผนไทย แล้วก็กลับมาจ่ายค่าแรงเจ้าชายน้อย วินมอเตอร์ไซด์ ทำงานได้ถูกต้องครบถ้วนไม่มีที่ติ (เมื่อวานนะ) ส่วนวันนี้ ฉันก็ได้ยืนเดินเฉิดฉายที่ล้อบบี้ระหว่างรอเจ้าชายน้องรับส่งเอกสาร นำพัสดุไปส่งไปรษณีย์ร่วม 50 ชิ้น งานเรียบร้อยโดยฉันไม่ต้องเหนื่อยแรง แต่แหม ตินิดเดียว น่าจะโทรมาถามฉันก่อนว่าจะให้ส่งไปรษณีย์ทางอากาศด่วนหรือทางอากาศธรรมดา ด้วยความที่ของทุกอย่างต้องใช้วิจารณญาณ ในขณะเดียวกันเราก็ต้องให้เกียรติผู้ที่ทำงานร่วมกับเราได้ตัดสินใจอะไรบ้าง แน่นอนการให้โอกาสมาพร้อมกับโอกาสที่จะต้องเสี่ยงกับความผิดพลาดและค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น แล้วเธอคิดว่า เราจะทำให้คนอื่นๆ ทำอะไรได้ดั่งใจเราทุกอย่างได้หรือ ถ้าจะให้ได้ดั่งใจก็ต้องทำเองทุกอย่าง ซึ่งถ้าเราทำอะไรก๊อกแก๊ก เล็กๆ น้อยๆ ก็ทำได้อยู่ แต่ถ้างานเริ่มใหญ่ขึ้นแล้วล่ะ ควรละหรือที่จะใช้คนประเภทเดียวทำงานทุกอย่าง
เมื่อวานฉันให้เจ้าชายน้อยคนที่แฟนขี้หึงรับส่งเอกสารให้ฉันหลายที่เหมือนกัน ค่อนข้างจะซับซ้อนมิใช่น้อย กลับมาพูดเรื่องแฟนขี้หึงของเจ้าชายก่อนดีกว่า ด้วยความที่ฉันมีธุระปะปังต้องใช้บริการแทบทุกวัน เบอร์โทรศัพท์มือถือของฉันเลยขึ้นอยู่ที่โทรศัพท์ของเจ้าชายเป็นประจำ แล้วเช้าวันหนึ่งฉันก็ได้ยินเสียงผู้หญิงจากเบอร์ของเจ้าชายออกอาการขาดความมั่นใจถามว่าฉันเป็นใคร ทำไมโทรมาที่เบอร์นี้ ด้วยความที่เข้าใจหัวอกลูกผู้หญิงด้วยกัน ฉันก็บอกด้วยน้ำเสียงเรียบๆ ว่า ฉันใช้บริการรับ-ส่งเอกสารจากเจ้าชายเป็นประจำ เป็นไปได้ว่าเธอคนนี้อาจจะเห็นปฏิกิริยาตอนที่หมายเลขของฉันขึ้นที่หน้าจอ แล้วแฟนคนน่ารักของเธอก็รีบมาหาฉันในทันใดกระมัง ฉันว่า บางครั้งผู้ชายก็มีความสุขที่ผู้หญิงหึงนะ แต่หึงให้พองาม อย่าให้เกินจนน่ารำคาญ ไอ้ฉันน่ะเป็นคนไว้ใจคน คิดเอาเองว่าโตๆ กันแล้วควรจะรู้หน้าที่ ประเมินดูแล้วก็คงขาดเสน่ห์จากความหึงเนี่ยล่ะ
ไปไงมาไงยังไม่เข้าเรื่องละเนี่ย ฉันตั้งใจจะบอกว่างานที่ฉันมอบหมายให้เจ้าชายวินมอเตอร์ไซด์คนนี้ทำมันยากขึ้นเรื่อยๆ ต้องมีการวางแผน และบางครั้งผู้ปฏิบัติงานก็เสนอทางเลือกให้ฉันด้วยซ้ำไป จากเดิมที่ต้องออกไปรับ-ส่งเอกสารสองรอบ รอบเช้าและรอบบ่าย พ่อวินเสื้อส้มท่าทางใจดีคนนี้ บอกว่าถ้าเราไปจากที่นี่แล้วไปต่อที่นั่นจะได้ไปรอบเดียวไม่ต้องย้อนกลับ ก็จริงของเขา ผลคือ ฉันก็จ่ายค่าแรงพี่แกน้อยลง ปลื้มใจตรงที่ เขาต้องรับเอกสารจากที่หนึ่ง เอาไปส่งอีกที่หนึ่ง แล้วรับจากที่นั้นไปต่อแห่งที่สาม แล้วต้องไม่ลืมเอาเอกสารกลับมาให้ฉันด้วย นอกเหนือจากนี้ ก็ไปส่งเอกสารอีก 3-4 ที่ ในคราวเดียว งานเมื่อวานเป็นงานบริหารสมอง รับส่งเอกสารตามเส้นทางไม่ให้ย้อนไปย้อนมา ส่วนงานวันนี้ ไปรับหนังสือแล้วกลับมารับพัสดุไปส่งไปรษณีย์ร่วม 50 ชิ้นอย่างที่ฉันบอกเธอตอนต้นนั่นแหละ ตอนแรก ฉันกะว่าคงต้องสวมบทบาทหญิงเหล็กอีกแล้ว ขนพัสดุทั้งหมดไปที่ไปรษณีย์ด้วยตัวเองและรอจ่ายเงินทีเดียว แต่แล้วหลังจากที่ใช้แรงงานตนเองบรรจุหีบห่อทั้งคืน แถมตื่นมาจากสารพัดเสียงโทรศัพท์ตามปกติ เกิดอาการ อย่าทำตัวเป็นหญิงเหล็กนักเลย เดี๋ยวจะต้องทำไปตลอดชีวิต มีคนเตือนฉันครั้งนึงและเสียงนั้นก็แว่วมาให้ได้ยินเป็นครั้งคราวยามที่ทำอะไรที่ผู้หญิงเค้าไม่ทำเองกัน ตอนแรก คุณพี่วินเสื้อส้มบอกว่าต้องไปสามรอบ คิดรอบละ 50 บาท
ฉันก็ว่า "งั้นไปแท็กซี่มั้ย จ่ายค่าแรง 100 บาทและออกค่ารถแท็กซี่ให้ด้วย แถมทิปอีก 15 บาท รวมเป็น 150 บาท"
คุณพี่วินแสนฉลาดตอบด้วยน้ำเสียงนุ่มนวลว่า "งั้นทำไมพี่ไม่ไปเองล่ะ มันก็เหมือนไปมอเตอร์ไซด์สามรอบนะ"
เออ มันก็จริงของเค้า สามรอบก็สามรอบ เพียงแต่ฉันคิดว่ามันเสียเวลาไปกลับสามคราเท่านั้นแหละ แต่ก็อย่างว่า คนเราคิดอะไรไม่เหมือนกัน จะไปกี่ครั้งฉันก็ต้องจ่าย 150 บาทเท่าเดิม พอถึงคราวจริงๆ ไปแค่สองรอบเอง ฉันละประหลาดใจในความสามารถขนพัสดุทั้งหมดไปได้จริงๆ ฉันเอาพัสดุมาใส่ในกล่องใส่พริ้นเตอร์ ใหญ่นะเธอและหนักสุดๆ แถมพี่แกยังหอบพัสดุสำหรับส่งไปต่างประเทศอันเบ้อเร่อไปด้วย ก็คิดดูแล้วกันหนังสือ 22 เล่มอะเธอ นอกจากหนักแล้วค่าส่งยังแพงแบบ เฮ้อ อยากส่งทางเรือจริงๆ พอรอบสองฉันใส่ถุงหูหิ้ว พี่แกก็หิ้วข้างละสองถุงพร้อมจับแฮนด์มอเตอร์ไซด์ไปด้วย มีอีกกล่องใหญ่อีกใบอยู่ข้างท้ายนะเธอ ค่าส่งในประเทศเป็นสัดส่วนจิ๊บจ้อยของค่าส่งต่างประเทศห่อเดียวแต่หนักเกือบ 6 กิโลกรัม เรื่องที่ฉันติในการส่งครั้งนี้คือ คุณวินที่รักสามารถช่วยฉันประหยัดได้อีกประมาณ 800 บาทเพราะมันมีความต่างของการส่งทางอากาศแบบด่วนกับแบบธรรมดา คราวที่แล้วฉันส่งไปญี่ปุ่นราคาต่างกันแค่ 100 บาท แต่คราวนี้ส่งไปฝรั่งเศสต่างกันมากเหลือเกิน คราวที่แล้ว ความมั่นใจของเจ้าชายน้อยคนนี้ยังไม่มากเท่าไหร่ เขาเลยโทรมาถามฉันก่อนเพื่อให้ฉันตัดสินใจ คราวนี้พี่แกเกิดอาการฮึกเหิมฮ่ะ ตัดสินใจเองเลย เป็นไงล่ะ ทุกอย่างเป็นการเรียนรู้ คราวก่อนโน้น ฉันระบุชัดเจนให้รอรับของที่ส่งไปด้วยก่อนกลับแต่พี่แกกลับก่อน ฉันถือว่าเป็นครั้งแรก ยอมออกค่าใช้จ่ายที่เพิ่มให้ แต่ก็ประกาศวาจาสิทธิ์ไว้ว่า คราวหน้าบอกแล้วไม่ทำตามที่บอก ฉันจะไม่จ่ายค่าใช้จ่ายส่วนต่างนะ เจ้าชายยิ้มรับโดยดุสดี หนนี้ ฉันก็บอกเจ้าชายว่า ฉันจะประหยัดเงินได้อีก 800 บาทนะ ให้รู้สึกผิดเล็กน้อยถึงปานกลางแต่ฉันก็ทิปไปอีก 20 บาท เพราะถ้าฉันไม่ได้เจ้าชายเสื้อส้ม ฉันเองต้องเป็นคนลำบากขนทุกอย่างเอง และเราไม่มีวันรู้ว่า ถ้าเป็นอีกทางเลือกนึง ฉันจะซุ่มซ่าม สะดุดหกล้มตอนที่แบกของหลายสิบโลหรือไม่ แน่นอนว่าค่ารักษาอาจจะหลายพันบาทก็ได้
คิดซะอย่างนี้ จะได้ไม่เกิดมลพิษทางอารมณ์ จริงมั้ยเธอ ที่แน่ๆ หนต่อไป ฉันอาจจะเล่นบทนางร้ายขึ้นมาบ้างถ้าเจ้าชายของฉันไม่ใช่เจ้าชายน้อยที่น่ารักดังเดิม
เหอ เหอ
เมื่อวานฉันให้เจ้าชายน้อยคนที่แฟนขี้หึงรับส่งเอกสารให้ฉันหลายที่เหมือนกัน ค่อนข้างจะซับซ้อนมิใช่น้อย กลับมาพูดเรื่องแฟนขี้หึงของเจ้าชายก่อนดีกว่า ด้วยความที่ฉันมีธุระปะปังต้องใช้บริการแทบทุกวัน เบอร์โทรศัพท์มือถือของฉันเลยขึ้นอยู่ที่โทรศัพท์ของเจ้าชายเป็นประจำ แล้วเช้าวันหนึ่งฉันก็ได้ยินเสียงผู้หญิงจากเบอร์ของเจ้าชายออกอาการขาดความมั่นใจถามว่าฉันเป็นใคร ทำไมโทรมาที่เบอร์นี้ ด้วยความที่เข้าใจหัวอกลูกผู้หญิงด้วยกัน ฉันก็บอกด้วยน้ำเสียงเรียบๆ ว่า ฉันใช้บริการรับ-ส่งเอกสารจากเจ้าชายเป็นประจำ เป็นไปได้ว่าเธอคนนี้อาจจะเห็นปฏิกิริยาตอนที่หมายเลขของฉันขึ้นที่หน้าจอ แล้วแฟนคนน่ารักของเธอก็รีบมาหาฉันในทันใดกระมัง ฉันว่า บางครั้งผู้ชายก็มีความสุขที่ผู้หญิงหึงนะ แต่หึงให้พองาม อย่าให้เกินจนน่ารำคาญ ไอ้ฉันน่ะเป็นคนไว้ใจคน คิดเอาเองว่าโตๆ กันแล้วควรจะรู้หน้าที่ ประเมินดูแล้วก็คงขาดเสน่ห์จากความหึงเนี่ยล่ะ
ไปไงมาไงยังไม่เข้าเรื่องละเนี่ย ฉันตั้งใจจะบอกว่างานที่ฉันมอบหมายให้เจ้าชายวินมอเตอร์ไซด์คนนี้ทำมันยากขึ้นเรื่อยๆ ต้องมีการวางแผน และบางครั้งผู้ปฏิบัติงานก็เสนอทางเลือกให้ฉันด้วยซ้ำไป จากเดิมที่ต้องออกไปรับ-ส่งเอกสารสองรอบ รอบเช้าและรอบบ่าย พ่อวินเสื้อส้มท่าทางใจดีคนนี้ บอกว่าถ้าเราไปจากที่นี่แล้วไปต่อที่นั่นจะได้ไปรอบเดียวไม่ต้องย้อนกลับ ก็จริงของเขา ผลคือ ฉันก็จ่ายค่าแรงพี่แกน้อยลง ปลื้มใจตรงที่ เขาต้องรับเอกสารจากที่หนึ่ง เอาไปส่งอีกที่หนึ่ง แล้วรับจากที่นั้นไปต่อแห่งที่สาม แล้วต้องไม่ลืมเอาเอกสารกลับมาให้ฉันด้วย นอกเหนือจากนี้ ก็ไปส่งเอกสารอีก 3-4 ที่ ในคราวเดียว งานเมื่อวานเป็นงานบริหารสมอง รับส่งเอกสารตามเส้นทางไม่ให้ย้อนไปย้อนมา ส่วนงานวันนี้ ไปรับหนังสือแล้วกลับมารับพัสดุไปส่งไปรษณีย์ร่วม 50 ชิ้นอย่างที่ฉันบอกเธอตอนต้นนั่นแหละ ตอนแรก ฉันกะว่าคงต้องสวมบทบาทหญิงเหล็กอีกแล้ว ขนพัสดุทั้งหมดไปที่ไปรษณีย์ด้วยตัวเองและรอจ่ายเงินทีเดียว แต่แล้วหลังจากที่ใช้แรงงานตนเองบรรจุหีบห่อทั้งคืน แถมตื่นมาจากสารพัดเสียงโทรศัพท์ตามปกติ เกิดอาการ อย่าทำตัวเป็นหญิงเหล็กนักเลย เดี๋ยวจะต้องทำไปตลอดชีวิต มีคนเตือนฉันครั้งนึงและเสียงนั้นก็แว่วมาให้ได้ยินเป็นครั้งคราวยามที่ทำอะไรที่ผู้หญิงเค้าไม่ทำเองกัน ตอนแรก คุณพี่วินเสื้อส้มบอกว่าต้องไปสามรอบ คิดรอบละ 50 บาท
ฉันก็ว่า "งั้นไปแท็กซี่มั้ย จ่ายค่าแรง 100 บาทและออกค่ารถแท็กซี่ให้ด้วย แถมทิปอีก 15 บาท รวมเป็น 150 บาท"
คุณพี่วินแสนฉลาดตอบด้วยน้ำเสียงนุ่มนวลว่า "งั้นทำไมพี่ไม่ไปเองล่ะ มันก็เหมือนไปมอเตอร์ไซด์สามรอบนะ"
เออ มันก็จริงของเค้า สามรอบก็สามรอบ เพียงแต่ฉันคิดว่ามันเสียเวลาไปกลับสามคราเท่านั้นแหละ แต่ก็อย่างว่า คนเราคิดอะไรไม่เหมือนกัน จะไปกี่ครั้งฉันก็ต้องจ่าย 150 บาทเท่าเดิม พอถึงคราวจริงๆ ไปแค่สองรอบเอง ฉันละประหลาดใจในความสามารถขนพัสดุทั้งหมดไปได้จริงๆ ฉันเอาพัสดุมาใส่ในกล่องใส่พริ้นเตอร์ ใหญ่นะเธอและหนักสุดๆ แถมพี่แกยังหอบพัสดุสำหรับส่งไปต่างประเทศอันเบ้อเร่อไปด้วย ก็คิดดูแล้วกันหนังสือ 22 เล่มอะเธอ นอกจากหนักแล้วค่าส่งยังแพงแบบ เฮ้อ อยากส่งทางเรือจริงๆ พอรอบสองฉันใส่ถุงหูหิ้ว พี่แกก็หิ้วข้างละสองถุงพร้อมจับแฮนด์มอเตอร์ไซด์ไปด้วย มีอีกกล่องใหญ่อีกใบอยู่ข้างท้ายนะเธอ ค่าส่งในประเทศเป็นสัดส่วนจิ๊บจ้อยของค่าส่งต่างประเทศห่อเดียวแต่หนักเกือบ 6 กิโลกรัม เรื่องที่ฉันติในการส่งครั้งนี้คือ คุณวินที่รักสามารถช่วยฉันประหยัดได้อีกประมาณ 800 บาทเพราะมันมีความต่างของการส่งทางอากาศแบบด่วนกับแบบธรรมดา คราวที่แล้วฉันส่งไปญี่ปุ่นราคาต่างกันแค่ 100 บาท แต่คราวนี้ส่งไปฝรั่งเศสต่างกันมากเหลือเกิน คราวที่แล้ว ความมั่นใจของเจ้าชายน้อยคนนี้ยังไม่มากเท่าไหร่ เขาเลยโทรมาถามฉันก่อนเพื่อให้ฉันตัดสินใจ คราวนี้พี่แกเกิดอาการฮึกเหิมฮ่ะ ตัดสินใจเองเลย เป็นไงล่ะ ทุกอย่างเป็นการเรียนรู้ คราวก่อนโน้น ฉันระบุชัดเจนให้รอรับของที่ส่งไปด้วยก่อนกลับแต่พี่แกกลับก่อน ฉันถือว่าเป็นครั้งแรก ยอมออกค่าใช้จ่ายที่เพิ่มให้ แต่ก็ประกาศวาจาสิทธิ์ไว้ว่า คราวหน้าบอกแล้วไม่ทำตามที่บอก ฉันจะไม่จ่ายค่าใช้จ่ายส่วนต่างนะ เจ้าชายยิ้มรับโดยดุสดี หนนี้ ฉันก็บอกเจ้าชายว่า ฉันจะประหยัดเงินได้อีก 800 บาทนะ ให้รู้สึกผิดเล็กน้อยถึงปานกลางแต่ฉันก็ทิปไปอีก 20 บาท เพราะถ้าฉันไม่ได้เจ้าชายเสื้อส้ม ฉันเองต้องเป็นคนลำบากขนทุกอย่างเอง และเราไม่มีวันรู้ว่า ถ้าเป็นอีกทางเลือกนึง ฉันจะซุ่มซ่าม สะดุดหกล้มตอนที่แบกของหลายสิบโลหรือไม่ แน่นอนว่าค่ารักษาอาจจะหลายพันบาทก็ได้
คิดซะอย่างนี้ จะได้ไม่เกิดมลพิษทางอารมณ์ จริงมั้ยเธอ ที่แน่ๆ หนต่อไป ฉันอาจจะเล่นบทนางร้ายขึ้นมาบ้างถ้าเจ้าชายของฉันไม่ใช่เจ้าชายน้อยที่น่ารักดังเดิม
เหอ เหอ
ป้ายกำกับ:
งานของฉัน,
ผู้ช่วยประจำสำนัก
วันพุธที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2551
Persepolis: กว่าจะมาเป็นเล่ม
รูปที่เธอเห็นอยู่นี่ เป็นรูปของหนังสือแพร์ซโพลิสทั้งสองเล่มที่เพิ่งพิมพ์เสร็จสดๆ ร้อนๆ ให้ฉันผู้เป็นแม่ (ถ้าจะเปรียบคงเป็นแม่นม ส่วนมาร์จอเน่เป็นแม่ผู้ให้กำเนิด) เข้าไปตรวจสอบคุณภาพของลูกๆที่ฉันฟูมฟักมากับมือทั้งภาษา สำนวนการแปล และการผลิตออกมาเป็นรูปเล่มจนถึงมือของผู้อ่าน(ที่มองลึกลงไปกว่าที่เห็นว่าหนังสือสองเล่มนี้เป็นแค่หนังสือการ์ตูนธรรมดา)
ฉันมักจะได้อะไรมากกว่าที่คาดไว้เสมอ การเยี่ยมเยือนหจก. วรรณกรรม พบคุณสุริยันต์ อันตนนา ผู้เป็นหัวเรือใหญ่ของโรงงานที่รับเข้าเล่มหนังสือ (Book Binding) แห่งนี้ ฉันไม่รู้มาก่อนว่ามีการแยกบริการการพิมพ์กับการเข้าเล่มออกจากกัน ในความรู้สึกของคนทั่วไป คือ เข้าโรงพิมพ์แล้วก็ออกมาเป็นหนังสือ ที่ไหนได้ขั้นตอนการเข้าเล่มหนังสือสำคัญมิใช่น้อยเลยนะเธอ โรงพิมพ์ก็ทำหน้าที่พิมพ์สมชื่อ แล้วก็ส่งกระดาษที่พิมพ์แล้วมาที่นี่เพื่อเข้าเล่ม ขั้นตอนแรกก็คือการตัดกระดาษตามรูปเล่ม จากนั้นก็เรียงหน้า แล้วจึงไสกาวไส้ใน เข้าเล่มกับตัวปก สุดท้ายก็การบรรจุหีบห่อสำหรับส่งไปยังบริษัทรับจัดจำหน่าย
ฟังๆ แล้วก็ไม่น่ายาก แต่งานปิดทองหลังพระนี้ก็ไม่ได้ง่ายอย่างที่ใครๆ คิด คุณภาพของกระดาษเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อคุณภาพการเข้าเล่มอย่างที่ฉันไม่เคยนึกมาก่อน
จากภาพแรก เธอจะเห็นกาวร้อนๆ ที่สาดไปยังกระดาษแบบต่างๆ กระดาษสีน้ำตาลรีไซเคิลเป็นแบบที่กาวมีการเดือดปุดสูงสุด ผลเป็นอย่างไรหรือเธอ ก็ทำให้ตอนไสกาวเข้าเล่มมีฟองอากาศอยู่มาก หนังสือก็มีโอกาสหลุดเป็นชิ้นๆ ได้ง่ายไงล่ะ เธอลองดูคุณภาพกระดาษที่ทำให้เกิดฟองอากาศน้อยที่สุดนะ เมื่อฉันพลิกอีกด้านให้ดู คุ้นๆ มั้ยว่ามันคลับคล้ายคลับคลาเหมือนหน้าปกหนังสือเล่มไหน นี่คือสิ่งที่ฉันอยากเล่าให้เธอฟังว่าคุณภาพของกระดาษก็มีผลต่อความแข็งแรงคงทนของการเข้าเล่มหนังสือนะ
คำบรรยายในสไลด์คงบอกอะไรเธอได้พอสมควรนะ การกระทำหลายๆ อย่าง มาจากการเรียนรู้ข้อผิดพลาด ฝนเคยรั่วเมื่อตอนที่เป็นหลังคากระเบื้อง ตอนนี้ก็เปลี่ยนเป็นหลังคา metal sheet ถ้าไฟจะไหม้ ทำไงดีล่ะ มีแต่เชื้อไฟอย่างดีทั้งนั้น โรงงานนี้เดินสายไฟอยู่ระดับเหนือศีรษะทั้งหมด การช็อตหรือไหม้จะเกิดด้านบน สำหรับด้านล่าง หนังสือจะอยู่บนพาเลตทั้งหมด กันทั้งน้ำท่วมและขนย้ายสะดวกหากเกิดเหตุสุดวิสัยจริงๆ โรงงานที่ดี ไม่ใช่เพียงแค่รักษาความปลอดภัยจากอัคคีภัยและวาตภัย ยังต้องดูแลให้ลิขสิทธิ์ทางปัญญาไม่ได้ถูกผู้มิประสงค์ดีขโมยไปขาย เศษกระดาษที่พิมพ์เกินจะถูกนำไปจำหน่ายจ่ายแจกให้โรงงานรีไซเคิล ห้ามส่งเกินแม้เพียงเชือกฟางที่รัดกระดาษเข้าด้วยกัน บริเวณโรงงานห้ามบุคคลภายนอกเดินเพ่นพ่าน (ยกเว้นมาตรวจงาน ได้รับอนุญาตอย่างฉันเท่านั้น) ประตูม้วนไฟฟ้าปิดตอนห้าโมงเย็น
ถ้าเธอดูก่อนอ่าน ฉันว่าเธอทายไม่ถูกหรอกว่า ฉันต้องการจะสื่ออะไรจากสไลด์ชุดนี้ ลองปิดเนื้อหาข้างล่างแล้วลองคิดๆ ดูมั้ยละเธอ
เมื่อไสกาวเข้าเล่มหนังสือเรียบร้อยแล้ว พนักงานก็จะเช็ดทำความสะอาด เรียงเล่มเป็นปึกและใช้พลาสติกห่อ ของแบบนี้มีศิลปะในการทำงานนะจะบอกให้ ถ้าสังเกตจะเห็นว่า ไม่ได้เรียงแบบเดียวกัน ด้านที่มีพลาสติกหุ้มทั้งหมดจะเรียงเพื่อประโยชน์ในการนับ หันสันสีม่วงออกห้าเล่ม หันอีกด้านออกห้าเล่ม แต่สำหรับด้านที่พลาสติกหุ้มไม่หมด ถ้าไม่ใส่กระดาษขาวกันเปื้อนตรงช่วงที่ไม่มีพลาสติก ก็หันสันปกสีม่วงไว้ตรงกลาง ถ้าเพ่งมองจะเห็นว่ามีการเรียง 2 เล่มบนและล่างให้หน้าด้านสีขาวหันออกมา ส่วนอีกแปดเล่มที่เป็นไส้กลางจะหันสันทีม่วงซึ่งเราพิมพ์แบบเคลือบด้านเอาไว้อยู่แล้ว ทำให้เลอะยาก ถึงเลอะก็เช็ดออกค่ะ
แต่เดิมที่โรงงานไม่ได้ห่อด้วยพลาสติกหรอกนะ ห่อด้วยกระดาษธรรมดา แต่ข้อดีของพลาสติกคือ กันน้ำ มองเห็นง่าย การขนย้ายหนังสือผิดพลาดได้ยาก หากมีใครลักลอบขนหนังสือไปขายก็สามารถรู้ได้โดยง่าย หนังสือกองใดหายไปก็รู้ทันที คุณสุริยันต์ดูแล้วคุ้มแม้ว่าค่าใช้จ่ายจะสูงกว่าถึงเท่าตัว ฉันเองมาตรวจคุณภาพหนังสือ เปิดหีบห่อพลาสติกเสียไปเป็นสิบ ให้รู้สึกเกรงใจไม่น้อย แต่เพื่อการตรวจเช็คคุณภาพ การมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นแต่สร้างความมั่นใจให้เราได้ว่า ลูกค้าจะได้รับหนังสือที่มีคุณภาพ แต่อย่างไรก็ดี หากมีหนังสือด้อยคุณภาพเล็ดลอดไปได้ เรายินดีรับหนังสือคืนและเปลี่ยนเป็นหนังสือเล่มใหม่ที่สดใสกว่าให้สำหรับลูกค้าของกำมะหยี่ทุกท่าน ไม่ว่าจะซื้อผ่านร้านหนังสือร้านใดๆ
หวังว่าเธอคงเห็นความตั้งใจของพวกเราชาวกำมะหยี่ผ่านตัวอักษร ภาพ สไลด์ทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลัง จนกระทั่งหนังสือพิมพ์เสร็จพร้อมส่งถึงมือเธอนะจ๊ะ
ฉันมักจะได้อะไรมากกว่าที่คาดไว้เสมอ การเยี่ยมเยือนหจก. วรรณกรรม พบคุณสุริยันต์ อันตนนา ผู้เป็นหัวเรือใหญ่ของโรงงานที่รับเข้าเล่มหนังสือ (Book Binding) แห่งนี้ ฉันไม่รู้มาก่อนว่ามีการแยกบริการการพิมพ์กับการเข้าเล่มออกจากกัน ในความรู้สึกของคนทั่วไป คือ เข้าโรงพิมพ์แล้วก็ออกมาเป็นหนังสือ ที่ไหนได้ขั้นตอนการเข้าเล่มหนังสือสำคัญมิใช่น้อยเลยนะเธอ โรงพิมพ์ก็ทำหน้าที่พิมพ์สมชื่อ แล้วก็ส่งกระดาษที่พิมพ์แล้วมาที่นี่เพื่อเข้าเล่ม ขั้นตอนแรกก็คือการตัดกระดาษตามรูปเล่ม จากนั้นก็เรียงหน้า แล้วจึงไสกาวไส้ใน เข้าเล่มกับตัวปก สุดท้ายก็การบรรจุหีบห่อสำหรับส่งไปยังบริษัทรับจัดจำหน่าย
ฟังๆ แล้วก็ไม่น่ายาก แต่งานปิดทองหลังพระนี้ก็ไม่ได้ง่ายอย่างที่ใครๆ คิด คุณภาพของกระดาษเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อคุณภาพการเข้าเล่มอย่างที่ฉันไม่เคยนึกมาก่อน
จากภาพแรก เธอจะเห็นกาวร้อนๆ ที่สาดไปยังกระดาษแบบต่างๆ กระดาษสีน้ำตาลรีไซเคิลเป็นแบบที่กาวมีการเดือดปุดสูงสุด ผลเป็นอย่างไรหรือเธอ ก็ทำให้ตอนไสกาวเข้าเล่มมีฟองอากาศอยู่มาก หนังสือก็มีโอกาสหลุดเป็นชิ้นๆ ได้ง่ายไงล่ะ เธอลองดูคุณภาพกระดาษที่ทำให้เกิดฟองอากาศน้อยที่สุดนะ เมื่อฉันพลิกอีกด้านให้ดู คุ้นๆ มั้ยว่ามันคลับคล้ายคลับคลาเหมือนหน้าปกหนังสือเล่มไหน นี่คือสิ่งที่ฉันอยากเล่าให้เธอฟังว่าคุณภาพของกระดาษก็มีผลต่อความแข็งแรงคงทนของการเข้าเล่มหนังสือนะ
คำบรรยายในสไลด์คงบอกอะไรเธอได้พอสมควรนะ การกระทำหลายๆ อย่าง มาจากการเรียนรู้ข้อผิดพลาด ฝนเคยรั่วเมื่อตอนที่เป็นหลังคากระเบื้อง ตอนนี้ก็เปลี่ยนเป็นหลังคา metal sheet ถ้าไฟจะไหม้ ทำไงดีล่ะ มีแต่เชื้อไฟอย่างดีทั้งนั้น โรงงานนี้เดินสายไฟอยู่ระดับเหนือศีรษะทั้งหมด การช็อตหรือไหม้จะเกิดด้านบน สำหรับด้านล่าง หนังสือจะอยู่บนพาเลตทั้งหมด กันทั้งน้ำท่วมและขนย้ายสะดวกหากเกิดเหตุสุดวิสัยจริงๆ โรงงานที่ดี ไม่ใช่เพียงแค่รักษาความปลอดภัยจากอัคคีภัยและวาตภัย ยังต้องดูแลให้ลิขสิทธิ์ทางปัญญาไม่ได้ถูกผู้มิประสงค์ดีขโมยไปขาย เศษกระดาษที่พิมพ์เกินจะถูกนำไปจำหน่ายจ่ายแจกให้โรงงานรีไซเคิล ห้ามส่งเกินแม้เพียงเชือกฟางที่รัดกระดาษเข้าด้วยกัน บริเวณโรงงานห้ามบุคคลภายนอกเดินเพ่นพ่าน (ยกเว้นมาตรวจงาน ได้รับอนุญาตอย่างฉันเท่านั้น) ประตูม้วนไฟฟ้าปิดตอนห้าโมงเย็น
ถ้าเธอดูก่อนอ่าน ฉันว่าเธอทายไม่ถูกหรอกว่า ฉันต้องการจะสื่ออะไรจากสไลด์ชุดนี้ ลองปิดเนื้อหาข้างล่างแล้วลองคิดๆ ดูมั้ยละเธอ
เมื่อไสกาวเข้าเล่มหนังสือเรียบร้อยแล้ว พนักงานก็จะเช็ดทำความสะอาด เรียงเล่มเป็นปึกและใช้พลาสติกห่อ ของแบบนี้มีศิลปะในการทำงานนะจะบอกให้ ถ้าสังเกตจะเห็นว่า ไม่ได้เรียงแบบเดียวกัน ด้านที่มีพลาสติกหุ้มทั้งหมดจะเรียงเพื่อประโยชน์ในการนับ หันสันสีม่วงออกห้าเล่ม หันอีกด้านออกห้าเล่ม แต่สำหรับด้านที่พลาสติกหุ้มไม่หมด ถ้าไม่ใส่กระดาษขาวกันเปื้อนตรงช่วงที่ไม่มีพลาสติก ก็หันสันปกสีม่วงไว้ตรงกลาง ถ้าเพ่งมองจะเห็นว่ามีการเรียง 2 เล่มบนและล่างให้หน้าด้านสีขาวหันออกมา ส่วนอีกแปดเล่มที่เป็นไส้กลางจะหันสันทีม่วงซึ่งเราพิมพ์แบบเคลือบด้านเอาไว้อยู่แล้ว ทำให้เลอะยาก ถึงเลอะก็เช็ดออกค่ะ
แต่เดิมที่โรงงานไม่ได้ห่อด้วยพลาสติกหรอกนะ ห่อด้วยกระดาษธรรมดา แต่ข้อดีของพลาสติกคือ กันน้ำ มองเห็นง่าย การขนย้ายหนังสือผิดพลาดได้ยาก หากมีใครลักลอบขนหนังสือไปขายก็สามารถรู้ได้โดยง่าย หนังสือกองใดหายไปก็รู้ทันที คุณสุริยันต์ดูแล้วคุ้มแม้ว่าค่าใช้จ่ายจะสูงกว่าถึงเท่าตัว ฉันเองมาตรวจคุณภาพหนังสือ เปิดหีบห่อพลาสติกเสียไปเป็นสิบ ให้รู้สึกเกรงใจไม่น้อย แต่เพื่อการตรวจเช็คคุณภาพ การมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นแต่สร้างความมั่นใจให้เราได้ว่า ลูกค้าจะได้รับหนังสือที่มีคุณภาพ แต่อย่างไรก็ดี หากมีหนังสือด้อยคุณภาพเล็ดลอดไปได้ เรายินดีรับหนังสือคืนและเปลี่ยนเป็นหนังสือเล่มใหม่ที่สดใสกว่าให้สำหรับลูกค้าของกำมะหยี่ทุกท่าน ไม่ว่าจะซื้อผ่านร้านหนังสือร้านใดๆ
หวังว่าเธอคงเห็นความตั้งใจของพวกเราชาวกำมะหยี่ผ่านตัวอักษร ภาพ สไลด์ทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลัง จนกระทั่งหนังสือพิมพ์เสร็จพร้อมส่งถึงมือเธอนะจ๊ะ
ป้ายกำกับ:
กำมะหยี่,
คุณภาพ,
งานของฉัน,
ณัฐพัดชา,
แพร์ซโพลิส,
หนังสือแปล,
Gamme Magie
วันอังคารที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2551
การตลาดแบบแพร์ซโพลิส Persepolis Marketing Campaign
ฉันแค่คิดว่าอาจจะมีนิสิตนักศึกษาที่เรียนด้านการตลาดแวะเวียนเข้ามาที่บล้อกนี้ เขาและเธอน่าจะได้ประโยชน์นอกเหนือจากความบันเทิง นั่นก็คือได้ไอเดียไปใช้ในการทำรายงาน หรือบางคนที่ทำงานด้านมาร์เก็ตติ้งอาจจะได้ลองนำการตลาดแบบมัธยัสถ์แต่ได้ผล พิสูจน์แล้วในระดับโลก ไปลองใช้ดู ในเมื่อฉันหามาให้ถึงที่แล้ว รบกวนอ่านจากต้นฉบับภาษาอังกฤษที่ฉันคัดลอกมาจากเว็บนะจ้ะ
+++
Case Study: Persepolis (March 2008)
Cartoon, the European Association of Animation Film Former Head of business affairs at France 3 Cinéma, Marc-Antoine Robert has been in the movie business for 10 years. In 2004 he created 2.4.7. Films with Xavier Rigault. Persepolis [trailer, film focus] is their first production. Persepolis won the Jury Prize at the 2007 Cannes Film Festival and has been sold worldwide.
In 1996, Marc Jousset founded the studio Je Suis Bien Content with Franck Ekinci. a polyvalent director ranging from commercials to institutional films, he develops his own projects in parallel, and supervises production of short films at JSBC. From 2005 to 2007, he was technical director and executive producer of the animated film Persepolis, written and directed by Marjane Satrapi and Vincent Parronaud.
(The article continues below - Commercial information)
Can you detail the various stages in the production of Persepolis?
The film is completely atypical and original. We found ourselves with the most un-glamorous pitch imaginable: an animated film in black and white telling the story of a young Iranian girl, for adults. But because we had an excellent scenario, we decided to send it out just as it was, and it worked. We were able to raise the financing of 6 million € relatively easily, given the challenge the film represented. And the production took 14 months, which is really very short.
Did you bank on the Cannes Festival for the success of this project?
As this was a very unusual film, we decided not to communicate on it: a total blackout. Three months before the selection for the Cannes Festival, we released information to only 2 prestigious publications, the New York Times and Telerama, where we appeared on the cover. Despite the very strong impact and requests for interviews, we resisted the temptation and remained in control of our communication. The aim was to create expectation, interest, and mystery around Persepolis. In Cannes we continued this strategy. As we knew we had a film that stood out on its own, we arranged a single showing at 4 pm, which is really not usual practice. The idea was to create a «buzz» around the film. Moreover, we were fortunately not mistaken, as the film was applauded for 25 minutes at the end of the projection, and became a true event.
And you continued your communication in an original manner?
We asked ourselves the question, looking at the core of our target audience. On the one hand these were people who had already read Persepolis the illustrated book and on the other, the internauts who gave life to the film via Myspace, by creating a "buzz" on the Internet. The day following the Cannes showing, we organised previews in many French towns, inviting the most active booksellers, readers and Net surfers. And word of mouth did the rest.
What was your international strategy?
Everything began at Cannes 2006. We succeeded in making a presale to the American studio Sony Classics, uniquely on the basis of the scenario, which is extremely rare. When other potential buyers knew of this, we had many demands, but we arranged to rendezvous with them at Cannes the following year, 2007. I hardly dare imagine the situation if we had not been selected for the Festival. The whole strategy rested on that. And it worked; 24 hours after the 2007 Cannes showing, we had sold the rights for the entire world.
How did the actual film-making take place?
We decided to do all of it in Paris; from A to Z, creation was at Je suis Bien Content, our little studio, where we had to put a larger structure in place. The tendency is to de-localize animation work; we did the opposite. We recruited and trained talented people leaving colleges and schools of fine arts…
We set out to make an animation film, but it was completely envisaged as a film of fiction. Therefore we shunned all the stereotypes of animation; the work of montage was essential to give the film its rhythm. Our film had many dialogues and was quite static. We got the dynamic back into the script with atypical cutting for a film of animation, with characters speaking off, with cuts in mid-sentence…
What was your option for the animation technique?
We immediately put aside the "cartoon" style, which was out of the question, we did not want deformation of features, and obviously we went towards a realistic animation, but graphically very stylised. A great deal of work went into research on the movement of the characters, as well as the finalisation of the images. We tried several animation techniques, 3D, 2D on a graphics palette, but we were not convinced we had complete control of the characters and their appearance; therefore we opted for traditional 2D. We could treat the image very strongly on a hierarchical basis, with characters in strongly contrasted black and white, with decors more in greys and texture.
In what way was Marjane Satrapi involved?
She was there all the time. This permitted us to make decisions rapidly and efficiently. Marjane did not know the animation profession, but she immersed herself totally in the making of the film, with the energy and concentration we expected of her. It is she who created the 600 characters; she made an absolute point of maintaining the authenticity of the characters, with a true respect for the people she had known.
You succeeded in bringing together an impressive voice casting...
To us, it is a source of pride to have voices such as Catherine Deneuve, Chiara Mastroianni, Danielle Darrieux and Gabrielle Lopez. Given the reactions we had to this aspect of the film, we realised that we were not mistaken!
Cartoon Master Potsdam, Germany, November 2007
+++
North American Marketing Campaign for Persepolis
April 14, 2008
Marketing
Marketing Case-Studies – Persepolis (2008)
Sandy Mandelberger
Persepolis [trailer, film focus] has been one of the major critical successes on the arthouse circuit this past season. The animation format has made it a draw for young people and family viewing, while the film’s French-language origins (and voices by such iconic French superstars as Catherine Deneuve and Danielle Darrieux) have also attracted the traditional arthouse crowd.
(The article continues below - Commercial information)
The film already had an established American co-producer in place at the time of production. The Kennedy/Marshall Company, headed by Frank Marshall and Kathleen Kennedy, have produced such blockbusters as The Bourne Identity, The Bourne Ultimatum, The Bourne Supremacy, Munich, Sea Bisquit and The Sixth Sense. The company has broadened its production slate with international co-productions, including this year’s The Diving Bell and the Butterfly [trailer] (directed by Julian Schnabel), and has several European co-productions on tap for the coming year, including Suite Française, an adaptation of Irene Nemirowsky’s best-selling novel about life during the French Occupation, and Django, a biopic on the life of the legendary French Gypsy guitarist Django Reinhardt, with an original screenplay by Janus Cercone.
Persepolis had its world premiere at the 2007 Cannes Film Festival, where it came to the attention of the twin heads of Sony Pictures Classics, a specialty film division of Sony Pictures that has been active for the past twenty years in the release of Europe, international and American independent films. The company, co-headed by Tom Bernard and Michael Barker, have been the driving force behind such celebrated European films as Women On The Verge Of A Nervous Breakdown (1988), Danzon (1991), Howard’s End (1992), Indochine (1992), Orlando (1993), La belle époque (1994), Farinelli (1995), Nil By Mouth (1997), Ma vie en rose (1997), Run Lola Run (1998), All About My Mother (1999), The Devil’s Backbone (2001), Va Savoir (2001), Talk To Her (2002), Goodbye Lenin! (2003), Monsieur Ibrahim (2003), Layer Cake (2004), Angel-A (2005), Volver (2006) and The Lives Of Others (2006). The company is currently releasing such important European films as Molière [trailer], The Counterfeiters [trailer], And When Did You Last See Your Father? [trailer], Brick Lane [trailer] and Youth Without Youth.
Sony Pictures Classics had prior experience in handling an animated film from France. In 2003, they released The Triplettes de Belleville [trailer] by Sylvain Chomet. The film opened in November 2003 and had a theatrical run of over six months, grossing more than $7 Million in the United States. Ironically, that film only grossed $3 Million in all of Europe, including France, so the United States box office was more than double. The film was nominated for two Oscars, for Best Animated Feature and Best Song (Belleville Rendez-Vous), winning neither. However, it was the first time that a non-English language film was nominated in the Best Animation category, which had traditionally been dominated by such companies as Disney and Pixar.
The release of The Triplettes Of Belleville belies the strategy that Sony Pictures Classics takes with almost all of its films. They utilize what is called a “platform release”, opening in just a few cinemas in New York, Los Angeles and San Francisco, to generate positive critical response and “word of mouth”. Their strategy is to keep the films on screens for as long as possible, giving the audiences the chance to discover them. Therefore, their advertising budgets are relatively small and tend to be cooperative ads (advertising several of their films at the same time). Budgets are adjusted accordingly, with the idea that keeping the film in at least one theater per city will eventually be worth the costs and will allow the film to build its awareness, amidst a dizzying schedule of Hollywood and international releases every week.
The North American launch of Persepolis was at the Toronto International Film Festival in September 2007. The Festival has become the major launching pad for releases for the season, building critical awareness that leads into the awards season that begins in October/November. The film also had a prominent premiere at the New York Film Festival in early October, a boutique festival that only shows 25 films in total. Its inclusion and embrace by New York film critics set up the film’s eventual theatrical release two months later.
Persepolis opened on 21 December 2007 on seven screens. This was a risky strategy, since the Hollywood studios release their biggest titles for awards consideration in the busy Thanksgiving/Christmas/New Year’s period at the end of the calendar year. However, the end of the year release made good marketing sense, because it dovetailed with the announcement of various film critics awards and the selection of Persepolis as the official French entry in the Academy Award race. The film was nominated for a Golden Globe Award as Best Foreign Language Film, as well as winning prizes from the Los Angeles and New York critics associations and the National Review. When the Oscar nominations were announced in the middle of January, the film was passed over in the Best Foreign Film category but did secure a place in the Best Animation category.
Building on the end-of-year critics nods and the Oscar nomination, Sony Pictures Classics expanded the release to 58 theaters in late January and kept building the number of theaters in the run-up to the Oscar ceremonies in late February. In its 9th week of release in late February 2008, the film was playing on over 500 screens in the US and Canada, already having grossed almost $4 million since its late December opening. When it lost out to Ratatouille for Best Animated Film, the film cut back on its release to 75 theaters for most of March and down to 30 theaters the first week of April. To date, the film has grossed nearly $5 Million in theatrical dollars.
But this is not the end of the story. Sensing that the film had broader appeal beyond the standard foreign-language film audience, Sony Pictures Classics is releasing an English-language version of the film on 11 April on 100 screens nationwide. The English-language version features the voices of Chiara Mastroianni as Marjane; Sean Penn as Marjane's father; Catherine Deneuve as Marjane's mother; Gena Rowlands as Marjane's grandmother; Iggy Pop as Uncle Anouche; and Amethyste Frezignac as young Marjane. It was recorded under the direction of co-directors Marjane Satrapi and Vincent Paronnaud as the French-language version of the film was being completed.
The outcome is far from certain that this English-language version will succeed, since the film has already tapped most of its core audience (those interested in French films). However, by positioning the film in non-arthouse multiplexes, the film may indeed have another life in its English-language incarnation. If Sony Pictures Classics can keep the film on screens for another 2 or 3 months in total, it may indeed gross double what it has already, inching up to the $10 Million mark, which would be a major success. It remains to be seen which version will eventually be sold to television and to the home video/dvd market. Probably the company will follow a dual strategy of releasing the original version for European film aficionados and the English language version for a broader audience. By following this strategy, the distributor has revitalized the box office chances for a film that has been one of the most successful European films of the season.
Persepolis’s French producers gave us an Interview about their own marketing strategy.
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
Marketing
Marketing Case-Studies – Persepolis (2008)
Sandy Mandelberger
Persepolis [trailer, film focus] has been one of the major critical successes on the arthouse circuit this past season. The animation format has made it a draw for young people and family viewing, while the film’s French-language origins (and voices by such iconic French superstars as Catherine Deneuve and Danielle Darrieux) have also attracted the traditional arthouse crowd.
(The article continues below - Commercial information)
The film already had an established American co-producer in place at the time of production. The Kennedy/Marshall Company, headed by Frank Marshall and Kathleen Kennedy, have produced such blockbusters as The Bourne Identity, The Bourne Ultimatum, The Bourne Supremacy, Munich, Sea Bisquit and The Sixth Sense. The company has broadened its production slate with international co-productions, including this year’s The Diving Bell and the Butterfly [trailer] (directed by Julian Schnabel), and has several European co-productions on tap for the coming year, including Suite Française, an adaptation of Irene Nemirowsky’s best-selling novel about life during the French Occupation, and Django, a biopic on the life of the legendary French Gypsy guitarist Django Reinhardt, with an original screenplay by Janus Cercone.
Persepolis had its world premiere at the 2007 Cannes Film Festival, where it came to the attention of the twin heads of Sony Pictures Classics, a specialty film division of Sony Pictures that has been active for the past twenty years in the release of Europe, international and American independent films. The company, co-headed by Tom Bernard and Michael Barker, have been the driving force behind such celebrated European films as Women On The Verge Of A Nervous Breakdown (1988), Danzon (1991), Howard’s End (1992), Indochine (1992), Orlando (1993), La belle époque (1994), Farinelli (1995), Nil By Mouth (1997), Ma vie en rose (1997), Run Lola Run (1998), All About My Mother (1999), The Devil’s Backbone (2001), Va Savoir (2001), Talk To Her (2002), Goodbye Lenin! (2003), Monsieur Ibrahim (2003), Layer Cake (2004), Angel-A (2005), Volver (2006) and The Lives Of Others (2006). The company is currently releasing such important European films as Molière [trailer], The Counterfeiters [trailer], And When Did You Last See Your Father? [trailer], Brick Lane [trailer] and Youth Without Youth.
Sony Pictures Classics had prior experience in handling an animated film from France. In 2003, they released The Triplettes de Belleville [trailer] by Sylvain Chomet. The film opened in November 2003 and had a theatrical run of over six months, grossing more than $7 Million in the United States. Ironically, that film only grossed $3 Million in all of Europe, including France, so the United States box office was more than double. The film was nominated for two Oscars, for Best Animated Feature and Best Song (Belleville Rendez-Vous), winning neither. However, it was the first time that a non-English language film was nominated in the Best Animation category, which had traditionally been dominated by such companies as Disney and Pixar.
The release of The Triplettes Of Belleville belies the strategy that Sony Pictures Classics takes with almost all of its films. They utilize what is called a “platform release”, opening in just a few cinemas in New York, Los Angeles and San Francisco, to generate positive critical response and “word of mouth”. Their strategy is to keep the films on screens for as long as possible, giving the audiences the chance to discover them. Therefore, their advertising budgets are relatively small and tend to be cooperative ads (advertising several of their films at the same time). Budgets are adjusted accordingly, with the idea that keeping the film in at least one theater per city will eventually be worth the costs and will allow the film to build its awareness, amidst a dizzying schedule of Hollywood and international releases every week.
The North American launch of Persepolis was at the Toronto International Film Festival in September 2007. The Festival has become the major launching pad for releases for the season, building critical awareness that leads into the awards season that begins in October/November. The film also had a prominent premiere at the New York Film Festival in early October, a boutique festival that only shows 25 films in total. Its inclusion and embrace by New York film critics set up the film’s eventual theatrical release two months later.
Persepolis opened on 21 December 2007 on seven screens. This was a risky strategy, since the Hollywood studios release their biggest titles for awards consideration in the busy Thanksgiving/Christmas/New Year’s period at the end of the calendar year. However, the end of the year release made good marketing sense, because it dovetailed with the announcement of various film critics awards and the selection of Persepolis as the official French entry in the Academy Award race. The film was nominated for a Golden Globe Award as Best Foreign Language Film, as well as winning prizes from the Los Angeles and New York critics associations and the National Review. When the Oscar nominations were announced in the middle of January, the film was passed over in the Best Foreign Film category but did secure a place in the Best Animation category.
Building on the end-of-year critics nods and the Oscar nomination, Sony Pictures Classics expanded the release to 58 theaters in late January and kept building the number of theaters in the run-up to the Oscar ceremonies in late February. In its 9th week of release in late February 2008, the film was playing on over 500 screens in the US and Canada, already having grossed almost $4 million since its late December opening. When it lost out to Ratatouille for Best Animated Film, the film cut back on its release to 75 theaters for most of March and down to 30 theaters the first week of April. To date, the film has grossed nearly $5 Million in theatrical dollars.
But this is not the end of the story. Sensing that the film had broader appeal beyond the standard foreign-language film audience, Sony Pictures Classics is releasing an English-language version of the film on 11 April on 100 screens nationwide. The English-language version features the voices of Chiara Mastroianni as Marjane; Sean Penn as Marjane's father; Catherine Deneuve as Marjane's mother; Gena Rowlands as Marjane's grandmother; Iggy Pop as Uncle Anouche; and Amethyste Frezignac as young Marjane. It was recorded under the direction of co-directors Marjane Satrapi and Vincent Paronnaud as the French-language version of the film was being completed.
The outcome is far from certain that this English-language version will succeed, since the film has already tapped most of its core audience (those interested in French films). However, by positioning the film in non-arthouse multiplexes, the film may indeed have another life in its English-language incarnation. If Sony Pictures Classics can keep the film on screens for another 2 or 3 months in total, it may indeed gross double what it has already, inching up to the $10 Million mark, which would be a major success. It remains to be seen which version will eventually be sold to television and to the home video/dvd market. Probably the company will follow a dual strategy of releasing the original version for European film aficionados and the English language version for a broader audience. By following this strategy, the distributor has revitalized the box office chances for a film that has been one of the most successful European films of the season.
Persepolis’s French producers gave us an Interview about their own marketing strategy.
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
Case Study: Persepolis (March 2008)
In 1996, Marc Jousset founded the studio Je Suis Bien Content with Franck Ekinci. a polyvalent director ranging from commercials to institutional films, he develops his own projects in parallel, and supervises production of short films at JSBC. From 2005 to 2007, he was technical director and executive producer of the animated film Persepolis, written and directed by Marjane Satrapi and Vincent Parronaud.
(The article continues below - Commercial information)
Can you detail the various stages in the production of Persepolis?
The film is completely atypical and original. We found ourselves with the most un-glamorous pitch imaginable: an animated film in black and white telling the story of a young Iranian girl, for adults. But because we had an excellent scenario, we decided to send it out just as it was, and it worked. We were able to raise the financing of 6 million € relatively easily, given the challenge the film represented. And the production took 14 months, which is really very short.
Did you bank on the Cannes Festival for the success of this project?
As this was a very unusual film, we decided not to communicate on it: a total blackout. Three months before the selection for the Cannes Festival, we released information to only 2 prestigious publications, the New York Times and Telerama, where we appeared on the cover. Despite the very strong impact and requests for interviews, we resisted the temptation and remained in control of our communication. The aim was to create expectation, interest, and mystery around Persepolis. In Cannes we continued this strategy. As we knew we had a film that stood out on its own, we arranged a single showing at 4 pm, which is really not usual practice. The idea was to create a «buzz» around the film. Moreover, we were fortunately not mistaken, as the film was applauded for 25 minutes at the end of the projection, and became a true event.
And you continued your communication in an original manner?
We asked ourselves the question, looking at the core of our target audience. On the one hand these were people who had already read Persepolis the illustrated book and on the other, the internauts who gave life to the film via Myspace, by creating a "buzz" on the Internet. The day following the Cannes showing, we organised previews in many French towns, inviting the most active booksellers, readers and Net surfers. And word of mouth did the rest.
What was your international strategy?
Everything began at Cannes 2006. We succeeded in making a presale to the American studio Sony Classics, uniquely on the basis of the scenario, which is extremely rare. When other potential buyers knew of this, we had many demands, but we arranged to rendezvous with them at Cannes the following year, 2007. I hardly dare imagine the situation if we had not been selected for the Festival. The whole strategy rested on that. And it worked; 24 hours after the 2007 Cannes showing, we had sold the rights for the entire world.
How did the actual film-making take place?
We decided to do all of it in Paris; from A to Z, creation was at Je suis Bien Content, our little studio, where we had to put a larger structure in place. The tendency is to de-localize animation work; we did the opposite. We recruited and trained talented people leaving colleges and schools of fine arts…
We set out to make an animation film, but it was completely envisaged as a film of fiction. Therefore we shunned all the stereotypes of animation; the work of montage was essential to give the film its rhythm. Our film had many dialogues and was quite static. We got the dynamic back into the script with atypical cutting for a film of animation, with characters speaking off, with cuts in mid-sentence…
What was your option for the animation technique?
We immediately put aside the "cartoon" style, which was out of the question, we did not want deformation of features, and obviously we went towards a realistic animation, but graphically very stylised. A great deal of work went into research on the movement of the characters, as well as the finalisation of the images. We tried several animation techniques, 3D, 2D on a graphics palette, but we were not convinced we had complete control of the characters and their appearance; therefore we opted for traditional 2D. We could treat the image very strongly on a hierarchical basis, with characters in strongly contrasted black and white, with decors more in greys and texture.
In what way was Marjane Satrapi involved?
She was there all the time. This permitted us to make decisions rapidly and efficiently. Marjane did not know the animation profession, but she immersed herself totally in the making of the film, with the energy and concentration we expected of her. It is she who created the 600 characters; she made an absolute point of maintaining the authenticity of the characters, with a true respect for the people she had known.
You succeeded in bringing together an impressive voice casting...
To us, it is a source of pride to have voices such as Catherine Deneuve, Chiara Mastroianni, Danielle Darrieux and Gabrielle Lopez. Given the reactions we had to this aspect of the film, we realised that we were not mistaken!
Cartoon Master Potsdam, Germany, November 2007
ป้ายกำกับ:
โฆษณา,
แพร์ซโพลิส,
case study,
lesson,
Persepolis
Persepolis Advertisement (in Cartoons too!!)
ในเมื่อเราจะขายการ์ตูน ก็โฆษณาเป็นการ์ตูน
อ่านแล้วก็จะรู้เรื่องราวคร่าวๆ ของแพร์ซโพลิส (Persepolis)
ถ้ามองเห็นไม่ชัด คลิกที่รูป แล้วจะมีหน้าต่างป๊อปอัพให้ดูรูปที่ใหญ่ขึ้นค่ะ ขอให้สนุกกับหน้าโฆษณา Persepolis นะคะ ;)
ป้ายกำกับ:
โฆษณา,
แพร์ซโพลิส,
หนังสือแปล,
Persepolis
From Marjane's trip to America
ระหว่างที่ยายบ้าข้อมูลชื่อณัฐพัดชา สอดส่ายสายตามองหารูปงามๆ ของมาร์จอเน่สำหรับนำมาขึ้นบล้อก เธอก็คล้ายจะเจอรูปพร้อมเรื่องราวบันทึกการเดินทางไปโปรโมทหนังสือ Persepolis ที่สหรัฐอเมริกาของแม่มาร์จี้ตัวแสบในสายตาใครหลายคน อาจจะถึงขั้นเป็นนางปีศาจร้ายที่เห็นดังภาพซ้ายมือ ฉันเล่าพอให้เธอรู้ว่ามาร์จอเน่พูดถึงอะไรบ้างในการไปเยือนประเทศยักษ์ใหญ่อย่างสหรัฐอเมริกาที่มีประเด็นทางการเมืองกับประเทศบ้านเกิดเมืองนอนของเธอนะ สไตล์เดิมแหละ แปลบ้างไม่แปลบ้าง
การที่เธอมาจากประเทศฝรั่งเศสก็ไม่ได้ทำให้เกิดความแตกต่างเท่าใดดอก เพราะฝรั่งเศสก็เป็นเหมือนขั้วอธรรมแบบไม่เป็นทางการสำหรับสหรัฐอเมริกาอยู่แล้ว จะอย่างไรก็ตาม นั่นเป็นสิ่งที่เธอเข้าใจเอาเองจากสิ่งที่รับรู้ผ่านสื่ออย่างทีวีและหนังสือพิมพ์ ถึงขนาดจะเปลี่ยนชื่อ French Fries เป็น Freedom Fries ต่อต้านสินค้าจากฝรั่งเศส กระทั่งเทไวน์ฝรั่งเศสชั้นดีทิ้งกลางถนน อะไรจะขไหนหนาด ฉันเองก็เพิ่งรู้จากข้อเขียนของมาร์จอเน่เนี่ยแหละ ว่า อันที่จริงแล้ว French Fries ที่เราๆ รู้จักกันเป็นอาหารของเบลเยี่ยม เมื่อได้รับข่าวสารทางลบมากมายขนาดนั้น เธอจึงออกจะประหลาดใจที่เมื่อไปถึงนิวยอร์กแล้วก็ได้หม่ำนิวยอร์คสเต็กพร้อมเฟรนช์ฟรายด์กับไวน์ Bordeaux
อย่างที่เกริ่นไว้แล้วว่าเธอไปอเมริกาเพื่อโปรโมทหนังสือและในฐานะที่เป็นคนอิหร่านก็ต้องอธิบายว่าจริงๆ แล้วอิหร่านเป็นอย่างไร สงครามที่เธอได้พบเจอ เราไม่สามารถหยิบยื่นความเป็นประชาธิปไตยให้กับประชาชนโดยการทิ้งระเบิด คนอิหร่านมีตัวตน มีชีวิตเลือดเนื้อ ความภาคภูมิและอะไรๆ ไม่ต่างจากคนอเมริกัน
เมื่อปี 2003 มาร์จอเน่รู้สึกกลัวอยู่เหมือนกันเมื่อต้องไปสหรัฐอเมริกา ในยามนั้นประธานาธิบดีบุช 'จัดการ' อิรักเรียบร้อยแล้ว เป้าหมายต่อไปก็คงจะเป็น 'axis of evil' (ฉันเรียกว่า 'ขั้วอธรรม' ละกันนะเธอ) อย่างอิหร่านและเกาหลีเหนือ
การที่เธอมาจากประเทศฝรั่งเศสก็ไม่ได้ทำให้เกิดความแตกต่างเท่าใดดอก เพราะฝรั่งเศสก็เป็นเหมือนขั้วอธรรมแบบไม่เป็นทางการสำหรับสหรัฐอเมริกาอยู่แล้ว จะอย่างไรก็ตาม นั่นเป็นสิ่งที่เธอเข้าใจเอาเองจากสิ่งที่รับรู้ผ่านสื่ออย่างทีวีและหนังสือพิมพ์ ถึงขนาดจะเปลี่ยนชื่อ French Fries เป็น Freedom Fries ต่อต้านสินค้าจากฝรั่งเศส กระทั่งเทไวน์ฝรั่งเศสชั้นดีทิ้งกลางถนน อะไรจะขไหนหนาด ฉันเองก็เพิ่งรู้จากข้อเขียนของมาร์จอเน่เนี่ยแหละ ว่า อันที่จริงแล้ว French Fries ที่เราๆ รู้จักกันเป็นอาหารของเบลเยี่ยม เมื่อได้รับข่าวสารทางลบมากมายขนาดนั้น เธอจึงออกจะประหลาดใจที่เมื่อไปถึงนิวยอร์กแล้วก็ได้หม่ำนิวยอร์คสเต็กพร้อมเฟรนช์ฟรายด์กับไวน์ Bordeaux
อย่างที่เกริ่นไว้แล้วว่าเธอไปอเมริกาเพื่อโปรโมทหนังสือและในฐานะที่เป็นคนอิหร่านก็ต้องอธิบายว่าจริงๆ แล้วอิหร่านเป็นอย่างไร สงครามที่เธอได้พบเจอ เราไม่สามารถหยิบยื่นความเป็นประชาธิปไตยให้กับประชาชนโดยการทิ้งระเบิด คนอิหร่านมีตัวตน มีชีวิตเลือดเนื้อ ความภาคภูมิและอะไรๆ ไม่ต่างจากคนอเมริกัน
เธอพูดถึงคำถามแรกที่เธอได้รับซึ่งเป็นคำถามจากหญิงสูงวัยใส่แว่นดำ
"เธอช่วยอธิบายให้ฉันฟังหน่อยได้มั้ยว่าทำไมคนฝรั่งเศสถึงได้เกลียดพวกฉันกันนักหนา"
มาร์จอเน่ตอบกลับทันทีว่า "คนฝรั่งเศสไม่ได้เกลียดพวกคุณนะคะ" และเธอก็ใช้เวลาอีกประมาณครึ่งชั่วโมงอธิบายให้ฟังว่าคนฝรั่งเศสที่จริงแล้วเป็นคนน่ารัก สุภาพ สะอาด ถ้าจะมีอะไรที่คนฝรั่งเศสต่อต้านก็คงจะเป็นนโยบายของประธานาธิบดีบุชนั่นแหละ ซึ่งเป็นอะไรที่เกือบทุกคนในร้านหนังสือนั้นเห็นตรงกัน
เมื่อมาร์จอเน่เดินทางกลับฝรั่งเศส ทุกคนก็ถามถึงเรื่อง freedom fries เธอก็เล่าความจริงว่ามันไม่ได้เป็นอย่างที่ทุกคนได้รับรู้มา
เรื่องราวเลวร้ายลงอีกเมื่อปีที่แล้ว ปีที่ประธานาธิบดีบุชได้รับเลือกตั้งอีกครั้ง คนทั้งโลกเข้าใจว่าคนอเมริกันทั้งหมดก็สมาชิกพรรครีพับลิกันสำหรับมาร์จอเน่ การปกป้องประเทศของเธอเป็นเรื่องปกติ เป็นหน้าที่ๆ ต้องทำ
แต่การปกป้องประเทศสหรัฐอเมริกาดูจะไม่เป็นเรื่องปกติ แต่ก็เหมือนจะเป็นหน้าที่นะ
เธอทำเพื่อชาวอเมริกันที่ไม่ได้ลงคะแนนให้กับพรรครีพับลิกัน
เพื่อผู้ที่เชื่อในสิทธิมนุษยชน
เพื่อผู้ที่ต่อต้านการเข่นฆ่าและการลงโทษ
เพื่อผู้ที่เชื่อว่าทางเลือกในการทำแท้งเป็นสิทธิส่วนบุคคล
และ...เพื่อผู้ที่เลือกวัฒนธรรมและการเจรจามากกว่าความรุนแรงโดยการก่อสงคราม
ป้ายกำกับ:
แพร์ซโพลิส,
มาร์จอเน่ ซาทราพิ,
Marjane Satrapi,
Persepolis
รอบรู้ ลงลึก Persepolis & Iran
ฉันกำลังคิดอยู่ว่า ทำยังไงให้ข้อมูลที่อยู่ในบล้อกนี้อยู่ในรูปแบบที่คนอยากรู้จะอยากอ่าน หรือทำให้คนที่ผ่านเข้ามาแล้วอยากรู้แล้วก็ได้อ่านอย่างง่ายดาย คงถึงคราวที่ฉันจะต้องสรุปอีกครั้งเพื่อจัดหมวดหมู่ให้เข้าใจง่ายขึ้น
ดูหน้าฟังเสียงผู้แต่งเรื่อง Persepolis กันบ้างIt depends...มันก็แล้วแต่...
รู้จักมาร์จอเน่อีกนิดจากสิ่งที่เธอเล่าให้ฟังFrom Marjane's Trip to America
อ่านคำนำผู้แปลซะหน่อยเป็นไร Persepolis 1
Persepolis: กว่าจะมาเป็นเล่มปกหน้าหลัง คำโปรยอยู่ท้ายสุดของหน้าโฮมเพจของบล้อกเลยจ้ะ
หรือเธอลองไปที่บล้อกของสำนักพิมพ์กำมะหยี่เลยนะ ข้อมูลที่นั่น จัดหมวดหมู่ไว้อย่างสวยงาม น่าอ่านน่าชม แล้วถ้ายังไม่อิ่มหนำสำราญใจก็แวะมาที่นี่อีกครั้งได้เลยค่ะ
ฉันพูดถึงเรื่องราวเกี่ยวกับ Persepolis และอิหร่านเป็นไกด์ไลน์ภาษาอังกฤษไว้ที่ For my new Iranian friend
คำอธิบายเป็นภาษาไทยเกี่ยวกับบล้อกที่ฉันเขียนถึงแพร์ซโพลิสและประเทศอิหร่านที่ บล้อกมากมายที่อัพในช่วงนี้
บล้อกที่เกี่ยวข้องทั้งหมดมีชื่อดังนี้ เธอจะคลิกลิงค์จากบล้อกนี้ไปเลยหรือค้นหาจากแถบค้นหาด้านบนโดยใส่คำที่เกี่ยวข้องก็ได้นะ เริ่มต้นแบบสบายๆ มายลสีสันของประเทศอิหร่านที่มีมากกว่าขาว-ดำ
ฉันใส่ลิงค์มุมมองของคนอิหร่านคนนึงที่เขียนบล้อกและพูดถึงแพร์ซโพลิสและประเทศของเขาให้ดูเป็นตัวอย่าง มีบล้อกของคนไทยอีกเยอะเลยที่เขียนถึงแพร์ซโพลิส(Persepolis) แต่ส่วนใหญ่จะพูดถึงเวอร์ชั่นที่เป็นหนังการ์ตูนนะจ๊ะ ถ้าใครสนใจก็ดูลิงค์ Persepolis ในเมืองไทยทางขวามือด้านล่างได้เลย
บทความสองเรื่องนี้เป็นความเห็นของแม่ชีศันสนีย์ที่ได้สัมผัสกับผู้หญิงอิหร่าน และเราจะนำมาปรับใช้กับปัญหาในเมืองไทยอย่างไร
แผนการเรียนการสอนจาก http://www.readwritethink.org/ และเว็บอื่นที่เกี่ยวข้อง นำ Persepolis มาใช้ในการเรียน สอนให้ผู้เรียนศึกษาสิ่งต่างๆ อย่างลึกซึ้ง
ฝรั่งเค้าทำอะไรกับ Persepolis อีกนะ
เรียนรู้เรื่องวรรณกรรมจาก Persepolis
เตรียมตัวก่อนถกเรื่อง Persepolis
ว่าด้วยความหมายของ Graphic Novels
Persepolis: เรียนจากคำถาม
ข่าว BBC ภาษาอังกฤษเรียงร้อยเหตุการณ์ความสัมพันธ์ระหว่างอิหร่าน-สหรัฐอเมริกา ได้อย่างละเอียดเหมาะสำหรับผู้ที่ไม่เคยสนใจการเมืองตะวันออกกลางอย่างฉันเป็นต้น
บทความจาก Gardian หนังสือพิมพ์ออนไลน์เล่มนี้ให้มุมมองเปรียบเทียบหนังการ์ตูนกับการเมืองอิหร่าน-สหรัฐอเมริกาในมุมที่แตกต่าง
ฉันละตะลึงกับความเก่าแก่ของอารยธรรมและข้อมูลทางประวัติศาสตร์ เธอสามารถอ่านจากที่ฉันและเพื่อนกำมะหยี่ช่วยกันแปลและเกลา รวมทั้งลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติมที่เธอสามารถคลิกไปดูได้จากบทความนี้
ข้อมูลอื่นๆ อีกมากมายเกินกว่าที่ฉันจะนำมาสรุป แต่ก็ไม่ลำบากเกินไปที่จะรวบรวมลิงค์ไว้ให้ในบล้อกนี้ เลือกอ่านได้ตามสบายนะจ๊ะ ดูทางด้านขวามีทั้งไทยและเทศให้สมใจคนที่อยากรู้อะไร ต้องรู้ลึกๆ จ้ะ
ผู้จัดการออนไลน์ก็พูดถึงแพร์ซโพลิสนะ ตามไปดูที่นี่ได้เลย
ขอตบท้ายด้วยโฆษณาหนังสือการ์ตูนที่เป็นการ์ตูน...Persepolis Advertisement (in Cartoons too!) และการตลาดแบบแพร์ซโพลิสค่ะ...Persepolis Marketing Campaign
ป้ายกำกับ:
คำชี้แจง,
งานของฉัน,
ณัฐพัดชา,
แพร์ซโพลิส,
อิหร่าน,
history,
Iran,
Persepolis,
politics
A night at Falabella
ตุ๊กตา Falabella ราคา 1 ใน 10,000 ของราคาม้าตัวจริงกระมัง ฉันว่าครั้งแรกที่ฉันติดใจม้าแบบนี้คือ ตอนที่ไปดูๆ แลๆ ที่ร้าน Hermes แต่เมื่อพลิกดูราคาแล้วรู้สึกว่าจะราคา สัก 1 ใน 100 ของราคาม้ามั้ง แต่ ณ ตอนนั้น ฉันก็ว่าแพงเหลือหลายแล้วล่ะ
ม้า Falabella เป็นม้าพันธุ์แคระ ตัวเต็มวัยสูงประมาณ 32 นิ้ว เท่ากับขนาดของหมาที่เราเลี้ยงดีๆ นี่เอง ฉันเริ่มมีไอเดียบรรเจิด ถ้ามีใครซื้อม้าให้ฉัน ฉันคงจะรับรักเลยละเนี่ย แต่หมายถึงม้าจริงๆ นะ ไม่ใช่ม้าตุ๊กตาอย่างตัวนี้
อย่าเพิ่งเข้าใจผิดว่า A night at Falabella จะเกี่ยวโยงถึงความพิสดารบางประการกับม้า มิใช่เช่นนั้น ฉันแค่ได้ไปเยือนร้าน Falabella อีกครั้งหลังจากครั้งแรกเมื่อหลายปีผ่าน บรรยากาศดีเหมือนเดิม มีทั้งส่วนที่อยู่ในห้องแอร์และส่วนที่รับลมธรรมชาติด้านนอก ร้านนี้ตั้งอยู่ด้านหลังสนามม้าสปอร์ตคลับ มีความเป็นส่วนตัวและเอกลักษณ์เฉพาะ เพื่อให้ลูกค้าได้ดื่มด่ำกับบรรยากาศสบายๆ โดยที่ไม่ต้องกลัวเปียกฝน เมื่อเงยหน้ามองขึ้นไปข้างบนก็จะเห็นเต็นท์ยักษ์สีขาวคลุมเวทีสำหรับเล่นดนตรีสด และโซฟาเก้าอี้ร่วมสิบชุด ส่วนตัวฉันเป็นพวกขอบๆ ระหว่างโอเพ่นแอร์กับบริเวณห้องแอร์ แหงนหน้าขึ้นไปก็จะเห็นหลังคาของร้านกับบางส่วนของเต็นท์ขาว นั่งเก้าอี้สูงคู่โต๊ะทรงเดียวกับรูปร่างฉันนั่นแหละ
ด้วยอาศัยใบบุญพี่ที่ฉันนับว่าเป็น role model ของพี่ชาย พ่อ และผู้ชายที่เป็นสุภาพบุรุษ ตลอดระยะเวลาเกือบสิบปีที่เห็นหน้ากันมา ความสม่ำเสมอ การดูแลเทคแคร์ให้เกียรติผู้หญิงเป็นเสน่ห์ที่ไม่ได้เกิดจากความต้องการเอาใจใคร เป็นธรรมชาติที่ได้รับการหล่อหลอมมาพร้อมกับความเป็นตัวตนของคน
สองสาวชุดแดงขออนุญาตควงพี่ชายไปงานวันเกิดผู้ใหญ่ ได้หม่ำก๋วยเตี๋ยวเรือรสเด็ดกับข้าวหมูแดงที่พี่ชายแสนดีไปตักมาให้ด้วยตัวเอง ต่อด้วยไวน์แดง คามิคาเซ่และสปาย บนโต๊ะมีสีสัน แดง เหลือง ฟ้า ขาวเหลืองจากไวน์ขาว และแดงกำมะหยี่จากไวน์แดงรสเลิศ ทั้งอาหาร เครื่องดื่ม บรรยากาศดีๆ อย่างนี้ ฉันคงอดไม่ได้ที่จะขอเจ้าของงานขึ้นร้องเพลงเพื่อความบันเทิงส่วนตัว (และปรากฎว่ามีคนคิดว่าฉันเป็นนักร้องด้วย อิอิ แปลว่าคงไม่ได้ร้องแย่จนเกินไปนัก)
ฤา รักฉันจะเป็นเพียงความฝัน ไม่มีวันนั้น.....
แล้วความงามของค่ำคืนนั้น ค่ำคืนที่ฉันเลือกปฏิบัติตนอย่างที่ควรจะเป็น สร้างความแปลกใจให้ผู้ใหญ่แสนฉลาดที่ยังทำตัวเป็นเด็กอยู่ไม่น้อย ควันหลงจากงานก่อให้เกิดอะไรตามมาหลายอย่าง อย่างนึงก็คือฉันมีอารมณ์มาเขียนบล้อกผิดเวลาอย่างนี้แหละ ว่างๆ ก็ลองไปอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม สำหรับคนที่เกิดหลงเสน่ห์ม้าน้อยพันธุ์นี้อย่างฉันบ้างนะจ้ะ
รูป Falabella ที่ฉันอยากนำมาไว้ที่บล้อก
แต่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์เกือบหมื่นบาทแน่ะ เธอคลิกไปดูแทนละกัน ได้เห็นแต่ไม่ต้องเสียเงิน ของบางอย่างเราไม่ต้องเป็นเจ้าของก็ได้เนอะ
เรื่องราวม้าน้อย Falabella
เรื่องราวแบบทางการ Falabella Miniature Horse Association
ปลื้มใจไม่หายที่ผู้ใหญ่เจ้าของวันเกิดเอ่ยปากว่าจะอ่าน Persepolis มินิบุคก่อนนอน พร้อมกับเก็บใส่กระเป๋าเสื้อทำให้สาวเสื้อแดงผู้แปลดีใจอย่างที่สุด!
ม้า Falabella เป็นม้าพันธุ์แคระ ตัวเต็มวัยสูงประมาณ 32 นิ้ว เท่ากับขนาดของหมาที่เราเลี้ยงดีๆ นี่เอง ฉันเริ่มมีไอเดียบรรเจิด ถ้ามีใครซื้อม้าให้ฉัน ฉันคงจะรับรักเลยละเนี่ย แต่หมายถึงม้าจริงๆ นะ ไม่ใช่ม้าตุ๊กตาอย่างตัวนี้
อย่าเพิ่งเข้าใจผิดว่า A night at Falabella จะเกี่ยวโยงถึงความพิสดารบางประการกับม้า มิใช่เช่นนั้น ฉันแค่ได้ไปเยือนร้าน Falabella อีกครั้งหลังจากครั้งแรกเมื่อหลายปีผ่าน บรรยากาศดีเหมือนเดิม มีทั้งส่วนที่อยู่ในห้องแอร์และส่วนที่รับลมธรรมชาติด้านนอก ร้านนี้ตั้งอยู่ด้านหลังสนามม้าสปอร์ตคลับ มีความเป็นส่วนตัวและเอกลักษณ์เฉพาะ เพื่อให้ลูกค้าได้ดื่มด่ำกับบรรยากาศสบายๆ โดยที่ไม่ต้องกลัวเปียกฝน เมื่อเงยหน้ามองขึ้นไปข้างบนก็จะเห็นเต็นท์ยักษ์สีขาวคลุมเวทีสำหรับเล่นดนตรีสด และโซฟาเก้าอี้ร่วมสิบชุด ส่วนตัวฉันเป็นพวกขอบๆ ระหว่างโอเพ่นแอร์กับบริเวณห้องแอร์ แหงนหน้าขึ้นไปก็จะเห็นหลังคาของร้านกับบางส่วนของเต็นท์ขาว นั่งเก้าอี้สูงคู่โต๊ะทรงเดียวกับรูปร่างฉันนั่นแหละ
ด้วยอาศัยใบบุญพี่ที่ฉันนับว่าเป็น role model ของพี่ชาย พ่อ และผู้ชายที่เป็นสุภาพบุรุษ ตลอดระยะเวลาเกือบสิบปีที่เห็นหน้ากันมา ความสม่ำเสมอ การดูแลเทคแคร์ให้เกียรติผู้หญิงเป็นเสน่ห์ที่ไม่ได้เกิดจากความต้องการเอาใจใคร เป็นธรรมชาติที่ได้รับการหล่อหลอมมาพร้อมกับความเป็นตัวตนของคน
สองสาวชุดแดงขออนุญาตควงพี่ชายไปงานวันเกิดผู้ใหญ่ ได้หม่ำก๋วยเตี๋ยวเรือรสเด็ดกับข้าวหมูแดงที่พี่ชายแสนดีไปตักมาให้ด้วยตัวเอง ต่อด้วยไวน์แดง คามิคาเซ่และสปาย บนโต๊ะมีสีสัน แดง เหลือง ฟ้า ขาวเหลืองจากไวน์ขาว และแดงกำมะหยี่จากไวน์แดงรสเลิศ ทั้งอาหาร เครื่องดื่ม บรรยากาศดีๆ อย่างนี้ ฉันคงอดไม่ได้ที่จะขอเจ้าของงานขึ้นร้องเพลงเพื่อความบันเทิงส่วนตัว (และปรากฎว่ามีคนคิดว่าฉันเป็นนักร้องด้วย อิอิ แปลว่าคงไม่ได้ร้องแย่จนเกินไปนัก)
ฤา รักฉันจะเป็นเพียงความฝัน ไม่มีวันนั้น.....
จันทร์คืนแรมวับแวมอยู่บนปลายฟ้า คงล้าอ่อนแรงทอแสงแหว่งเว้า ครึ่งดวง
คืนเหงามันเศร้ามันซึมในทรวง จันทร์เพียงครึ่งดวง คล้ายจันทร์เจ้ารอใคร
จันทร์คืนแรม วับแวมมีเพียงครึ่งใบ คงดังกับใจฉันที่มีเพียงครึ่งดวง
คอยรักที่จักเดิมเต็มในทรวง โอ้ใจครึ่งดวง เฝ้ารอมาเนิ่นนาน
จันทร์เอ๋ยจันทร์ที่ลอยเด่นฟ้า จะมีน้ำตาหลั่งมาเหมือนฉันบ้างไหม
ความรักมันช่างห่างไกลแสนไกล ไม่รู้วันไหน หัวใจถึงจะเต็มดวง
คงมีวันที่จันทร์เจ้าจะเต็มใบ แต่ว่าหัวใจฉันจะมีไหมวันนั้น
ฤารักฉันจะเป็นเพียงความฝัน ไม่มีวันนั้น วันที่ใจเต็มดวง
จันทร์เอ๋ยจันทร์ที่ลอยเด่นฟ้า จะมีน้ำตาหลั่งมาเหมือนฉันบ้างไหม
คงมีวันที่จันทร์เจ้าจะเต็มใบ แต่ว่าหัวใจฉันจะมีไหมวันนั้น
ฤารักฉันจะเป็นเพียงความฝัน ไม่มีวันนั้น วันที่ใจเต็มดวง
...ฤารักฉันจะเป็นเพียงความฝัน ไม่มีวันนั้น วันที่ใจเต็มดวง
แล้วก็ต่อด้วย ไม่รู้จักฉัน ไม่รู้จักเธอ เพื่อให้ดูอายุฉันน้อยลงมาอีกนิด แหม แต่ยังไง ฉันก็ชอบเพลงที่เน้นความละเมียดละไมของคำอย่างเพลง จันทร์ นี้ละนะ ดูเนื้อแล้วเธออาจจะนึกว่าเป็นเพลงโบราณ แต่ที่จริงแล้วเป็นเพลงสมัยใหม่ที่เพิ่งแต่งไม่นาน แต่คงไว้ซึ่งลักษณะและอารมณ์ของเพลงที่ละเอียดอ่อนแบบเดิม
แล้วความงามของค่ำคืนนั้น ค่ำคืนที่ฉันเลือกปฏิบัติตนอย่างที่ควรจะเป็น สร้างความแปลกใจให้ผู้ใหญ่แสนฉลาดที่ยังทำตัวเป็นเด็กอยู่ไม่น้อย ควันหลงจากงานก่อให้เกิดอะไรตามมาหลายอย่าง อย่างนึงก็คือฉันมีอารมณ์มาเขียนบล้อกผิดเวลาอย่างนี้แหละ ว่างๆ ก็ลองไปอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม สำหรับคนที่เกิดหลงเสน่ห์ม้าน้อยพันธุ์นี้อย่างฉันบ้างนะจ้ะ
รูป Falabella ที่ฉันอยากนำมาไว้ที่บล้อก
แต่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์เกือบหมื่นบาทแน่ะ เธอคลิกไปดูแทนละกัน ได้เห็นแต่ไม่ต้องเสียเงิน ของบางอย่างเราไม่ต้องเป็นเจ้าของก็ได้เนอะ
เรื่องราวม้าน้อย Falabella
เรื่องราวแบบทางการ Falabella Miniature Horse Association
ปลื้มใจไม่หายที่ผู้ใหญ่เจ้าของวันเกิดเอ่ยปากว่าจะอ่าน Persepolis มินิบุคก่อนนอน พร้อมกับเก็บใส่กระเป๋าเสื้อทำให้สาวเสื้อแดงผู้แปลดีใจอย่างที่สุด!
ป้ายกำกับ:
ฉัน,
ณัฐพัดชา,
ไดอารี่,
ผับ,
เพลง,
แพร์ซโพลิส,
ม้า,
Persepolis
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)